Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การเชื่อมโยงงานของ GISTDA ไปยัง อว.ส่วนหน้า 81
ตามที่ นายชุมพล เยาวภา นวค.ชก. ได้มีส่วนร่วมในการประสานหน่วยงานในสังกัด อว. เพื่อเชื่อมโยงไปยัง อว.ส่วนหน้า โดยรับผิดชอบประสานสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA นั้น
ในเบื้องต้นได้หารือ GISTDA เกี่ยวกับการเชื่อมโยงงานไปยัง อว.ส่วนหน้า ทั้งในประเด็นชุดความรู้ของ GISTDA ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัย และการนำนวัตกรรมภูมิสารสนเทศของ GISTDA ไปพัฒนาพื้นที่ โดยใช้กลไก อว.ส่วนหน้า โดยได้นำเสนอในที่ประชุม กปว. เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว.
โดย ผอ.กปว./ที่ประชุม ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวอย่างการนำนวัตกรรมภูมิสารสนเทศไปพัฒนาข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลา/จังหวัดร้อยเอ็ด และอยากให้มีการขยายผลการดำเนินงานดังกล่าว ไปยังกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์) โดยเน้นการนำระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)ไปใช้ในพัฒนาข้าวที่ปลูกมากในพื้นที่ เช่น ข้าวทับทิมชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ข้าวเหนียวเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมถึงข้าวหอมมะลิ ในพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ จังหวัดนครราชสีมา
ต่อมาได้หารือ GISTDA เกี่ยวกับการขยายผลดังกล่าว พบว่านวัตกรรมภูมิสารสนเทศที่เคยนำไปพัฒนาข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลา/จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันนวัตกรรมนี้เกิดปัญหา เกษตรกรไม่สามารถใช้งานได้กับโทรศัพท์ทั้งในระบบ iOS และ Android โดยอยู่ในระหว่างการปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถใช้งานได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นอกจากนี้ยังได้มีการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายผลดังกล่าว ซึ่งจะไม่ใช่แค่การขยายผลเฉพาะข้าวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และจังหวัดใกล้เคียง แต่จะขยายผลไปยังผู้ประกอบการทุกประเภท (กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์โอทอป) ทั้งที่จดทะเบียนหรือกำลังจะจดทะเบียน ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise : BCE) ทั่วประเทศ
ตอนนี้ GISTDA ได้พัฒนาข้อเสนอโครงขยายผลดังกล่าวและส่งให้ กปว.สป.อว. พิจารณาเบื้องต้น โดยใช้งบประมาณจำนวน 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน) ซึ่งหากโครงการดังกล่าวผ่านการพิจารณาและได้รับการสนับสนุนงบประมาณ อาจมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากร กปว. เพื่อมาช่วยประสานและร่วมดำเนินโครงการในแต่ละพื้นที่ภูมิภาค จึงได้ประสานและจัดตั้งทีมงาน ดังนี้
1.นายชุมพล เยาวภา ภาคอีสาน (หัวหน้าทีม)
2.นางสาวรชนิศ ศรีวิชัย ภาคเหนือ
3.นางสาวปุณยชา บัณฑิตกุล ภาคใต้
4.นางสาวเดือนเพ็ญ อาจไธสง ภาคกลาง/ตะวันออก
แนวทางการเชื่อมโยงงานของ GISTDA ไปยัง อว.ส่วนหน้า
โครงการยกระดับสินค้าและบริการของผู้ประกอบการชุมชนภายใต้แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise : BCE) ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ แบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน (GI Community Platform)และระบบตรวจสอบย้อนกลับ