ข้อเสนอการสร้างหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ UBI ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการออกแบบนวัตกรรม Design for Innovation  129

คำสำคัญ : UBI  Design  Innovation  

ข้อเสนอการสร้างหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ UBI ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการออกแบบนวัตกรรม ตอนที่ 1 Design for Innovation

การดำเนินงานของหน่วยบ่มเพาะ UBI muj,uการให้คำปรึกษาเฉพาะด้านในเชิงลึกให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะแต่ละราย ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ และแผนการบ่มเพาะรายบุคคล  ศูนย์บ่มเพาะสามารถสร้างความเฉพาะด้านในการมุ่งเน้นของแต่ละมหาวิทยาลัย ได้แก่ การแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ดิจิทอล

Soft Power เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทั้งนี้หน่วยบ่มเพาะ UBI ข้อเสนอการสร้างหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ UBI ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการออกแบบนวัตกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสามารถออกแบบศูนย์บ่มเพาะ UBI ให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบสามารถสร้างนวัตกรรม  ทั้งนี้การออกแบบเป็นมากกว่ารูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ แต่ยังหมายถึงวิธีการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของผลิตภัณฑ์ด้วยการปรับหน่วยบ่มเพาะ UBI ให้รองรับการออกแบบนวัตกรรม โดยการเปลี่ยนแปลงองค์กรและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมด้วยการออกแบบ

ปัจจุบันธุรกิจต่างๆ เน้นการออกแบบด้านนวัตกรรมมากขึ้น พวกเขาไม่เพียงสร้างผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและใช้งานได้จริงเท่านั้น ทั้งยังทำเพื่อปรับปรุงวิธีการสร้างและส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าอีกด้วย สิ่งนี้ต้องการวัฒนธรรมและกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมที่นำไปสู่การออกแบบเชิงนวัตกรรม ตามแนวคิดดังนี้

การออกแบบที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีความแตกต่าง รวมทั้งต้องมีการนำเทคโนโลยี วิชาการที่ช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอย เทคโนโลยีการผลิต การเลือกใช้วัสดุ เป็นต้น โดยผลงานต้องมีการออกแบบที่ผสมผสานกันระหว่าง การออกแบบเชิงวิศวกรรมหรือเทคโนโลยี (technology element) และ การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ (creative element) และสามารถใช้งานได้จริง         ซึ่งการออกแบบลักษณะดังกล่าวเรียกว่า "การออกแบบเชิงนวัตกรรม Design Innovation" ทั้งนี้ผลงานต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตัวอย่างการออกแบบที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีความแตกต่าง

 

1.Egg Chair ได้รับการออกแบบโดย Arne Jacabsen ในปี 1985 สำหรับโรงแรม SAS Royal Hotel ในเมือง Copenhagan นอกจากนี้ Arne ยังเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน                         ทุกองค์ประกอบของโรงแรมนี้ ตั้งแต่พื้น ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และของใช้อย่างช้อนส้อม โคมไฟ ที่เขี่ยบุหรี่ รวมถึง Egg Chair เก้าอี้ดีไซน์ระดับโลกที่โด่งดังในปี 1985 จนถึงปัจจุบัน

ดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์ ที่นอกจากจะนั่งได้สบาย  และแรงบันดาลใจจากรูปทรงของ ไข่ จนได้เป็นเก้าอี้ที่มีทรวดทรงโค้งมน ไร้เหลี่ยมมุม และด้วยผนังพิงที่สูงมีขนาดใหญ่ทำให้สามารถเอนหลังได้อย่างสบาย ให้ความรู้สึกเหมือนว่าเก้าอี้ได้โอบอุ้มร่างกายเราเอาไว้ และการออกแบบที่โค้งมน ดูพลิ้วไหวของเก้าอี้ Egg Chair นี่เองทำให้กลายเป็นที่จดจำและเป็นลายเซ็นต์ของ Arne Jacobsenเหมือนได้เข้าไปฟักตัวอยู่ด้านในแล้ว ยังช่วยแต่งห้องต่าง ๆ ในดูโดดเด่นยิ่งขึ้น ทั้งสีสันอันสดใสและลวดลายเส้นโค้ง ให้ความผ่อนคลายเป็นกันเอง ได้ความรู้สึกสบายสบายใจ เก้าอี้ดีไซน์ระดับโลกตัวนี้ เลยเหมาะสำหรับการแต่งมุมพักผ่อนหย่อนใจ ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น สไตล์ Mid-century Modern หรือ Scandinavian

