สรุปการสัมมนา เรื่อง การสนับสนุนทุนนวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม  64

คำสำคัญ : นวัตกรรม  ทุนสนับสนุน  นวัตกรรมเพื่อสังคม  COE  

สรุปการสัมมนา เรื่อง การสนับสนุนทุนนวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม

ในวันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา10.00 - 12.15น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชัน Zoom Meeting

โดย น.ส.ปรียาพร สีโนรัก (COE)

…………………………………………………………………………………………………………..

NIA  ให้การสนับสนุน /การนำนวัตกรรมไปต่อยอดทางพาณิชย์ และมุ่งเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศไทย โดยให้การช่วยเหลือในการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ระดับใหม่ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนผู้ประกอบการและนักวิจัยในการพัฒนาแนวคิดและผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยให้ความสนับสนุนทั้งด้านทุนการลงทุน การให้คำปรึกษา และการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่สามารถช่วยเสริมสร้างและขับเคลื่อนนวัตกรรมไปสู่การตลาดและสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมอย่างเชื่อถือได้และมุ่งเน้นให้นวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย การสนับสนุนนี้สามารถช่วยเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ สร้างงานที่มีคุณค่า และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและสนับสนุนนวัตกรรมในด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสนับสนุนโครงการการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคม การสนับสนุนธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์สร้างสรรค์สรรค์การบริโภค การสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะ

6 ความท้าทาย ต่อการพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจสตาร์ทอัพไทย

  1. Regulatory Environment
  2. Talent Pool
  3. Cultural mindest
  4. Infrastructure
  5. Government Support
  6. Accsee to tunding

นวัตกรรม คืออะไรกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อแก้ปัญหาหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมมักเกิดจากการค้นพบแนวคิดใหม่ การใช้เทคโนโลยีใหม่ หรือการผสมผสานความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าและสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมหรือธุรกิจ การสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตและความสำเร็จในหลากหลายด้านของชีวิตความเป็นอยู่ เช่น SME , Start Up , Social entreprise (SE) เป็นต้น

รูปแบบของนวัตกรรมมีหลายแบบ รูปแบบที่พบบ่อยได้แก่

1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์: คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหรือแก้ปัญหาที่มีอยู่

2. นวัตกรรมกระบวนการใหม่: คือการพัฒนากระบวนการการผลิตหรือการบริการใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. นวัตกรรมเทคโนโลยี: คือการใช้เทคโนโลยีใหม่หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่

4. นวัตกรรมบริการ: คือการพัฒนาบริการใหม่หรือการปรับปรุงบริการที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

5. นวัตกรรมสังคมในรูปแบบธุระกิจ: คือการมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยไม่มุ่งหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียวเช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยเสริมสร้างการศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ หรือการช่วยเหลือผู้คนในสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ นวัตกรรมสังคมยังสามารถเป็นการนำเสนอโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว เช่น การใช้วัสดุที่มีอยู่ใหม่เพื่อลดการใช้พลาสติก หรือการสร้างโครงสร้างธุรกิจที่สนับสนุนการยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมสังคมในธุรกิจเป็นการผสมผสานระหว่างความสามารถในการสร้างกำไรและการสร้างคุณค่าสังคมและสิ่งแวดล้อม

          ทำไมธุรกิจต้องมีเทคโนโลยี เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีช่วยให้ธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และสร้างคุณค่าสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ สร้างโอกาสใหม่ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาด การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจสามารถช่วยให้ธุรกิจเป็นไปได้ในระดับที่สูงขึ้น และเป็นประสิทธิภาพมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น

  1. การสร้างความได้เปรียบด้วยเทคโนโลยี
  2. เพิ่มโอการการแข่งขัน
  3. ก่อให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้น

อุตสาหกรรมเป้าหมาย  

  1. เกษตร อาหารและสมุนไพร
  2. การแพทย์และสุขภาพ
  3. การท่องเที่ยว
  4. พลังงานสิ่งแวดล้อมและยานยนต์ไฟฟ้า
  5. Soft Power

การสนับสนุน Startups และ SMEs เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาด การสนับสนุนสตาร์ทอัพและ SMEs สามารถเป็นในรูปแบบของการให้ทุนการเริ่มต้น

