“มุ่งสู่แนวทางการเป็น Specialize Science Park”  25

คำสำคัญ : RSP  KnowledgeSharing  Scipark  อุทยานวิทยาศาสตร์  

"กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง (RSP Knowledge Sharing 2024)"

          เมื่อวันที่ 29 - 31 พฤษภาคม 2567 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (RSP Knowledge sharing) ในหัวข้อ “แนวทางการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรอุทยานวิทยาศาสตร์ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา) โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงาน โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กปว. คณะผู้บริหารและบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 แห่ง (RSP) และคณะผู้บริหารและบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย 16 แห่ง (USP) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย

🔹กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “ความจำเป็นเชิงพื้นที่ต่อความเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง” โดย  ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 แห่ง

🔸กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ “แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง” โดย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์, ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง และผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ม.แม่โจ้

🔹กิจกรรม Workshop “การประเมินความพร้อมของอุทยานวิทยาศาสตร์ต่อการเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง และแนวทางการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับของภาคเอกชน” พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้บริหารในการนำเสนอแผนที่ได้จากการทำ workshop

🔸กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ “แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทางในต่างประเทศ” โดย Dr. André H.R. Domin, CEO Technologiepark Heidelberg

🔹และปิดท้ายด้วยกิจกรรมศึกษาดูงานบริษัท Success Case ภายใต้การสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ และเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด , สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.อ. และสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ ม.อ.

          ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว นอกจากจะได้เปิดโอกาสให้บุคลากรภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรอุทยานวิทยาศาสตร์จากภาคต่าง ๆ ในการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทางแล้ว ยังรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าจากการรับบริการจากอุทยานวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะด้าน โดยได้รับความร่วมมือของเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ, อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1, อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ในการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการนวัตกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หากเราสามารถค้นหาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือความถนัดในพื้นที่ของตนเอง และนำมาปรับให้เข้ากับบริการของอุทยาน ก็อาจทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของเรา มีความพิเศษ โดดเด่น และไม่เหมือนใคร สามารถให้คำปรึกษา แนะนำ หรือส่งต่อลูกค้ากันได้ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการทั่วประเทศได้อย่างครอบคลุมในอนาคต


เขียนโดย : น.ส.จิณห์นิภา  พลีทอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : jinnipa.p@mhesi.go.th