วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (PSB:Photo Synthetic Bacteria) แบบใหม่ ได้จุลินทรีย์สายพันธุ์ดีกว่าเดิม  20

คำสำคัญ : organic  อินทรีย์  จุลินทรีย์  psb  

วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแบบใหม่ ได้จุลินทรีย์สายพันธุ์ดีกว่าเดิม
.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
(PSB:Photo Synthetic Bacteria)
เป็นที่นิยมทำใช้กันแพร่หลาย
เนื่องจาก ทำง่าย ต้นทุนต่ำ และที่สำคัญเราจะเห็นด้วยตาว่าจุลินทรีย์มีชีวิตมากน้อยเพียงใดด้วยสีที่เปลี่ยนแปลงไป
.
แต่การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงด้วยใบทองหลางน้ำนั้น
เราจะได้จุลินทรีย์สายพันธุ์ Rhodobactor Capsulatus ซึ่งจะไม่มีในวิธีการเพาะเลี้ยงแบบเก่าที่ใช้ ไข่ ผงชูรส กากน้ำตาล เป็นส่วนผสม
.
การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางนี้ ได้แนวคิดมาจากภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยก่อน ที่นิยมปลูกใบทองหลางน้ำไว้ในสวนทุเรียน เพื่อช่วยให้ทุเรียนโตดี ไม่มีโรค แมลง
เนื่องจากใบทองหลางเป็นพืชตระกูลถั่ว และยังเป็นพรีไอติกที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์อีกด้วย
.
ดังนั้น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำด้วยจุลินทรีย์ Rhodobactor Capsulatus
จึงมีประโยชน์ช่วยให้พืช
-มีใบเขียว ต้นกรอบ
-ช่วยเร่งการแตกราก
-พืชทนต่อภาวะดินเค็มได้ดี
.
**วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงด้วยใบทองหลาง
วัตถุดิบ :
-ใบทองหลางน้ำ 100 กรัม (100 ใบ)
-หัวเชื้อจุลินทรีย์ Rhodobactor Capsulatus 1 ลิตร
-น้ำเปล่า 4 ลิตร
.
วิธีทำ :
1.เติมหัวเชื้อ 1 ลิตรลงในขวดพลาสติก
2.ฉีกใบทองหลางใส่ลงไปในขวด
3.เติมน้ำเปล่า 4 ลิตร
4.นำไปตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง แสงปกติ
5.พอมีสีแดงสดใสก็พร้อมนำไปใช้ได้
.
**วิธีใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง :
-อัตราการใช้ 1:100 ส่วน
-แนะนำให้ฉีดพ่นทางใบ และพ่นตอนเย็นดีสุด
-ใช้ไม่เหมด ให้เก็บในที่มืดเพื่อชะลอการเจริญของจุลินทรีย์
.
ติดต่อขอรับหัวเชื้อได้ที่
โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะง้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี
.
ที่มาของข้อมูล :
อ.วิโรจน์ วิโรจน์พันธุ์
ที่ปรึกษาโครงการเกษตรอินทรีย์ สำนักงานพัฒนาที่ดิน 10
#จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 

ภาพจาก : อีเรฟไทย (erevthai)


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th