นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงวิสัยทัศน์ประเทศไทย “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยเป็นหนึ่ง”  34

คำสำคัญ : #ประเทศไทย    #IGNITE    

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงวิสัยทัศน์ประเทศไทย “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยเป็นหนึ่ง”

1.ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub)

โดยประเทศไทยมีองค์ประกอบที่จะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวซึ่งจุดแข็งของประเทศไทย ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นจุดขาย โดยมีมาตรการช่วยยกระดับการท่องเที่ยว เรื่องการเฟ้นหา SOFT POWER เป็นเรื่องสำคัญ นโยบายหลักของรัฐบาล ทุกท่านที่นี้เห็นด้วย ร่วมมือกันผลักดัน เช่น มวยไทย ผลักกันได้ง่ายมาก เพราะเป็นการทับศัพท์ คำว่า “ไทย” อยู่ ในอังกฤษมีค่ายมวย 6,000 ค่าย อย่างน้อย ๆ 4,000 ค่าย ครูมวยไทยมีโอกาสออกไปสร้างอาชีพเอาเงินกลับมาสร้างประเทศได้ ถ้าเราสนับสนุนเรื่องนี้ กางเกงมวยไทยใส่ โดยแฟชั่นดีไซน์เนอร์ระดับโลก ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา จะเป็น souvenir ให้นักท่องเที่ยว บินเข้ามาไม่ใช่มาแค่ดูวัดพระแก้ว วัฒนธรรม ดูมวยไทย เรียนมวยไทย แถมซื้อ souvenir กลับไป ไม่ว่าจะเป็นกางเกง มงคล ที่รัดแขน เป็นเงินทั้งนั้น เป็นเงินที่คนไทยควรได้รับ และควรได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากรัฐบาล

2.ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ

การเข้าสู่ระบบสาธารณสุขของคนไทยทุกคน 30 บาทรักษาทุกโรค ทำมา 20 ปีแล้ว ทำให้คนไทยมีศักดิ์ศรี สามารถอยู่ได้ สุขภาพแข็งแรง รัฐบาลจะผลักดัน 30 บาท นำร่องไปแล้ว 30 บาทรักษาทุกที่ จะขยายไป 14 จังหวัด สิ้นปีจะสามารถใช้ได้ทุกจังหวัด ไม่ต้องคอยนาน ยกระดับ AI เชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ท่านไม่รู้จักหมอ แต่หมอจะรู้จักท่าน จะมีประวัติรักษาการของท่านมายาวเหยียด ทำให้การรักษาแม่นยำขึ้น มีข้อมูลแน่นขึ้น สุขภาพประชาชนคนไทยทุกคนดีขึ้น ชาวต่างชาติเค้าเห็นว่า ประเทศเราดูแลเรื่องความเหลื่อมล้ำ ดูแลทุกระดับ ประชาชนคนไทยทุกคนต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม สมศักดิ์ศรีของคนไทย รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องนี้ รัฐมนตรีทุกท่านเข้าใจเรื่องนี้และร่วมกันผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม

