การบูรณาการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก  77

คำสำคัญ : เศรษฐกิจฐานราก  แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ    

สรุปความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก

เมื่อวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.30 น. กระทรวงการคลัง ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก โดยมีนายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นวิทยากรผู้บรรยาย ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก โดยมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก มีเป้าหมายเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเอง ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ เกิดการสร้างอาชีพ มีการกระจายรายได้และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เสมอภาคจากระดับชุมชน โดยประกอบด้วยแผนย่อย 2 แผน ได้แก่

  1. การยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ โดยการเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะในการเป็น ผู้ประกอบการธุรกิจของเกษตรกร แรงงานทั่วไป และกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยและไม่มั่นคงให้เป็น ผู้ประกอบการ ผ่านการสนับสนุนการช่วยเหลือทางด้านองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สิน โดยมีเป้าหมายให้ศักยภาพและขีดความสามารถเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มขึ้น
  2. การสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เน้นส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบที่มีโครงสร้างกระจายรายได้ ทั้งวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และวิสาหกิจเพื่อสังคม การพัฒนาช่องทางการตลาดและเครือข่าย เพื่อให้เกิดการจัดการกลไกการตลาดครบวงจรในรูปแบบการค้าที่เป็นธรรม รวมถึง การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น ในการพัฒนาการสินค้าและยกระดับเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้ (1) ผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (2) กลุ่มประชากรรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 มีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้สินได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

ค่าเป้าหมายปี 2570

ค่าเป้าหมายที่บรรลุในปี 2566

ประเด็นท้าทาย

160001 - รายได้ของประชากรกลุ่มรายได้น้อยเพิ่มขึ้นอย่างกระจายและอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีความยากจนหลายมิติของกลุ่มเป้าหมายในระบบบริหารจัดการข้อมูลพัฒนาคนแบบชี้เป้า (MPI) มิติด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี

ดัชนีความยากจนหลายมิติของกลุ่มเป้าหมายในระบบบริหารจัดการข้อมูลพัฒนาคนแบบชี้เป้า (MPI) มิติด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 5.38 ต่อปี

 

160101 - ศักยภาพและขีดความสามารถเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มขึ้น

ผลิตภาพของวิสาหกิจรายย่อยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี

ผลิตภาพของวิสาหกิจรายย่อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ต่อปี

บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้

  • องค์ความรู้และทักษะของผู้ประกอบการ
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
  • การบริหารจัดการด้านการตลาด
  • การพัฒนาช่องทางการตลาด
  • การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • การปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

160201 - ผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อัตราการขยายตัวของรายได้รวมวิสาหกิจรายย่อย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ต่อปี

อัตราการขยายตัวของรายได้รวมวิสาหกิจรายย่อย คิดเป็นร้อยละ 0.55 ต่อปี


สถานะการณ์อยู่ในระดับวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย

  • ช่องทางการตลาดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่ภายนอก
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
  • การปรับตัวของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค
  • การเข้าถึงบริการทางการเงินสาหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอิสระและผู้มีรายได้ไม่แน่นอน

160202 - กลุ่มประชากรรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 มีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้สินได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สัดส่วนค่าใช้จ่ายหนี้สินของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด ร้อยละ 40 ต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

สัดส่วนค่าใช้จ่ายหนี้สินของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด ร้อยละ 40 ต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 ลดลงร้อยละ 9.3

 

สถานะการณ์อยู่ในระดับวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย

  • การแก้ไขปัญหาหนี้สิน
  • การจัดการหนี้นอกระบบและฐานข้อมูลสาหรับการจัดการหนี้
  • สร้างกลไก เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมทางการเงินในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้ประชาชนสามารถจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้ดูแลและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการเงิน
 

สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน GDP ไตรมาสที่ 1/2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่ 4/2566 เป็นผลจากภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังขยายตัวสูง

สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ยังน่าเป็นห่วง! โดยหนี้สินครัวเรือนไทยยังอยู่ในระดับสูง โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในไตรมาสที่ 4/2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 91.3

“หนี้ครัวเรือน ไม่ใช่แค่ ครัวเรือน แต่ เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน
ต้องร่วมมือกันในการแก้ไข ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

 

แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567

  1. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
  2. การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสาหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs
  3. การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร

แนวทางการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อน การบรรลุเป้าหมาย ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก

