Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ทิศทางตลาดผลไม้ไทยในโลกยุคดิจิทัลกับงาน "ปูพรมผลไม้ไทย ไร้พรมแดน" 192
ทิศทางตลาดผลไม้ไทยในโลกยุคดิจิทัลกับงาน "ปูพรมผลไม้ไทย ไร้พรมแดน"
สำนักพิมพ์ข่าวสดได้จัดงานสัมมนาเพื่อเป็นเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดกับเหล่าวิทยากรมากความสามารถ และเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “รู้ก่อน ปรับก่อน เพิ่มโอกาสการส่งออก” เสริมความรู้ในทุกมิติเพื่อพิชิตตลาดผลไม้ไทย
โดยได้รับเกียรติจาก นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดงานโดยท่านได้กล่าวภาพรวมในการส่งออกผลไม้ไทยภายใต้ "แผนการพัฒนาผลไม้ไทยเชิงรุก ในปี 2567 จะเพิ่มความเข้มข้น ในเรื่องของการยกระดับมาตรฐานสินค้า และการนำนวัตกรรมเข้ามาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก"
คุณเพ็ญระพี ทองอินทร์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและจัดการการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้น และยางพารา กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวทิศทางภาพรวมศักภาพการผลิตผลไม้ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มคงที่ ยกเว้นทุเรียนที่มีอัตราการปลูกและการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี (ใน 5 ปีย้อนหลัง)
คุณอรทัย เอื้อตระกูล อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการนำเข้าส่งออกสินค้าพืชและปัจจัยการผลิต กรมวิชาการเกษตร นำเสนอประสบการณ์การส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน เพราะตาลดประเทศจีนมีอัตราการบริโภคสูงมาก ซึ่งผลไม้ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีน ต้องมีมาตราฐานตามที่ประเทศจีนกำหนด
ดร.สิฐิภูมิ์ ธนฤทธิพร คณะอนุกรรมการ การค้าชายแดนและข้ามแดน ด้านจีนตอนใต้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำเสนอภาพรวมการนำเข้าสินค้าประเภทผลไม้ โดยจีนนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทยมากสุด สูงถึง 36% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ตลากการบริโภคเน้นของดีต่อสุขภาพ และปลอดภัย
นอกจากนั้นยังได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการผลไม้ไทย ดังนี้
คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน จากเด็กส่งมะพร้าวสู่เถ้าแก่ร้อยล้าน สร้างแบรนด์มะพร้าวน้ำหอมส่งออก NC COCONUT จังหวัดราชบุรี
คุณเสาวณี วิเลปะนะ เกษตรกรทำสวนกล้วยหอมทอง 2,000ไร่ ผู้ส่งกล้วยหอมรายใหญ่เข้าเซเว่น วันละ 15ตัน จังหวัดปทุมธานี
คุณวราภรณ์ มงคลแพทย์ พลิกโฉมสวนมะม่วง 250 ไร่ เติมองค์ความรู้ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำฟาร์มช้อปและฟาร์มทัวร์ จังหวัดนครราชสีมา
จากเวทีการแลกเปลี่ยน ใจความสำคัญของการทำงานคือการทำด้วย Passion และรักในงานที่ตนเองทำ เชื่อมั่นว่าเราจะต้องทำได้ และทำด้วยความสุข
น่าสนใจครับ ลองดูว่าจะนำมาปรับใช้กับโครงการ NGT#3 ได้อย่างไร
ลองเขียนอธิบาย ดูครับ