IGNITE Thailand : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง  38

คำสำคัญ : วิสัยทัศน์  ประเทศไทย  IGNITE  

 “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยเป็นหนึ่ง”


จากการแถลงวิสัยทัศน์ประเทศไทย โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย เพื่อก้าวไปเป็นที่หนึ่งในภูมิภาค โดยกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยทั้ง 8 ด้าน ดังนี้

 

 

วิสัยทัศน์ที่ 1: ศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism hub)

ยกระดับการท่องเที่ยวประเทศไทยด้วย 4 มาตรการ ดังนี้

  • เมืองทุกเมือง คือเมืองท่องเที่ยว ยกระดับ Soft Power: ทุกจังหวัด ทั้งเมืองหลักและเมืองรองต้องเป็นเมืองท่องเที่ยว เฟ้นหา Soft Powerเพื่อหา “เสน่ห์” ของประเทศไทย (งานเทศกาล / คอนเสิร์ต / งานภาพยนตร์ / งานศิลปะ / งานแสดงสินค้า / อาหาร / วัฒนธรรม / งานประชุมระดับนานาชาติ / กีฬา ศิลปะป้องกันตัว)
  • เทศกาลระดับโลกและสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติม: ประเทศไทยจะไม่หลับไหล เราจะมีงานเทศกาล งานคอนเสิร์ต งานศิลปะ งานแสดงสินค้าในประเทศไทยตลอดทั้งปี “แสนล้าน”
  • เที่ยวไทยไปได้ทั่วภูมิภาค: ผลักดันการท่องเที่ยวให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลาง Free visa ให้นักท่องเที่ยวจีน คาซัคสถาน อินเดีย และไต้หวัน เปิดประตูรอรับนักท่องเที่ยว
  • แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว: เวลาเปิดสถานบริการ / ปรับเปลี่ยนเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ / สนับสนุนการเฉลิมฉลองในสนามกีฬา

 

วิสัยทัศน์ที่ 2: ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & medical hub)

  • ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นจุดขายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เนื่องจากประเทศไทยเป็นเลิศทางการแพทย์ มีบุคลากรที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับ มีสถานพยาบาลระดับ World Class และมีค่าใช้จ่ายสมเหตุสมผล
  • ผลักดันให้มีการนำเงิน นำรายได้เข้าประเทศ โดยส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย และเปิดรับสวัสดิการพยาบาลจากต่างชาติให้เข้ามารับบริการในประเทศไทย
  • ผลักดันการแพทย์แผนไทยนวดแผนไทย สปาแผนไทยสมุนไพรไปสู่เวทีโลก (สนับสนุนการส่งออกคนให้ไปเปิดศูนย์ Wellness Center ในต่างประเทศ / ยกระดับด้วย Certificate / ต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพใบอนุญาต เพื่อปกป้องชื่อเสียง)
  • พัฒนาระบบสุขภาพสำหรับคนไทย (30 บาทรักษาทุกโรค ทุกที่นำร่องไปแล้ว 4 จังหวัด / Al เชื่อมฐานข้อมูล บัตรประชาชนใบเดียวเชื่อมโยงประวัติ / เพิ่มจานวนบุคลากรให้เพียงพอกับความต้องการ / พัฒนาคุณภาพและยกระดับชีวิตบุคลาการ)
  • มาตรการทั้งหมดจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบพยาบาลชั้นเลิศสำหรับคนไทย กลายเป็นจุดขายนำเงินเข้าประเทศ

 

วิสัยทัศน์ที่ 3: ศูนย์กลางเกษตรกรรมและอาหาร (Agriculture & food hub)

  • ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมบนเวทีโลก ที่มีอาหารไทย อร่อยติดอันดับโลก มีวัตถุดิบดีเข้าถึงได้ตลอดปี
  • ยกระดับการเป็นเมืองแห่งอาหารโลก ให้กลายเป็น “ครัวของโลก”
  • ยกระดับเกษตรกรรมส่งเสริมเกษตรกรไทย (ขยายแหล่งชลประทาน บริหารจัดการน้ำท่วม–น้ำแล้ง ดูแลการเพาะปลูก ลดผลกระทบทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5)
  • วางแผนการเพาะปลูกให้มีตลาดรองรับ ลดการนำเข้า และเพิ่มการผลิตเพื่อส่งออก
  • สนับสนุนให้เพิ่มปริมาณการผลิตอาหารและโภชนาการที่เลี้ยงคนทั้งโลก (อาหารแบบดั้งเดิม / อาหารแห่งอนาคต / อาหารฮาลาล / อาหารเสริมวิตามิน)
  • เพิ่มจำนวนร้านอาหารมิชลิน และร้านอาหารเชลล์ชวนชิม เพื่อดึงดูดนักกิน นักท่องเที่ยวทั่วโลก เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารของภูมิภาค และจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น 3-4 เท่า

