Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
นักรบส่งออก GEN#3 95
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)ได้ดำเนินการจัดทำการส่งเสริมระบบ อววน. ในการพัฒนาระบบและกลไก เพื่อเพิ่มกำลังคนที่มีทักษะและสมรรถนะสูงโดยเปิดรับข้อเสนองานวิจัยรูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่ายนักวิจัยไทยสู่เวทีชั้นนำของโลก ด้วยกลไกการรวมกลุ่มสถาบัน (Consortium) ในด้าน คือ
- Quantum Technology (QT)
- High Energy Physics & Plasma (HEPP)
- Generative Artificial Intelligence (AI)
- Social Science , Humanity and Arts (SHA)
ในการนี้ บพค. ได้จัดงาน PMU – B Consortium Networking เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศ เพื่อ
- เปิดโอกาสให้ท่านได้พบกับผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและนานาชาติที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อผลักดันโครงการวิจัยร่วมกัน
- ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ช่วยเพิ่มความสามารถในการนำเสนอผลงานวิจัยของท่านในวงกว้างร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการวิจัยในประเทศไทยร่วมกับ บพค.
เป็นเวทีสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับประเทศ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนากำลังคนที่มีทักษะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้ก้าวสู่การแข่งขันในระดับสากลอย่างยั่งยืน
กปว. ในฐานะหน่วยงานประสานการส่งเสริมและใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ได้รวบรวมแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อผลักดันสินค้า/บริการของประเทศไปสู่ตลาดสากล ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้บนพื้นฐานด้าน ววน. ที่จะเป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เข้าร่วม PMU-B SHA Consortium Networking การยกระดับงานวิจัยสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ สู่อุตสาหกรรม Soft Power ไทยนอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Networking ที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกัน
การประชุม PMU-B SHA Consortium Networking ครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเครือข่ายนักวิจัยและพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต
ในโครงการ “นักรบส่งออก” (New Generation Trader)
ที่มุ่งผลิตทักษะการส่งออกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ผ่านแพลตฟอร์มระดับโลก (Cross-border e-commerce) และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นทั้งในด้านการตลาด การบริหารธุรกิจ กฎหมายและภาษี ในการส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และยกตัวอย่างความสำเร็จในการดำเนินโครงการในสองปีที่ผ่านมา โดยโครงการนี้ได้รับความสนใจจากผู้คณะเชี่ยวชาญที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดโครงการในอนาคต
กปว. ได้ดำเนินการพัฒนากำลังคนด้วยองค์ความรู้ด้าน ววน. โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพประกอบการสินค้านวัตกรรมที่ได้รับการบ่มเพาะมาจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น โครงการนิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โครงการยกระดับความพร้อมเทคโนโลยีและส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัย โครงการสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี โครงการ Business Brotherhood โครงการ University Business Incubator โครงการ OTOP โครงการ Clinic Technology เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความพร้อมต่อการแข่งขันได้ในระดับสากล กองส่งเสริมและประสานฯ จึงมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้ครอบคุมทุกพื้นที่ผ่านกลไกของ อว.ส่วนหน้า รวมไปถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการที่เกิดจากการบ่มเพาะฯ มาแล้ว จากโครงการต่าง ๆ ภายใต้การเนินงานของกระทรวง อว. นอกจากนี้ยังมีกระบวนการติดตามและกระบวนการ Coaching/Mentoring ในรูปแบบ Project base learning จากผู้เชี่ยวชาญภาครัฐและภาคเอกชนด้วย โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยอำนวยการหลัก ประกอบด้วย (1) ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ (3) ภาคใต้ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีกองส่งเสริมและประสานฯ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ ควบคุม กำกับ ดูแล และประสานงาน ตามแผนการดำเนินงานของโครงการต่อไป