กิจกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย ด้วย อววน. ในหัวข้อ “อรรถ-รส” รสชาติในอาหารไทย  98

คำสำคัญ : อาหาร  อว.แฟร์  SoftPower  

กิจกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย ด้วย อววน. ในหัวข้อ “อรรถ-รส” รสชาติในอาหารไทย
ภายใต้งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ
(อว.แฟร์ : Sci Power For Future Thailand)

ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนัวตกรรมได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยประสานความร่วมมือในการดำเนินโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย โดยจัดทำข้อมูลความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ในการเป็นหน่วยฝึกอบรรมให้กับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ และยังมีความร่วมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร ในการนำเสนอบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานในสังกัดของ อว. ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร ผ่านงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารการถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมไปถึงการพัฒนาบุคลลากรในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันอาหารสู่การเป็น Soft Powerของประเทศไทย

กปว. จึงได้จัดให้มีกิจกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย ด้วย อววน. ในหัวข้อ “อรรถ-รส” รสชาติในอาหารไทย ภายใต้งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : Sci Power For Future Thailand)Mini Stage อว.แฟร์ ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในเสาร์วันที่ 27 กรกฏาคม 2567 ที่ผ่านมา

โดยกิจกรรมการเสวนาในหัวข้อ “อรรถ-รส” รสชาติในอาหารไทย เป็นการนำเสนอการใช้องค์ความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาผ่านเรื่องราวของรสชาติในอาหารไทย 6 รสชาติ ได้แก่ รสเผ็ด รสหวาน รสมัน รสเค็ม รสเปรี้ยวและรสกลมกล่อม ที่มีแหล่งที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ผนวกกับการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยที่ใช้เป็นพื้นฐานการพัฒนาต่อยอด เติมแต่งความคิดสร้างสรรค์ ทำให้อาหารไทยเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

การเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก เชฟชุมพล แจ้งไพร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร 

ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นตัวแทนของรสชาติทั้ง 6 รสชาติ ได้แก่

1. ผศ.ดร.ณนนท์ แดงสังวาลย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (โชติเวช) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

2. ผศ.แสนประเสริฐ ปานเนียม อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

3. ผศ.อรุณวรรณ อรรถธรรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

4. อาจารย์เป็นเอก ทรัพย์สิน อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

5. รศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

6. ผศ.ดร.ปัทมา หิรัญโญภาส อาจารย์ประจำสาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ในช่วงที่ 2 ได้มีการจัดกิจกรรมสาธิตห้องเรียนประกอบอาหาร (Cooking Classroom)

โดยมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ การโรงแรม เทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 9 สถาบัน ได้แก่

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (โชติเวช)

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

4. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โรงเรียนการเรือน

5. มหาวิทยาลัยสยาม

6. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

7. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม

8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะศิลปศาสตร์ (นางเลิ้ง)

9. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สำหรับเมนูที่นำมาสาธิตได้แก่ ยำผักเคล กุ้ง น้ำยำ Molecular

นำเทคนิคโมเลกูลา (Molecular) เข้ามาเพิ่มมูลค่าแก่อาหาร เพิ่มฟังก์ชันการนำเสนอให้จานอาหารน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ 6 รสชาติ นำอาหารที่สามารถนำเสนอรสชาตินั้นๆ มาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองชิม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของรสชาติและวัตถุดิบท้องถิ่นของไทย และแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในการรังสรรค์เมนูเพื่อเข้าร่วมจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้

 

 


เขียนโดย : นายณัฐพล  มหาไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattaphon.m@mhesi.go.th

กิจกรรมการเสวนาในหัวข้อ “อรรถ-รส” รสชาติในอาหารไทย ผ่านมุมมองการเล่าเรื่อง รสชาติในอาหารไทย แสดงให้เห็นถึงความความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยโดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารไทย และผลักดันให้เป็น Soft Power ของไทย ต่อยอดได้แน่นอนค่ะ ขอบคุณกิจกรรมดีๆแบบนี้นะคะ

เขียนโดย นางสาวเจนจิรา  ภาประเวช

ยอดเยี่ยมครับ ลองคิดต่อยอดว่าจะสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการอะไรเพื่อทำงานร่วมกัน ธัชชา หรือ ทาง PMU-B ได้บ้าง

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