รู้จัก social enterprise  69

คำสำคัญ : SE  สังคม  

เนื้อหา“Social Enterprise” 🏢💰คำคุ้นหู ที่ สอวช. จะชวนมาทำความรู้จักให้มากขึ้น
.
🔸 Social Enterprise (SE) หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคม / กิจการเพื่อสังคม คืออะไร?
.
Kim Alter ผู้ประกอบการเพื่อสังคม นวัตกรและนักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกา ได้นิยาม วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือกิจการเพื่อสังคมว่าเป็น กิจการลูกผสม (Hybrid Organization) คือ เรามีกิจการที่มีวัตถุประสงค์์เพื่อสาธารณประโยชน์์ (Purely Philanthropic) ที่มีแรงจูงใจการทำงานจากความปรารถนาดีีเพื่อสังคมส่วนรวม โดยใช้ภารกิจเพื่อสังคมเป็นตัวนำ มีเป้้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม โดยนำรายได้้และกำไรมาหมุนเวียนกลับคืนสู่่กิจกรรมที่่นำไปสู่่ภารกิจเพื่อสังคม หรือกล่าวง่าย ๆ คือเป็นกิจการที่่ทำเพื่อสังคมไม่่ได้้แสวงหาผลกำไร ส่วนอีกขั้วหนึ่ง เรามีกิจการที่่แสวงหากำไร (Purely Commercial) แบบบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่มีแรงจูงใจเพื่อประโยชน์์ส่วนบุคคล ใช้ตลาดเป็นตัวนำเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เมื่อได้รายได้และผลกำไรก็กระจายกลับสู่ผู้ถือหุ้นและเจ้าของกิจการ ส่วน กิจการลูกผสม (Hybrid Organization) จะอยู่่ระหว่างกลางของกิจการแบบขั้วทั้งสอง แรงจูงใจจะเกิดจากการผสมผสาน ทั้งเพื่อสังคมส่วนรวมและประโยชน์์ส่วนบุคคล ผสมผสานความมุ่งขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสังคมพร้อมกับตอบโจทย์ตามความต้องการของตลาด นำรายได้และกำไรมาลงทุนในกิจกรรมที่สอดคล้องกับภารกิจเพื่อสังคม ต้นทุนการดำเนินงานหรือในการเติบโตทางธุรกิจ
.
กิจการแบบลูกผสมของ SE จะมีเป้าหมายทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นตัวขับเคลื่อน (Mission Motive) ในขณะที่ยังคงมีความสามารถในการสร้างกำไรเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเพื่อสังคมได้้อย่างยั่งยืนทางธุรกิจ (Profit-Making Motive) มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้นของกิจการ และนำรายได้้กลับมาลงทุนในเป้าหมายทางสังคมและต้นทุนการดำเนินงานของกิจการต่อไป
.
🔸ระบบนิเวศของ Social Enterprise ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

ประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อน SE อย่างภาครัฐ ที่มีบทบาทในการกำกับดูแล และส่งเสริมผู้ให้ทุน และองค์กรที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานให้กับ SE ซึ่ง SE จะประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและผู้ที่ได้รับประโยชน์ทางสังคม ซึ่งระบบนิเวศของ SE ในประเทศไทยอยู่ในระยะเริ่มต้น มีหน่วยงานนโยบายเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหน่วยงานให้ทุนบ้างแต่ไม่มากนัก และมีหน่วยงานช่วยบ่มเพาะและหน่วยงานวิชาการเพิ่มมากขึ้น แต่ยังน้อยกว่าประเทศชั้นนำด้าน SE เช่น สหราชอาณาจักร หรือ สิงคโปร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยยังพบปัญหาหลายประการ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในประเทศ โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดและผู้บริโภค ความรู้ข้อมูลด้านธุรกิจกฎระเบียบ เครือข่ายและการวัดผลลัพธ์ทางสังคม เป็นต้น
.
🔸 จากปัญหา (Pain Points) ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในไทย สามารถแบ่งตามเส้นทางการพัฒนา Social Enterprise (Journey Map) ออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
.
🔹 ช่วงที่ 1 ระยะเริ่มต้นวิสาหกิจเพื่อสังคม
1. รูปแบบองค์กรเพื่อสังคม แบบสมาคมหรือมูลนิธิ มีข้อจำกัด ต้องพึ่งพาเงินบริจาค องค์กรจึงต้องการรูปแบบการดำเนินงานแบบอื่น ๆ ที่จะสามารถหารายได้เพื่อนำมาขยายผลลัพธ์ทางสังคมและเลี้ยงดูองค์กรได้อย่างยั่งยืน
2. การขับเคลื่อนองค์กรให้ตอบโจทย์ทั้งสังคมและธุรกิจ เป็นเรื่องที่ยากกว่าการตอบโจทย์ธุรกิจเพื่ออย่างเดียว ดังนั้นการพัฒนาโมเดลธุรกิจให้ตอบโจทย์สังคมและเศรษฐกิจจึงมีความท้าทายอย่างมาก
3. ขาดแหล่งเงินทุนเพื่อวิสาหกิจเพื่อสังคมที่หลากหลาย
4. ขาดความรู้ด้านการจัดการบัญชี การเงิน ธุรกิจ ภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มาจากด้านสังคม ที่ขาดความรู้ทางธุรกิจ
5. การช่วยเหลือและส่งเสริมอย่างเหมาะสม โมเดลธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคมมีความคล้ายธุรกิจ SMEs แบบเดิมโดยทั่วไป และมีลักษณะแบบสตาร์ทอัพ ซึ่งการพัฒนาโมเดลจะแตกต่างกัน จึงต้องการความช่วยเหลือหรือการส่งเสริมที่แตกต่างกัน
6. ต้องการศูนย์บ่มเพาะ (Incubator) หรือพี่เลี้ยง (Mentor) ในด้านการประกอบการเพื่อสังคม จำนวนมากและหลากหลายความเชี่ยวชาญ
7. บางองค์กรไม่ได้ต้องการจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมาย เนื่องจากต้องการเป็นธุรกิจที่มีการดำเนินงานเพื่อสังคม แต่ไม่ได้ต้องการมี Branding ว่าเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

