Business Model Canvas (#BMC)  182

คำสำคัญ : คลินิก  ธุรกิจ  bmc  

Business Model Canvas (#BMC) แบบจำลองธุรกิจในกระดาษแผ่นเดียว โดย BMC ประกอบด้วยบล็อคทั้ง 9 ช่อง คือ

  1) กลุ่มลูกค้า (Customer Segment: CS) ใครจะเป็นกลุ่มลูกค้าของเราแบบจำลองธุรกิจ ต้องเริ่มจาก “ลูกค้า” โดยการหากลุ่มลูกค้าใหญ่ (Segment) ซอยเป็นเป้าหมาย (Target) และตำแหน่ง (Positioning) หรือที่ เรียกว่า STP หากลุ่มลูกค้า จำแนก คัดเลือก และนำไปศึกษา ว่าใครคือลูกค้าของเรากันแน่ เป็นลูกค้าวงกว้าง (Mass) คาราบาว คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือลูกค้าวงแคบ (Niche) แปรงสีฟันเฉพาะคนจัดฟัน

 2) ข้อเสนอคุณค่า (Value Proposition: VP) คุณค่าที่เรานำเสนอ คืออะไร เช่น ความแปลกใหม่ การออกแบบ แบรนด์ ประสิทธิภาพ ราคา ลดความเสี่ยง ความง่าย คุณค่านี้ อาจเป็น “พันธสัญญา” หรือ “Core Value” ที่สำคัญ ที่เราจะยึดไว้เป็นหลักและต้องตรงกับกลุ่ม CS ด้วย

 3) ช่องทาง (Channels: CH) ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า เราเข้าถึงลูกค้าทางไหนบ้าง ซึ่งกระบวนการตัดสินใจของลูกค้าแบบทั่วไป (Customer Journey) คือ รับรู้ (Aware) สนใจ (Interest) ลองซื้อ (Purchase) ประเมิน ตัดสินใจ (Consider) และสุดท้าย บอกต่อ/ซื้อซ้ำ (Refer/Repurchase)
การเข้าถึงลูกค้าต้องสามารถตอบสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้ ตัวอย่างช่องทาง ได้แก่ ร้านค้า, นิตยสาร, โฆษณา, Facebook แฟนเพจ, Google, website, เว็บบอร์ด หรือพนักงานเข้าไปขายโดยตรง

 4) ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship: CR) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เราทำยังไงให้ลูกค้าชอบเรา เช่น บริการด้วยตัวเอง การใช้ Facebook Fanpage, การสร้างกิจกรรมต่างๆ, การใช้ระบบบริการอัตโนมัติ

 5) กระแสรายได้ (Revenue Streams: RS) การกระแสรายได้เข้ามาเป็นรายได้ มาจากทางไหนบ้าง เช่น การขายสินค้า การขายโฆษณา คิดค่าใช้งานต่อครั้ง ค่าลิขสิทธิ์ ค่านายหน้า คำถามสำคัญ คือ ทำยังไงให้มีรายได้สม่ำเสมอและต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

 6) โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure: CS) มีต้นทุนอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นบ้าง ต้นทุนคงที่ ต้นผันแปร ค่าแรงงาน ค่าสินค้า ค่าการตลาด ค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ ค่าขนส่งหรือส่งมอบ

 7) ทรัพยากรหลัก (Key Resources: KR) ทรัพยากรสำคัญ ทรัพยากรอะไรที่สำคัญในธุรกิจบ้าง ที่ช่วยให้เราสร้างคุณค่าที่จะส่งมอบได้ อันนี้อาจแตกต่างไปแล้วแต่ธุรกิจ เช่น ธุรกิจเทคโนโลยีอาจเป็นนักพัฒนาแอฟฟิเคชั่น บางองค์กรเป็นทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่นวัตกรรมของบริษัท ทรัพย์สินทางปัญญา ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คู่แข่งขันเข้ามาในตลาดได้ง่ายๆ ส่วนโรงงาน ทรัพยากร ก็อาจเป็นวัตถุดิบ หรือเทคโนโลยีในการผลิตนั่นเอง ธุรกิจที่ต้องเงินหมุนค่อนข้างมาก เช่น ค้าปลีกค้าส่ง อาจมีเงินทุน เป็นทรัพยากรสำคัญ

 8) กิจกรรมหลัก (Key Activities: KA) ที่สำคัญที่สร้าง คุณค่าให้กับลูกค้า เช่น โรงงานอาจเป็น การผลิต ธุรกิจที่ช่วยลูกค้าขาย อาจเป็นสร้างยอดขาย ธุรกิจที่ปรึกษาก็อาจเป็นการให้คำปรึกษา ธุรกิจที่ใช้ระบบช่วยลูกค้า (Platform) อาจเป็นการดูแลและพัฒนาระบบ ให้สามารถตอบโจทย์อยู่เสมอ

 9) พันธมิตรหลัก (Key Partner: KP) คือ คนที่สามารถส่งมอบ สนับสนุน หรือแลกเปลี่ยนทั้งทรัพยากรและกิจกรรมหลักให้เราได้ พันธมิตร คือ คนที่มักจะมีลูกค้าคนสุดท้ายคนเดียวกันหรือ “อาจ” เป็นคนที่มีคุณค่า หรือวิสัยทัศน์ร่วมกันด้วย

นำไปลองทำความสัมพันธ์​กันดู​นะ​ครับ

#BMC​ #OnePage #SPaper #SRead #Business #Model #Innovation 


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th