Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย 144
บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย
สถาบันอุดมศึกษา ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากำลังคนที่จะช่วยในการขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จึงจำเป็นจะต้องมุ่งเน้นการส่งเสริม/สนับสนุน เพื่อนำสถาบันอุดมศึกษาพัฒนากำลังคน และสร้างหรือเพิ่มทักษะอาชีพ โดยนำเป้าหมายของระเบียงเศรษฐกิจที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นโจทย์ใหญ่ โดยเน้นการพัฒนาคนนอกสถาบันศึกษาหรือคนที่ไม่ได้ลงทะเบียน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก ที่จะส่งผลให้มีงานและรายได้ที่มั่นคงเลี้ยงตนเองได้ รวมถึงเศรษฐกิจพิเศษที่เกิดขึ้นจะต้องมีอุตสาหกรรมของคนไทยและคนในพื้นที่ที่จะเข้าไปทำงาน มีนวัตกรรมที่ตอบสนองอาชีพในท้องถิ่น และคนทั้งใน/นอกพื้นที่สามารถทำงานในพื้นที่บ้านเกิดได้ โดยให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น think tank สร้างองค์ความรู้ในพื้นที่ทั้งหมด พัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยช่วยให้คนในพื้นที่สามารถประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
บทบาทสถาบันอุดมศึกษา ต่อ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- การพัฒนาแรงงาน
- การสนับสนุนผู้ประกอบการ
- การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (อว. /ก.มหาดไทย)
- การปรับปรุงหลักสูตรของ อว. (โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ /โครงการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
1. พัฒนาทุนมนุษย์ Human Cloud as assets
- จัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
- การเรียนรู้แบบ Immersive Education (AI & Metaverse)
- รู้ทักษะ /พัฒนาหลักสูตร / สร้างงาน/อาชีพ
- Education Sand Boxการบูรณาการผลิตและพัฒนากำลังคนสรรถนะสูงตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
2. พัฒนางานวิจัย เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน SME / Area Based development
- การนำข้อมูลนักวิจัยในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อวางแผนและกำหนดนโยบายสนับสนุนทรัพยากรในการผลิตกำลังคนของประเทศ
- ยกระดับกองทุน บพท. งบบูรณาการกลุ่มจังหวัด /อว. / มท.
- กลไก บพค. ในการพัฒนา R&D ให้กับ SME
- ใช้กลไก Offset Policy สนับสนุน SME ในการพัฒนา R&Dและอุตสาหกรรมไทย
เขตเศรษฐกิจพิเศษ
1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง ประกอบด้วย ตาก เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา นราธิวาส
2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค
เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ ภายใต้นนโยบาย BCG และ Thailand 4.0ก้าวสู่การพัฒนาอย่างสมดุล ยั่งยืน
เพื่อเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่โดยรอบ การเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในพื้นที่และพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งของไทยและประเทศในภูมิภาค
ประกอบด้วย
1. ภาคเหนือ (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง) Creative LANNA อุตสาหกรรมสร้างสรรค์/ดิจิทัล/ท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ/เกษตรและอาหาร
2. ภาคตะออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) Bio-economy อุตสาหกรรมชีวภาพ /เกษตรและอาหาร
3. ภาคกลาง(อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี) Agro & High Tech Industry Green & Hermitage Tourism อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร/เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4. ภาคใต้(ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช) Western Gateway Bio-industry & High value Argo Ind. Wellness & Local Tourisms อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร /ชีวภาพ/ท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