Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การประชุมหารือแนวทางการนำ อววน. สนับสนุนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ 145
คำสำคัญ : เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS PGS
ในวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2567 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว.ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ นำโดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กปว. ได้จัดการประชุมหารือแนวทางการนำ อววน. สนับสนุนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์และลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดย นายจิรภัทร คาดีวี ประธานสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน จ.กาฬสินธุ์ กล่าวต้อนรับ และ นายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์เปิดประชุม ณ ห้องประชุมผาเสวย ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
สามารถติดตามข่าวสารและรับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
การประชุมหารือแนวทางการนำ อววน. สนับสนุนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
และลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์
ในวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2567 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว.ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ นำโดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กปว. ได้จัดการประชุมหารือแนวทางการนำ อววน. สนับสนุนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์และลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดย นายจิรภัทร คาดีวี ประธานสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน จ.กาฬสินธุ์ กล่าวต้อนรับ และ นายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์เปิดประชุม ณ ห้องประชุมผาเสวย ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ , องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ , สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดกาฬสินธุ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมประชุม
เนื้อหาการประชุมประกอบด้วย
- นำเสนอข้อมูลกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยผู้แทนกลุ่มเกษตรกร
- นำเสนอข้อมูลเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนด้านเกษตรอินทรีย์ โดย ผู้แทนคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์/กปว.
- แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ โดย ผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวหน่วยงานยังขาดบุคลากรในการตรวจสินค้าทางการเกษตรและไม่ทั่วถึง
- ประธานสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน จ.กาฬสินธุ์ กล่าวถึงการทำ PGS เพื่อแก้ปัญหาหลัก 3 ข้อ ได้แก่ ข้อจำกัดเรื่องมาตรฐาน คู่ต้องมากจำนวน และการสร้างเครือข่าย
- ตัวแทน อบจ. กาฬสินธุ์ รายงานในปีนี้มีโครงการในวันที่ 5-6 มิ.ย.67 อบรมเรื่องระบบ การรับรองเกษตรอินทรีย์ โดยตัวแทนสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน จ.กาฬสินธุ์ส่งผู้แทนเข้ารับการอบรมและทดสอบเบื้องต้น
- บรรยายการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กปว./ผู้พัฒนาระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ และ “ประเทศไทยหัวใจอินทรีย์” ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS สู่ ธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสังคม Organic Social Enterprise กลไกขับเคลื่อนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ PGS และตอบประเด็นข้อคำถามเรื่องบทลงโทษและแนวทางการตอบคำถามร่วมกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลมาพัฒนาแนวทางการดำเนินงานกับการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในระยะต่อไป
ในช่วงท้าย นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีการเข้าร่วมรับฟังและมอบให้ประธานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นฝ่ายเลขาฯ พร้อมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
รวมทั้งยังมีการ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ แสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์ และ สวนปันบุญเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
สามารถติดตามข่าวสารและรับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
Fan page facebook : หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขียนโดย : นางสาวเจนจิรา ภาประเวช
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : janejira.p@mhesi.go.th