 

การฝึกอบรม การให้คำปรึกษาทางธุรกิจ การเชื่อมโยงกับผู้ลงทุน และการสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่

การสนับสนุนนี้ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม และสร้างความเจริญรุ่งเรืองในภาคธุรกิจขนาดเล็กและกลาง มีหลายแหล่งเงินทุน (Fund for Business) ที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงเพื่อการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทนักลงทุน บริษัทประกัน หรือหน่วยงานรัฐ และองค์กรที่สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและกลาง นอกจากนี้ยังมีแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เช่น กู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือใช้เทคโนโลยีการเงินเช่น crowdfunding หรือ peer-to-peer lending ซึ่งเป็นวิธีที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงเงินทุนจากบุคคลทั่วไปได้

การเลือกใช้แหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจจะช่วยให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลไกสนับสนุนโครงการในช่วงต้นแบบนวัตกรรมสำหรับทดสอบตลาด (Open Innovation)

การใช้กลไกการสนับสนุนโครงการในช่วงต้นแบบนวัตกรรมสำหรับทดสอบตลาด (Open Innovation) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ โดยการเปิดโอกาสให้กับบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทดสอบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เข้ากับความต้องการของตลาดได้อย่างเหมาะสม การใช้กลไก Open Innovation ช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด

กลไกการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมของ NIA ในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น เอื้ออำนวยให้ผู้รับทุนมีความสามารถและศักยภาพพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมเป็นหลัก (ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการสนับสนุนร้อยละ 95 ของจำนวนโครงการทั้งหมด) โดยมีผู้รับทุนสนับสนุนในด้านการขยายผลนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่งผลให้ผู้รับทุนส่วนหนึ่งมักประสบปัญหาที่ไม่สามารถขยายผลโครงการระดับเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กอปรกับการที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นผู้บริหารและจัดสรรกองทุน ววน. ได้มองเห็นศักยภาพและความสามารถของ NIA ในการทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมอบหมายให้ NIA สนับสนุนการทำงานในด้านการผลักดันนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชยฺ์ที่จะนำมาซึ่งรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม NIA จึงพัฒนากลไกการสนับสนุนของสำนักงานฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 ในรูปแบบใหม่เพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพและความสามารถในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สำหรับกลไกการส่งเสริมและสนับสนุนนี้ จะเป็นแหล่งเงินทุนให้กับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในการพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ขยายตลาดใหม่ และเติบโตอย่างก้าวกระโดด อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ และจะเป็นแหล่งเงินทุนให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของชุมชุน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

กลไกการสนับสนุนทางการเงินทั้งสิ้น 7 กลไก ประกอบไปด้วย

1) กลไกการขยายผลนวัตกรรมในระดับภูมิภาคสู่ตลาด (Regional Market Validation) ทุนอุดหนุนสมทบไม่เกินร้อยละ 75ของมูลค่าโครงการ หรือไม่เกิน 1,500,000บาทต่อโครงการ สำหรับการทดสอบตลาด การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม ให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์และฐานลูกค้าใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

2) กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) ทุนอุดหนุนสมทบไม่เกินร้อยละ 75ของมูลค่าโครงการ หรือไม่เกิน 5,000,000บาทต่อโครงการ สำหรับทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ตลาดเป้าหมายมากขึ้น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการลงทุน

3) กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (Managing Innovation Development: MIND) ทุนอุดหนุนสมทบไม่เกินร้อยละ 50ของมูลค่าโครงการ หรือไม่เกิน 1,000,000บาทต่อโครงการ สำหรับจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา การบัญชี การเงินและการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ

4) กลไกการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (Standard Testing) ทุนอุดหนุนสมทบไม่เกินร้อยละ 50ของมูลค่าโครงการ หรือไม่เกิน 1,500,000บาทต่อโครงการ สำหรับจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร การวิเคราะห์ทดสอบ การทวนสอบและประเมินผล เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือขอรับรองมาตรฐานที่สำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจ

5) กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion) เพื่อทดสอบนวัตกรรมในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 100ของมูลค่าโครงการ ในหน่วยงานภาครัฐ และสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 50ของมูลค่าโครงการ ในหน่วยงานเอกชน หรือไม่เกิน 2,000,000บาท ต่อโครงการ ระยะเวลาไม่เกิน 1ปี

สำหรับขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายพร้อมกับการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการดำเนินธุรกิจ

6) กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Working Capital Interest) ทุนอุดหนุนสมทบไม่เกินร้อยละ 75ของมูลค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมด หรือไม่เกิน 1,500,000บาทต่อโครงการ ระยะเวลาไม่เกิน 1ปี สำหรับเพิ่มสภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรม

7) กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate CO – Funding) การสนับสนุนในรูปแบบทุนอุดหนุนสมทบกำหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ สัดส่วนร้อยละ 50ของมูลค่าการลงทุน หรือไม่เกิน 10,000,000บาทต่อโครงการ ร่วมกับแหล่งทุนภาครัฐและเอกชนที่ได้รับการรับรอง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5ปี สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเพิ่มกำลังการผลิต การขยายทีม และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

 

ในปีงบประมาณ 2567 จะนำร่องทดลองนำกลไกการส่งเสริมและสนับสนุนใหม่นี้ไปใช้ในการดำเนินงานของฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจก่อน และในปีงบประมาณต่อไปจะนำมาใช้เป็นกลไกการให้ทุนเพื่อดำเนินงานตามโปรแกรมการให้ทุนของ NIA ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

 

นวัตกรรมเพื่อเศรฐกิจ

คือ การสร้างนวัตกรรมเพื่อเศรฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของประเทศ นวัตกรรมช่วยเพิ่มความสามารถในการเพิ่มผลผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ สร้างงานที่มีคุณค่าเพิ่ม และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุน นอกจากนี้ การสร้างนวัตกรรมยังช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของเศรฐกิจในการแข่งขันในตลาดโลก

 

นวัตกรรมเพื่อสังคม

การนวัตกรรมเพื่อสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้สังคมมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นวัตกรรมในสังคมสามารถช่วยให้เราแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น พัฒนานโยบายสังคม และสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว การนวัตกรรมเพื่อสังคมยังสามารถช่วยเพิ่มความเท่าเทียม สร้างโอกาสให้กับกลุ่มที่มีความยากจน และสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเชื่อมโยงกันอย่างดีขึ้น

 

โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน

โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่นั้นได้ การนวัตกรรมในเชิงนี้สามารถช่วยให้เมืองและชุมชนมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของชุมชน นอกจากนี้ โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนยังสามารถสร้างโอกาสให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมที่สร้างความเสมอภาคและส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ เช่น

  1. โครงการฮาลาล ณ บางกอก: การพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเชิงวัฒนธรรมและอาหารฮาลาลใน
  2. กรุงเทพมหานคร ตามรอยพรีเมียมแฮมหมูดำดอยตุง
  3. Better Ocean: ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่งจากเศษแหอวนสู่ความยั่งยืน
  4. TransCare: แพลตฟอร์มสนับสนุนกระบวนการข้ามเพศอย่างปลอดภัย
  5. ส่งเสริมสุขภาวะอนามัยด้านเพศของคนพิการทางการมองเห็นด้วยแอปพลิเคชัน Blind Help