🔹 ช่วงที่ 2 ระยะดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคม
1. การควบคุมคุณภาพสินค้าและการบริหารจัดการลูกค้า และชุมชนผู้้ผลิต ยากขึ้นมาก เมื่อมีจำนวนลูกค้าและคำสั่งซื้อสินค้าจำนวนเพิ่มขึ้น
2. ผู้้บริโภคในประเทศไทยยังไม่่ตื่นตัวกับวิสาหกิจเพื่อสังคม ยังไม่่ให้้มูลค่ากับความสร้างสรรค์และมีีภาพจำว่าของจากชุมชนราคาถูก แม้้จะมีีการออกแบบที่่ดีี ทำให้้ขาดตลาดภายในประเทศที่่รองรับสินค้าสร้างสรรค์และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
3. ขาดเงิินทุุนในช่่วงแรก ที่่กิิจการอาจจะเผชิญการขาดทุนแบบกิิจการสตาร์ทอัพ
4. การเข้าถึงตลาดภาครัฐมีความยาก โดยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่ามีการให้แต้มต่อหรือสิทธิประโยชน์ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แม้้จะมีีกฎระเบียบออกมาแล้ว
.
🔹 ช่วงที่ 3 ระยะขยายวิสาหกิจเพื่อสังคม
1. โมเดลธุรกิจมุ่งในเชิงท้องถิ่น ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับขยายผลได้ในหลายพื้นที่พร้อม ๆ กัน
2. ต้องมีการปรับสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับการขยายผลในพื้นที่ใหม่ ต้องลงทุนใหม่เพื่อทดสอบและทดลองตลาด ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบนิเวศที่สนับสนุน
3. ขาดความรู้ในการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ ซึ่งต้องการกลไกภาครัฐเข้ามาชี้แนะ
4. ความลำบากเมื่อต้องทำงานหรือติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน การทำงานแบบราชการอาจมีีแยกเป็นส่วน ๆ ในขณะที่่วิสาหกิจเพื่อสังคมมองประเด็นทางสังคมที่่เชื่อมโยงกัน เช่น การศึกษากับสุขภาพ
5.ระบบนิเวศสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ

.
🔸จากข้อมูลข้างต้น เป็นข้อมูลอีกมุมหนึ่งที่จะทำให้คุณรู้จัก SE มากยิ่งขึ้น ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่าง สอวช. กับ สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ที่ได้ศึกษาสถานการณ์ เส้นทางวิสาหกิจ การมองปัญหาและหาโอกาสของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนการออกแบบนโยบาย ซึ่งจะช่วยลดข้อจำกัด อุปสรรคของการดำเนินงาน และพลิกโฉมการพัฒนาธุรกิจและยกระดับครัวเรือน ตลอดจนมุ่งให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนท้องถิ่น
.
รู้สถานการณ์ ปัญหา ข้อจำกัด และอุปสรรคของ SE ไทยแล้ว สอวช. จะเสนอแนะนโยบายอะไร เพื่อขจัดอุปสรรค และสร้างโอกาส SE ไทยบ้าง ติดตามกันต่อใน EP. 2 ที่จะมาเล่าเกี่ยวกับ “7 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อแก้ปัญหา Social Enterprise สร้างความยั่งยืนในท้องถิ่น ด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
.
ที่มา : สมุดปกขาว “กลไกการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม” https://www.nxpo.or.th/th/report/15532/


.
#สอวช #NXPO #นโยบายปลดล็อกไทย #SocialEnterprise #SE #วิสาหกิจเพื่อสังคม #วิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย #สถาบันอนาคตไทยศึกษา #ThailandFutureFoundation #เพราะทุกก้าวของประเทศสำคัญเราจึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลลัพธ์ด้วยพลังจากนโยบายอววน


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th

จริงๆ ประเทศไทยไม่ได้มี SE ที่อยู่ในเลเวลการเติบโตเยอะเลยนะคะ มัน challenge ก็คือทำยังไงเราถึงจะก้าวข้ามกับดักนั้นไปได้

เขียนโดย น.ส.จุฑาทิพ  รุณสุข