Intellectual Property หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา  22

คำสำคัญ : ทรัพย์สินทางปัญญา    

ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร

“ทรัพย์สิน” ตามกฎหมายไทย ประกอบด้วย 3ประเภท คือ

  1. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า รถยนต์ ฯลฯ
  2. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินหรือสิ่งใดๆที่ติดอยู่กับที่ดินในลักษณะถาวรซึ่งไม่อาจเคลื่อนที่ได้ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง อาคาร สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ
  3. ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลผลิตซึ่งเกิดจากปัญญาของมนุษย์

 

ความสำคัญของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาบัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อตอบแทนความอุตสาหะที่ผู้สร้างสรรค์ทุ่มเทเวลาในการศึกษาค้นคว้าวิจัยสรรค์สร้างผลงานอันทรงคุณค่าและคุณประโยชน์ขึ้นมาให้กับสังคมโลก และจูงใจให้มีการวิจัยและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวมเมื่อทรัพย์สินทางปัญญานั้นสิ้นสุดระยะเวลาการคุ้มครองแล้ว

 

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

1. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

เป็นงานที่สร้างสรรค์จากความคิดริเริ่มของตนเอง (Originality)/มีการแสดงออกของความคิด (Expression of Ideas)/ เป็นงานสร้างสรรค์ 9 ประเภทที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

 

2. ทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Industrial Property)

2.1 สิทธิบัตร (Patent)

หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)

 

2.2 อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)

หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่สูงพอที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี ใช้งานได้จริง ซึ่งเหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย

 

2.3 เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)

เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คํา ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้ อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง  และเครื่องหมายร่วม

 

2.4 คุ้มครองการคุ้มครองพันธุ์พืช (Plants Varieties)

การส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม  การส่งเสริมเกษตรกรรม การอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษา และจัดตั้งกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและครบวงจร

 

2.5 แบบผังภูมิวงจรรวม (Layout-Designs, Topography, Integrated Circuit)

แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้นในรูปแบบหรือวิธีใดๆ ที่จัดวางให้เป็นวงจรรวม เป็นแบบของวงจรไฟฟ้าที่ได้ออกแบบขึ้นมา (Layout Design) และตัวชุดหน้ากากหรือแผ่นบัง (Mask Work) ซึ่งเป็นตัวต้นแบบที่ใช้ในการสร้างให้เกิดแบบผังภูมิ

 

2.6 ความลับทางการค้า (Trade Secret)

ข้อมูลทางการค้าที่เป็นความลับ

 

2.7 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ป้องกันความหลงผิดหรือสับสนของสาธารณชน และเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับความคุ้มครอง

 

ที่มา : https://ripo.kmutt.ac.th/intellectual-property/


เขียนโดย : นายเรืองเดช  ฟักเถื่อน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ruangdet.ft@gmail.com