  1. สอดคล้องตามปัจจัยที่จำเป็นตามแผนแม่บทย่อย (กลุ่ม A)
  2. สอดคล้องกับภารกิจหน่วยงาน
  3. มีข้อมูลครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ประเมินโครงการฯ
  4. ส่งโครงการตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

โดยหลักเกณฑ์การประเมินโครงการ เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ดังนี้

  1. โครงการสอดคล้องกับปัจจัยและองค์ประกอบของห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่เลือกมา และโครงการสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) และยุทธศาสตร์ชาติตามหลักการ XYZ
  2. ความจำเป็นต้องมีโครงการ
  3. โครงการเป็นการจัดทำบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไม่ใช่การกล่าวอ้าง)
  4. โครงการมีวัตถุประสงค์ ผลผลิต ผลลัพธ์ และ กลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์ เป็นองค์ประกอบที่ชัดเจน สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการอย่างเป็นรูปธรรม
  5. โครงการมีรายละเอียดแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจน เป็นไปได้จริง และ ส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง
  6. โครงการมีตัวชี้วัดที่สามารถชี้และวัดความสำเร็จของเป้าหมายโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม
  7. โครงการไม่เป็นการจัดตั้งกองทุนและคณะกรรมการ/การจัดตั้งหน่วยงาน/การปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้างอาคารสำนักงาน/การจัดซื้อครุภัณฑ์ หากเป็นต้องส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน

ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญการจัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

  • การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการขาดแคลนทรัพยากร
  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  • การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
  • การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว

ความเสี่ยงของประเทศ

  • ผลิตภาพการผลิตรวมลดลง
  • การพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูงขึ้น
  • SMEs สูญเสียศักยภาพในการแข่งขัน
  • ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจอยู่ในระดับสูง
  • ภาคการเกษตรมีความสามารถในการผลิตลดลง
  • อุตสาหกรรมยานยนต์สูญเสียส่วนแบ่งในตลาดโลก
  • อุตสาหกรรม/บริการดิจิทัลพัฒนาไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  • ภาคการท่องเที่ยวไม่สามารถฟื้นตัว/ปรับตัวได้ตามความต้องการ

โดยมีแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ดังนี้

ปรับโมเดลธุรกิจให้สอดรับกับความท้าทายใหม่
  • ลงทุนและใช้เทคโนโลยี/ดิจิทัล เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต/การบริหารจัดการธุรกิจ/ตลาด
  • ใช้ผลงานวิจัย นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานการผลิต/ผลิตภัณฑ์ ในการสร้างความแตกต่าง/เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ
  • เปลี่ยนผ่านสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ
    • ใช้พลังงานทางเลือก
    • กาจัดของเสียอย่างถูกวิธี
    • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    • ลดการใช้ทรัพยากร รวมถึงการนากลับมาใช้ใหม่
    • ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการ CBAM สำหรับผู้ประกอบการส่งออก/ผู้ประกอบการที่อยู่ใน GVC รวมถึงใช้ประโยชน์โดยการขายคาร์บอนเครดิต
  • รักษาตลาดเดิม เชื่อมโยงผู้ประกอบการส่งออกกับตลาดศักยภาพใหม่ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกด้านกฎระเบียบ วัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค และมาตรฐานที่จาเป็น อาทิ กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ อินเดีย และEU
  • รวมกลุ่ม/แสวงหาเครือข่าย-พันธมิตรธุรกิจ
เพิ่มประสิทธิภาพกลไกภาครัฐ
  • เร่งจัดทาสิทธิประโยชน์จูงใจผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบ Formalisation
  • ออกแบบนโยบาย/มาตรการส่งเสริมเชิงลึกที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการแต่ละขนาด/ประเภทธุรกิจ/พื้นที่
  • พัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดาเนินธุรกิจและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน อาทิ
    • กำกับให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม
    • ลดระยะเวลา ขั้นตอนการอนุมัติ/อนุญาต -ขยายผล Biz portal
    • ปรับปรุง/ลดกฎหมายที่ไม่จาเป็น/เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ
    • พัฒนาสมรรถนะแรงงานให้ตรงกับความต้องการ
    • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงระบบการทดสอบ/รับรองมาตรฐานให้เพียงพอ
  • พัฒนาฐานข้อมูลภาครัฐ

เขียนโดย : น.ส.วรลักษณ์  เจริญพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : som.woralak@gmail.com