***สำหรับข้อเสนอโครงการที่ได้รับการสนับสนุน สนช. จะดำเนินการประสานงานเพื่อลงนามสัญญาต่อไป

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมรายสาขา

  1. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการจัดการของเสียทั้งจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการนำนวัตกรรมเข้าไปช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล
  2. ด้านความเชื่อมโยงระหว่าง อาหาร น้ำ และพลังงาน เป็นการให้ความสำคัญในการส่งเสริมความเชื่อมโยงการผลิตพลังงานจากวัตถุดิบพลังงานทดแทนที่มีอยู่ภายในประเทศให้ได้เต็มตามศักยภาพ การพัฒนาศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม และการพัฒนาพลังงานทดแทนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและน้ำ หรือการผลิตอาหารที่มีการอนุรักษ์น้ำและพลังงาน ตลอดจนการจัดการน้ำที่ส่งเสริมการผลิตอาหารหรือพลังงาน
  3. ด้านการศึกษา เป็นการนำนวัตกรรมเข้าไปปรับปรุงการศึกษา ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
  4. ด้านการเงิน การจ้างงาน และสวัสดิการสังคม เป็นการสร้างรูปแบบนวัตกรรมการจัดการที่ส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงิน และสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง หรือการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เช่น การจ้างงานในชุมชน การจ้างงานสำหรับผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาส การจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น
  5. ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการสร้างมูลค่าให้กับวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ โดยมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรรายย่อยภายในประเทศมาผสมผสานกับองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สามารถตอบสนองการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์อินทรีย์ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนให้กับระบบการเกษตรของประเทศ
  6. ด้านภาครัฐและความเป็นเมือง เป็นการนำนวัตกรรมเข้าไปปรับปรุงกระบวนการในการเข้าถึงการบริการภาครัฐ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้เกิดความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลควบคู่ไปด้วยกัน รวมถึง การส่งเสริมการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง ที่มีบริบทเกี่ยวข้องต่อสภาพความเป็นอยู่ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง เช่น ปัญหาด้านการขนส่งมวลชน ปัญหามลพิษ ปัญหายาเสพติด ปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นต้น
  7. ด้านสุขภาพ เป็นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในระยะยาว การพัฒนากระบวนการเข้าถึงการรักษาของชุมชนในพื้นที่ห่างไกล การลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ทดแทนการนำเข้า ราคาถูก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  8. ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เป็นการนำผลผลิตสร้างสรรค์จากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ กระบวนการผลิต การบริหารจัดการในองค์กร การเปิดตลาดใหม่และการสื่อสารทางการตลาด ซึ่งเป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการมีส่วนร่วมจากชุมชน
  9. ด้านการจัดการภัยพิบัติ เป็นการแก้ปัญหา และป้องกันภัยภิบัติต่าง ๆ เช่น ปัญหาน้ำท่วมหรือการขาดแคลนน้ำ ปัญหาไฟป่า ปัญหาภัยพิบัติจากทะเลและชายฝั่ง ปัญหาแผ่นดินไหว เป็นต้น โดยการนำนวัตกรรมการจัดการ กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์เข้ามามีส่วนร่วม

 

คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ

  1. นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย (บริษัท หจก. มูลนิธิ สมาคม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์) ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่ร้อยละ 51ของนิติบุคคลนั้น ถือโดยบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
  2. ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น (เว้นแต่ทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ซ้ำซ้อนจากที่ขอรับการสนับสนุน)
  3. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง หรือผู้ต้องโทษในคดีอาญา
  4. ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนในนามของนักวิจัยโดยตรงได้

เกณฑ์การพิจารณา

 สำหรับโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม จะทำการพิจารณาโครงการที่ยื่นเข้ามาขอรับทุนสนับสนุนพัฒนานวัตกรรมตามหลักเกณฑ์ใน 3 ด้านหลัก คือ

  • ความเป็นนวัตกรรม
  • ผลกระทบทางสังคม
  • ความยั่งยืนของโครงการ

รูปแบบการสนับสนุน

  • ผู้ผ่านเกณฑ์การสนับสนุนจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อดำเนินโครงการมูลค่าไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการที่สำนักงานฯ
  • การจ่ายเงินเพื่อให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการ จะเป็นลักษณะการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (reimbursement) ซึ่งผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องออกค่าใช้จ่ายในโครงการแต่ละงวดไปก่อน ตามแผนงาน แล้ว สนช. จะทำการเบิกจ่ายให้เป็นรายงวด
  • กรณีผู้ขอรับทุนเป็นภาคเอกชน จะต้องแสดงค่าใช้จ่าย (In-Cash) ที่เกิดขึ้นหลังจากลงนามสัญญาส่วนของผู้ขอรับทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าโครงการ
  • สนช. ไม่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax, VAT)

เขียนโดย : น.ส.จุฑาทิพ  รุณสุข สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : juthathip.r@mhesi.go.th

ช่วยสร้างนวัตกรรมกระบวนการ ให้ กปว. หน่อยครับ

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