อีกหนึ่งความน่าสนใจของเก้าอี้ Iconic ตัวนี้ มาจากการทดลองของ Arne Jacobsen ที่ปรับรูปทรงของเก้าอี้อยู่หลายครั้ง ด้วยการใช้ลวดกับปูนปลาสเตอร์ ภายในโรงรถของเขา จนกลายมาเป็น Egg Chair สุดชิคในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ตัวเก้าอี้ยังทำจากโฟมโพลียูรีเทนขึ้นรูป ทำให้มีน้ำหนักเบา ทำความสะอาดง่าย เคลื่อนย้ายได้สะดวก จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงกลายเป็นเก้าอี้ที่ได้รับความนิยมระดับโลก

 

2.Butterfly Chair เป็นเก้าอี้ดีไซน์ระดับโลกจากสถาปนิกชื่อดัง 3 คน ได้แก่ Antonio Bonet, Juan Kurchan และ Jorge Ferrari Hardoy ที่อาร์เจนตินา ในปี 1938 โดยได้แนวคิดการออกแบบจากเก้าอี้ทหารหรือเก้าอี้สนามแบบพับได้ ผสมผสานเข้ากับรูปทรงของปีกผีเสื้อ ทำให้ได้ความรู้สึกที่ดูหรูหรา แต่เข้าถึงได้ง่ายเช่นกัน

การเชื่อมส่วนที่นั่งและพนักพิงให้เป็นส่วนเดียวกัน โดยใช้ดีไซน์ของปีกผีเสื้อ เป็นเส้นโค้งให้ความรู้สึกเบาสบาย เข้ากับส่วนขาโครงเหล็กแบบเท่ ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ แถมในปัจจุบันยังมีวัสดุหุ้มให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งหนังที่มีความดูดีแบบคลาสิก ผ้ากำมะหยี่ให้ความลักซ์ชัวรี่ หรือผ้าใบที่มีความเท่ดูกระฉับกระเฉงเข้ากับสไตล์ลอฟต์เป็นอย่างดี

3.Up 5 และ Up 6 เก้าอี้ดีไซน์ระดับโลกที่เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของนักออกแบบ โดยผสมผสานบุคลิกภาพเข้ากับการออกแบบของเขาผ่านวัสดุที่แหวกแนว Up 5 ไม่เพียงแต่มีรูปลักษณ์และสัมผัสที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น แต่ยัง "เติบโต" เป็นรูปเป็นร่างอย่างแท้จริงเมื่อแกะออกจากซีลสูญญากาศที่แน่นหนาทั้งชิ้น และ Pesce บริษัทผู้ผลิตได้นำโพลียูรีเทนซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ระดับสูงมาใช้อย่างชาญฉลาด

สำหรับการออกแบบเชิงนวัตกรรมในประเทศไทยได้มีการดำเนินงานโดยหลายผลงานและมีหลายหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุน ทั้งนี้การดำเนินงานของกระทรวง อว. ผ่านโครงการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจในสถาบันอุดมศึกษาหรือ UBI ได้มีการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านการออกแบบ โดยเฉพาะของหน่วยบ่มเพาะของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เน้นการออกแบบที่เน้นการสร้างเอกลักษณ์และรูปแบบจากการใช้งานผลิตภัณฑ์สู่การเป็นหน่วย UBI เฉพาะด้านการออกแบบ ดังที่ผู้เขียนได้หารือกับประธานเครือข่าย C-UBI ภาคกลางตอนล่างและผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะ UBI มหาวิทยาลัยศิลปากร

ซึ่งจะเริ่มผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นในปีงบประมาณ 2568 เป็นต้นไป


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th