3.ศูนย์กลางอาหาร

ประเทศไทยเป็นประเทศที่เกษตรกรรมนำ เรามีประชากรหลายสิบล้านคนที่พึ่งอยู่ตรงนี้ (เกษตรกร) มีรายได้ต่ำ มีส่วนในการสร้าง GDP ของประเทศ แค่ 8% เรามีวัตถุดิบที่ดี เรามีอาหารที่โดดเด่น ล่าสุดก็มีขนมครก แกงมัสมั่น ส้มตำ เราไม่ได้เพียงแค่ผลิตอาหาร non material อย่างเดียว เรื่องของเรายอมรับจากทั่วโลก ไม่ว่าจะสถาบัน MICHELIN ซึ่งเราได้ Michelin star จำนวนมาก (มีร้านอาหารที่ได้รับตรามิชลินกว่า 196 ร้าน และมีร้านที่ได้รับดาวมิชลินกว่า 35 ร้าน) ซึ่งในการเดินทางไปยุโรปในเดือนนี้ จะไปคุยกับ Michelin ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับอาหาร เพื่อให้ทราบว่าร้านอาหารดี ๆ ในประเทศไทยไม่ได้มีแค่เชียงใหม่ ภูเก็ต กรุงเทพฯ หรือ สมุย โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะลงไปสัปดาห์หน้า ไปดูว่าอาหารการกินเหล่านั้นมีอะไรดีบ้าง นำไปเสนอให้พิจารณารับรอง โดยนำเสนอร้านอาหารในจังหวัดเล็กด้วย ซึ่งล้อไปกับนโยบายยกระดับเมืองรอง ยกระดับการท่องเที่ยวของทุก ๆ จังหวัดเข้ามาด้วยกัน  เป็นการสร้างความหวัง เป็นการสร้างโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจะไม่พูดถึงปัญหา เราจะไม่พูดถึงความขัดแย้ง แต่เราจะพูดถึงโอกาสที่รัฐบาลนี้เอามาให้กับประชาชนที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านนโยบายต่าง ๆ ไม่ว่าจะผ่านนโยบายเรื่องอาหาร นโยบายเรื่อง Invention Hub เหล่านี้จะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ขอเติมอีกคำหนึ่งคือ มีตังในกระเป๋าด้วย”

เรื่องของการบริหารจัดการเรื่องน้ำ ดิน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าประเทศไทยไม่ท่วม ไม่แล้ง เราจะไปได้ไกลขนาดไหน ไม่ท่วมพืชผลดี ไม่แล้งพืชผลดี รัฐบาลไม่ต้องให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน (subsidize) มีงบประมาณไปพัฒนาต่าง ๆ การลงทุนเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน พื้นที่ชลประทานจะเพิ่มเป็น 40 ล้านไร่ ฝ่ายความมั่นคงจะช่วยเหลือราษฎร ด้วยขุดลอกคูคลอง เป็นการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ

ราคายางปัจจุบันนี้ขึ้นมาสูงมาก กลายเป็น 70 กว่าบาทต่อกิโลกรัมแล้ว ยางในประเทศไทยมีกว่า 25 ล้านไร่ ประมาณ 5 ล้านไร่ “ตายนึ่ง” คือ ต้นยางที่กรีดแล้วไม่มีน้ำยางออกมา แก้ได้ด้วยการปรับดินที่เป็นกรดให้เป็นด่าง ปีเดียวก็กลับมากรีดยางได้ การเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยการทำเกษตรแม่นยำ ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ราคายางเพิ่มขึ้น เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น รวมทั้ง ปกป้องไม่ให้สินค้าเถื่อนเข้ามาตามชายแดน ที่จะมาบิดเบือนราคาตลาดของสินค้า ควบคู่ไปกับการทำลายวัชพืช เรื่อง PM 2.5 

วัว ถือถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างหนึ่ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน เดินทางไปที่ซาอุดิอาระเบีย บริษัทเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง และคุยกับรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ถึงการพัฒนาศักยภาพของโรงเชือดวัวในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดชุมพร กำลังการเชือดอยู่ที่ 200 ตัว/วัน เทียบกับอเมริกาใต้ มีความสามารถในการเชือดวัว 45,000 ตัวต่อวัน โดยจะเพิ่มศักยภาพโรงเชือดที่ชุมพร ให้เชือดได้มากขึ้น 

เราจะดึงศักยภาพภาคเกษตรกรรมไทยขึ้นมา เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีรายได้ในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี รูปแบบการผลิตอาหารจำนวนมาก เช่น การเลี้ยงปลานิลน้ำไหล ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

อาหารฮาลาลเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับมาเลเซีย และบรูไน แต่การที่เราจะร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ ที่อยากมาตั้งโรงงานอาหารที่ประเทศไทย เพราะว่าเรามีความพร้อม และความมั่นคงทางอาหารมากกว่า โดยมาเลเซียและบูรไนจะเป็นจุดแข็งที่จะส่งออกอาหารฮาลาลไปได้ในต่างประเทศ รวมทั้งเปิดตลาดใหม่ในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ที่มีการเติบโตของประชากรสูง 

