11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล  28

คำสำคัญ : #ยุคดิจิทัล    

11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล

  1. AI หรือ Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์
    ความสามารถของคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประมวลการทำงาน โดยที่ใช้สมองและการทำงานของมนุษย์ในการแปลและเชี่อมโยงการทำงานต่าง ๆ เช่น การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อแนะนำสินค้าที่ลูกค้าแต่ละคนน่าจะสนใจและซื้อในอนาคต การทำตัวเป็นผู้ช่วยเสมือนในสมาร์ทโฟน การตรวจหา
    สแปมหรือการตรวจจับการฉ้อโกงบัตรเครดิต การใช้งาน AI นั้นขึ้นอยู่กับการที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากเพื่อให้กลไกได้เรียนรู้ หรือ Machine Learning (ML)
  2. IoT หรือ Internet of Thing
    อุปกรณ์ทางกายภาพต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต และเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นมากมายกับสิ่งของในบ้าน หรือโรงงาน เช่น โทรทัศน์ เครื่องดูดฝุ่น ของใช้เครื่องไฟฟ้าทุกชนิดที่สามารถเชื่อมต่อได้กับแอพพลิเคชั่นผ่านมือถือ หรืออุปกรณ์ที่สวมใส่ได้เช่นนาฬิกา ทำให้ทุกอย่างทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ การดูแลสุขภาพ ด้วยการเชื่อมต่อการเดิน วิ่ง และอื่น ๆ ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมโดยที่สามารถรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลได้
  3. Big data
    ชุดข้อมูลที่มีขนาดหรือประเภทเกินกว่าความสามารถของโครงสร้างฐานข้อมูลแบบเดิม เพื่อดักจับข้อมูล จัดการ และประมวลผล คอมพิวเตอร์จึงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เดิมไม่สามารถเข้าถึงได้หรือใช้งานไม่ได้
  4. Blockchain
    เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายบนบล็อกเชน ถูกนำไปใช้กับการซื้อขาย cryptocurrencies ทำให้ง่ายต่อการทำธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าทั่วโลก เพื่อลดค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดความโปร่งใสและความปลอดภัยด้านการเงิน ลดความซับซ้อนของกระบวนการที่นานในการรับเลตเตอร์ออฟเครดิต (LoC) ซึ่งเป็นกลไกการชำระเงินที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ
  5. 5G
    เครือข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนมือถือรุ่นใหม่ ๆ โดยให้ความเร็วในการดาวน์โหลดประมาณ 1-10 Gbps (4G อยู่ที่ประมาณ 100 Mbps) การเชื่อมต่อทำได้เร็วมากขึ้นทั้งภาพและเสียงบนสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ
  6. 3D printing
    การผลิตรูปแบบหรือโมเดลต่าง ๆ แบบ 3 มิติ โดยทำได้จากไฟล์ดิจิทัล การพิมพ์แบบ 3 มิติสามารถสร้างวัตถุที่ซับซ้อนโดยใช้วัสดุน้อยกว่าการผลิตแบบดั้งเดิม และสามารถทำได้เอง เช่นการทำ mockup ของสินค้าและอะไหล่ต่าง ๆ ได้เอง
  7. Robots
    หุ่นยนต์ที่เป็นเครื่องจักรที่ตั้งโปรแกรมได้ ดำเนินการและโต้ตอบได้ผ่านเซ็นเซอร์ และตอบสนองได้ มีทั้งแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอิสระ อาจเป็นในรูปหุ่นยนต์: เช่นหุ่นยนต์ตอบสนองภัยพิบัติ หุ่นยนต์สำหรับผู้บริโภค หุ่นยนต์ทางอุตสาหกรรมใช้ในการผลิต หุ่นยนต์ทางการทหาร/ความปลอดภัย และยานยนต์อัตโนมัติ
  8. Drone โดรน
    หรือที่เรียกว่าอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle-UAV) หรือระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft Vehicle-UAS) เป็นหุ่นยนต์บินได้ซึ่งสามารถควบคุมจากระยะไกล หรือบินได้ด้วยตนเองโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่มีเซ็นเซอร์และ GPS โดรนมักถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารในอดีต ปัจจุบันมีการใช้งานทั่วไปอย่างแพร่หลาย เช่น การถ่ายวิดีโอในที่สูง บริการจัดส่ง การตรวจสินค้าในคลังสินค้า โครงการ FarmBeats ของ Microsoft ยังใช้ UAV น้ำหนักเบาเพื่อตรวจสอบสภาพต่างๆ เช่น ความชื้นและอุณหภูมิของดิน สถานที่เกิดการระบาดของศัตรูพืช และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อผลผลิตพืชผลการเกษตร
  9. Gene editing
    การแก้ไขยีนเป็นเครื่องมือทางพันธุวิศวกรรมเพื่อแทรก ลบ หรือแก้ไขยีนในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มนุษยชาติสามารถรู้ถึงความเจ็บป่วยของตนเอง และป้องกันในเบื้องต้นได้ รวมทั้งตัดต่อพันธุกรรมสัตว์ หรือ พืช รวมทั้งยาปฏิชีวนะชนิดใหม่
  10. Nanotechnology
    เป็นสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุที่ทำให้ของมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร นาโนเทคโนโลยีใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา โพลีเมอร์เชิงพาณิชย์ และสารเคลือบป้องกัน และแน่นอนทำให้ชิปคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กมากและเบา
  11. Solar photovoltaic (Solar PV)
    เทคโนโลยีเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้เซมิคอนดักเตอร์ภายในเซลล์ PV นอกเหนือจากการเป็นเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนแล้ว Solar PV ยังสามารถใช้ในระบบพลังงานนอกระบบ ซึ่งอาจลดต้นทุนค่าไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีดังที่กล่าวเบื้องต้นยังไปได้ช้าในประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศไทย รวมทั้งประเทศที่ด้อยพัฒนา ความรู้และความเข้าใจในศาสตร์เทคโนโลยีเหล่านี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจ

Source: Technology and Innovation Report 2021, UNCTAD

 


เขียนโดย : นายเมธี  ลิมนิยกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : mathee@most.go.th