สรุปใจความสำคัญจาก การประชุมชี้แจงแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัย กรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้”  195

คำสำคัญ : SEincubation  กปวxบพท  scipark  

สรุปใจความสำคัญจาก

การประชุมชี้แจงแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัย

กรอบการวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้”

แผนงานย่อยรายประเด็น “เพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ให้พึ่งพาตนเองได้และ

มีการกระจายรายได้สู่ชุมชน/ท้องถิ่นมากขึ้น”

ประจําปีงบประมาณ 2567

วัน ศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์2567 เวลา 09.30 น. - 12.00 น.

ผ่านระบบ Zoom Meeting และห้องประชุม ณ สป.อว. (โยธี)

 

 

ความร่วมมือของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) กับอุทยานวิทยาศาสตร์นั้นเป็นไปได้ แม้ว่าเราจะไม่สามารถบังคับเอกชนได้ให้เข้าอุทยานวิทยาศาสตร์ แต่เราสามารถใช้ incentives เพื่อดึงดูดความสนใจของธุรกิจเหล่านี้ได้ โดยมุ่งเน้นที่การช่วยเสริมสร้างการรับรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมในอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยที่เราต้องชี้แจงเจตนารมณ์ให้เขาเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้กลไกอื่น ๆ เช่น UBI เพื่อช่วยสร้างมายเซตในการบ่มเพาะแนวคิดและเปลี่ยน mindset ของผู้ที่สนใจเข้าร่วม SE โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาการฝึกอบรมและการพัฒนาธุรกิจในช่วงปีที่ 3-4 ก่อนที่จะเข้าสู่สถานะผู้ประกอบการสังคม (SE) มีกลไกอื่นๆ เช่น UBI ด้วย ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการบ่มเพาะแนวคิด ซึ่งต้องเริ่มบ่มเพาะตั้งแต่ mindset เสนอว่าก่อนจะเป็น SE ต้องมีพื้นฐานทางด้านธุรกิจก่อน ค้าขายเป็นก่อน แล้วเราก็ต้องนำเสนอผู้ประกอบการเหล่านั้นว่าเขาจะได้อะไรจากการเป็น ผู้ประกอบการสังคม

(note: SE มี 2 รูปแบบ แบบ 100 เปอร์เซนต์ และ 70:30)

 

สามารถสรุปแนวทางการผลักดันผู้ประกอบการสังคมได้เป็น 2 รูปแบบดังนี้:

1) ผลักดัน LE (Local Enterprise) ให้เป็น AC (Accelerator): ส่งเสริมการขยายผลและนำเสนอแนวคิดให้กับธุรกิจในระดับพื้นที่เพื่อใช้ในการขยายผลแนวกว้าง

2) ใช้กลไก Sciencepark ภูมิภาค: ใช้เป็นแพลตฟอร์มในการทดลองเพื่อขยายแพลตฟอร์มธุรกิจชุมชน

 

ในกปว.มีเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ซึ่งมีแพลตฟอร์มและเครือข่ายเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชนและเปลี่ยนแปลงให้เป็นธุรกิจสังคม (SE) ซึ่งการพัฒนาทีมงานและอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจชุมชนในระยะยาว โดยมีแนวทางสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้:

 

1. **การพัฒนาเครื่องมือเชิงธุรกิจ**: ใช้ Business Model Canvas (BMC) เป็นเครื่องมือในการวางแผนธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจและนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตน

 

2. **การทดลองใช้ BMC**: ในปีที่สอง ให้มุ่งเน้นการปรับปรุงและเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำธุรกิจ

 

3. **การขับเคลื่อนโครงการและการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง**: และในปีที่สาม ให้ขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อสร้างบริษัทและจดทะเบียนเป็นธุรกิจสังคมการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น Science park ในระดับมหาวิทยาลัย (รวมถึงอุทยานฯ ที่เคยร่วมงานกันมาก่อน เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อุบลราชธานี และ ม.พะเยา) เพื่อสามารถเสริมสร้างทรัพยากรและโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืนมากขึ้น

 

สำหรับ LE ถ้าเป็นธุรกิจแบบ mass production จะมี value chain ต่ำ เนื่องจากสัดส่วนรายได้อยู่กับตัวกลางเยอะ แต่ถ้าเป็นธุรกิจแบบ content -> value chain จะตกที่ชาวบ้าน

 

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการใน Super App จะต้องเอาจริงเอาจัง ถ้าเข้ามาแล้วสักพักท้อแล้วลาแบบไม่มีเหตุผลเราจะให้เขาออกจากโครงการไปเลยแล้ววัดผลเอากับผู้ที่เอาจริงเอาจัง

 

ควรแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นสองกลุ่ม

  1. นักเรียน นักศึกษา

เน้นการพัฒนาทักษะและความเข้าใจในด้านธุรกิจและการจัดการเพื่อให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ดี สามารถมองภาพของธุรกิจได้ ซึ่งเราต้องดีไซน์ให้เหมาะกับเขา โดยอาจจะเริ่มในหลักสูตรตั้งแต่ ปี 2 เลย แต่ปลายทางของการศึกษาอาจจะหยุดอยุ่แค่การสร้าง mindset ในการเป็นผปก.SE ที่ดี

2.ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจ

ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังเพื่อช่วยเริ่มต้นหรือพัฒนาธุรกิจ และดำเนินการระยะยาว

 

โดยการแบ่งกลุ่มเป้าหมายอย่างนี้จะช่วยให้การพัฒนาผู้ประกอบการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับความต้องการและลักษณะของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม

 

ทาง อว. ควรจัดการหารือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และ University Science Park เพื่อตรวจสอบค้นหาโครงการที่กำลังสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยมีความคาดหวังจากโครงการนี้ให้เกิด SE ที่ยกระดับ Value chain ระดับ 100 ล้านขึ้นไป

 

แหล่งข้อมูลที่สามารถศึกษาเบื้องต้นนั้นได้แก่ งานวิจัยของ สอวช และข้อมูลหลักสูตรอบรมนักศึกษาของทางตลาดหลักทรัพย์

 

ปัญหาและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น SE คือ

1.ผู้ประกอบการไม่ได้แยกบัญชีระหว่างบัญชีส่วนตัวกับบัญชีธุรกิจ ซึ่ง ได้จัดทำ เกื้อกูล super app มาเป็นผู้ช่วยตรงนี้ โดยจะช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นสถานะของตัวเอง ให้บันทึกรายวันว่าสถานะตัวเองเป็นอย่างไร และช่วยวางแผนธุรกิจรายเดือนได้

2. การสร้างแรงจูงใจ (incentive) ของภาครัฐในการทำให้เอกชนสนใจที่จะเข้ามาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นมีไม่เพียงพอ ภาครัฐมีการดำเนินการเพื่อสร้างแรงจูงใจแต่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ทำให้เอกชนมองไม่เห็นความคุ้มค่าหรือประโยชน์ที่มีค่ามากพอที่จะอุทิศตัวเข้าร่วม การแก้ไขอาจจะต้องเริ่มจากนโยบายที่ใหญ่เช่น นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (BOI) แล้วสร้างผลประโยชน์ให้แก่เอกชนที่ลงทุนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

3. ในด้านเครือข่าย โดยเฉพาะเครือข่ายต่างประเทศ ต่างประเทศมีเครือข่าย SE ที่เข้มแข็ง อาจต้องพยายามจับคู่ SE ของเมืองไทยกับSE ต่างประเทศที่มีโมเดลธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน แล้วสร้างเครือข่ายในระดับโลก วางแผนให้ SE ไทยเข้าไปเข้าร่วมใน SE Cluster ของอังกฤษได้อย่างไร รวมถึงการใช้งานอีเวนท์ระดับประเทศ เช่น จะใช้ อว.แฟร์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเครือข่าย หรือสนับสนุน SE ได้อย่างไร

เอกสารประกอบการประชุมเพิ่มเติม: https://t.ly/2CZpz

"เทรนด์ SE มาแต่ Mechanism ของเมืองไทยไม่ทำให้เกิด"


เขียนโดย : น.ส.จุฑาทิพ  รุณสุข สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : juthathip.r@mhesi.go.th

น่าสนใจมากครับ ทำให้อยากรู้เรื่อง SE มากขึ้น ว่า SE มีกี่ Sector ครับ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ sector ไหน ท่องเที่ยวหรือป่าว แล้ว sector ไหน ที่เราควรสนับสนุน

เขียนโดย นายสมบัติ  สมศักดิ์

ประกาศรายชื่อกิจการที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม - SE Thailand
 

อันนี้เป็นข้อมูลที่พอจะค้นหาได้นะคะ (และเป็นกลุ่มข้อมูลที่หนูใช้ในการวิจัยด้วย) ไม่แน่ใจว่าข้อมูลล่าสุดกว่านี้เราจะสามารถหาได้ที่ไหน เดี๋ยวถ้าค้นเจอจะมาอัพเดทฮะะะ

เขียนโดย น.ส.จุฑาทิพ  รุณสุข

มี keyword  หลายตัว ทั้ง  LE SE LIP ซึ่งทั้งหมดมุ่งไปสู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบใหม่ๆ ในโลกยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเยอะ ทั้งนี้หากนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง SEP มาเป็นฐานในการคิดวิเคราะห์ ก็จะเห็นคามเหมือนกัน

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