โปรตีนจากพืชก็สำคัญ ถั่วเหลือง ปีหนึ่งผลิตได้ไม่กี่หมื่นตัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่มีเป็นล้านตัน ซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขเรื่องนี้ ทั้งกระบวนการผลิต ส่วนเห็ดแครง มีโปรตีนสูง เป็นสารตั้งต้นในการทำโปรตีน/เนื้อสัตว์จากพืช ปลูกได้ระหว่างต้นยาง เสริมรายได้ให้กับชาวสวนยาง 

4. ศูนย์กลางการบิน 

รัฐบาลมีแผนจะพัฒนาสนามบินให้รองรับการ Transit ของสายการบิน และเตรียมปรับเปลี่ยนเส้นทาง ตารางบินให้เหมาะสม เพื่อเพิ่ม Transit Capacity ให้สูงขึ้น  เนื่องจากประเทศไทยมีระยะทางไปยังศูนย์กลางทางเศรษฐกิจได้ทั่วโลกใกล้กว่าประเทศเพื่อนบ้าน มีสนามบิน ทั้งเมืองหลัก เมืองรอง ที่พร้อมเป็น Home-base และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเรื่องรันเวย์ อาคารผู้โดยการ คลังสินค้า สร้างระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) เพิ่มทรัพยากรบุคคล การตรวจความปลอดภัย เสริมคุณภาพการบริการทุกระดับ เพื่อเตรียมพร้อมจะเป็น Homeland ของสายการบินทั้งไทยและสายการบินนานาชาติ เพียบพร้อมไปด้วยศูนย์ดูแลรักษา ซ่อมบำรุง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค  จะทำให้ภาคบริการ ภาคการขนส่ง โรงแรม การท่องเที่ยว อาหาร สินค้าเกษตร เติบโตไปยังตลาดโลก

5. ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค 

รัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพระบบคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ โดยรัฐบาลมีแผนจะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญจากเมืองใหญ่สู่เมืองเล็ก ตั้งแต่การปรับปรุงสนามบินทั้งระบบ ขยายถนนทั้งถนนหลัก ถนนรอง ภายในปี 2593 

6. ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต

รัฐบาลตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต มีเป้าหมายจะได้แผนการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ได้หารือพูดคุยกับบริษัทยานยนต์ไปมากกว่า 10 ราย และมีการตอบรับจะลงทุนในประเทศไทยแล้วมากกว่า 150,000 ล้านบาท 

เนื่องจากเศรษฐกิจของเราเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่เลือกไทยเป็นบ้านหลังที่ 2 ในวันนี้ที่อุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รถ EV ประเทศไทยเราก็มีผลตอบรับที่ดี เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมในทุก Supply Chain  มีผู้ผลิตชิ้นส่วน วิศวกร และ Programmer ที่มีศักยภาพ  รัฐบาลจึงมีแผนจะส่งเสริมอุตสาหกรรมรถ EV ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การค้นคว้าวิจัย การผลิตชิ้นส่วน ยางรถยนต์ แบตเตอร์รี่ อะไหล่ การประกอบ การบำรุงรักษา ทำให้เกิดเป็น Ecosystem ที่สมบูรณ์ในประเทศ  พร้อมทั้งจะให้การสนับสนุนค่ายรถจากญี่ปุ่น ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจไทย ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยายนต์แห่งอนาคตได้  นอกจากนี้ รัฐบาลได้เตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างเช่น เครื่องยนต์ Hydrogen เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต  

7. ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล

รัฐบาลตั้งเป้าดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต Digital for all Technology Innovation AI ให้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing, การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย รวมถึงดึงบริษัท Deep Tech ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยเช่นกันผ่านโมเดล Sandbox  ซึ่งรัฐบาลจะมีเงินสนับสนุนบริษัทที่ต้องการผ่านกองทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และจะทำ Matching Fund เติมทุนให้กับบริษัทที่มีศักยภาพด้วย  และในขณะเดียวก็เตรียมปรับกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการตั้งบริษัท การทำงาน การรับ - จ่ายเงินเดือน การถือครองทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อดึงคนที่มีความสามารถเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย  

นอกจากนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้บริษัทสามารถประกอบธุรกิจข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้จุดแข็งทางด้านการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้คนรุ่นใหม่ที่อยากจะร่วมงานกับบริษัทชั้นนำในระดับโลก ไม่ต้องย้ายไปอยู่ในต่างประเทศ และจะเป็นโอกาสให้คนไทยที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ Start Up สามารถสร้าง Unicorn ของตนเองต่อไป

8. ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub)

รัฐบาลตั้งเป้าจะเปลี่ยนให้ไทยเป็น Financial Center of Southeast Asia ขับเคลื่อนโดยระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ดึงสถาบันการเงินระดับโลกเข้ามาลงทุน สร้างย่านการเงิน Wall Street ของอาเซียนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และพัฒนา Infrastructure รองรับระบบการเงินแห่งอนาคตขับเคลื่อนด้วย Blockchain ที่ไร้ตัวกลาง และเตรียมปลดล็อก Digital Asset ต่าง ๆ ให้สามารถแปลงเป็นผลผลิตในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงเชื่อมต่อระหว่างสินทรัพย์ในโลกปัจจุบันให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย  นอกจากนี้ รัฐบาลจะเริ่มพัฒนาระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน Carbon Credit Trading ซึ่งในอนาคตจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจำเป็นต้องมีหน่วยงาน กฎระเบียบ รองรับการก้าวไปสู่ยุคการเงินสมัยใหม่เช่นกัน

นายกรัฐมนตรี ระบุว่า พื้นฐานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Foundation to Success) นั้น มีเป้าหมายอย่างเดียวคงไม่พอ การเป็นศูนย์กลางต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนทุกคน เป้าหมายความเจริญทางเศรษฐกิจ จะต้องมาพร้อมกับการพัฒนาทางสังคมด้วยกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของภาครัฐ (Transparency) โครงสร้างพื้นที่ฐานที่จับต้องได้ และทางสังคมจะต้องมีการปรับปรุงด้วย  และรัฐบาลจะอัปเกรดระบบงานของรัฐทั้งหมดขึ้นระบบ Cloud เพื่อให้บริการประชาชนได้เร็วยิ่งขึ้น และจะทำระบบ Application SDK มาตรฐานของรัฐ เปิดให้ทั้งภาคประชาชน และเอกชนเข้าใช้งานได้  Digital Wallet เองก็จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของรัฐนี้ ซึ่งอาจจะได้เห็น Start Up ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากการใช้บริการจากภาครัฐ  

รัฐบาลจะให้ความสำคัญในเรื่องของความเท่าเทียมกัน (Equality) ทั้งเพศสภาพ การประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล รองรับทั้งผู้สูงวัย ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก  วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง (Soft Power) พร้อมต่อยอด เปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้ โดยไม่ละเลยอัตลักษณ์และตัวตน จนสามารถสร้างรายได้ให้ตนเอง โอกาสทางการศึกษา (Education) ที่จะต้องได้รับการพัฒนา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เปิดช่องทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างกลไกที่เอื้อให้เอกชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนา Content การทำ Play-based learning  พร้อมทั้งผลักดันเด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศได้ด้วย ไปจนถึงประเทศ ความปลอดภัย (Safe & Security) สังคมต้องปราศจากอาชญากรรม และยาเสพติดทุกรูปแบบ ประชาชนใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และ พลังงานสะอาด (Green Society) ประชาชนและภาคธุรกิจจะต้องเข้าถึงพลังงานสะอาดและราคาถูก

 


เขียนโดย : นางคัทลียา   สุเมฆะกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : kattaleeya.n@mhesi.go.th