 

วิสัยทัศน์ที่ 4: ศูนย์กลางการบิน (Aviation hub)

  • ประเทศไทยมีจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของ ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางคมนาคม และขนส่ง
  • สนับสนุนให้ผู้คนสามารถมาอาศัย มาเที่ยว หรือมาทำงานในทุกระดับราคาที่เลือกได้
  • พัฒนาศักยภาพสนามบินให้พร้อมขยายเป็น Hub ให้สายการบินทั้งไทยและต่างชาติสามารถเข้ามาสร้าง Homebase ในประเทศไทย
  • ประเทศไทยมีความเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค โดยการเปลี่ยนให้ไทยเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงของภูมิภาคได้ เพิ่มศักยภาพการบริการและจำนวนบุคลากร สร้างระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain)ปรับปรุงอาคารโดยสารให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ขยายโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เป็นจุดแวะพักได้นานขึ้น ยกระดับการบริการภาคพื้น และเชื่อมต่อไปยังเมืองรองและประเทศรอบข้าง

 

วิสัยทัศน์ที่ 5: ศูนย์กลางการขนส่ง (Logistic hub)

  • เพิ่มศักยภาพระบบคมนาคมอื่นทั้งใน และนอกประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจกระจายความเจริญจากเมืองใหญ่สู่เมืองเล็ก โดยขยายถนนหลัก (Motorway) และถนนรอง (ทางหลวงแผ่นดิน) ขยายระบบรางให้ครอบคลุมทั่วประเทศ (เพิ่มระยะทางรถไฟฟ้ารางคู่ / รถไฟฟ้ากรุงเทพฯและภูมิภาค / รถไฟฟ้าความเร็วสูง) เชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึก (ขยายท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และLandbridge)
  • ยกระดับการทำงานด้วย One-Stop service โดยแก้ไขระบบราชการ-ระบบเอกสารให้ไวที่สุด และปรับภาพลักษณ์ของประเทศ
  • การพัฒนาระบบคมนาคมให้ดีขึ้น มีชายแดนติดต่อกับเพื่อนบ้าน ระยะทางใกล้กับศูนย์กลางเศรษฐกิจ สามารถสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างอนาคตให้คนไทยได้ และยังทำให้วัตถุดิบสดใหม่จากเกษตรกรทั่วไทยส่งถึงผู้บริโภคทั่วโลก และบริษัทชั้นนำระดับโลก เข้ามาตั้งฐานการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

 

วิสัยทัศน์ที่ 6: ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future mobility hub)

  • อุตสาหกรรมยานยนต์ กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รถ EV ซึ่งประเทศไทยเองก็มีความต้องการและมีศักยภาพในการส่งออกรถ EV
  • ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทานเป็น Ecosystem ในประเทศ (แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ยางรถ สถานีชาร์จ และการรีไซเคิล)
  • สนับสนุนให้เกิดเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ทั้งเครื่องยนต์ Hybrid (HEV) รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์แห่งอนาคตอื่นๆ (Hydrogen)

 

วิสัยทัศน์ที่ 7: ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital economy hub)

  • ส่งเสริมการลงทุน และการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ด้วยกองทุนเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ (Data Center/ Artificial Intelligence/ Semiconductor)
  • สร้างพื้นที่ไว้รองรับเทคโนโลยีในอนาคต
  • ประเทศไทยมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และคนไทยที่จบสาขาด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทุกปี
  • มีกองทุน Matching Fund เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ Start-up
  • สนับสนุนการวิจัย-พัฒนา พร้อมทั้งขยาย Start up ประเทศไทย

 

วิสัยทัศน์ที่ 8: ศูนย์กลางการเงิน (Financial hub)

  • พัฒนาอุตสาหกรรมทั้งหมดให้เติบโตขึ้นและมีความแข็งแกร่งทางระบบการเงิน
  • ยกระดับตลาด SET ไทย เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากสถาบันการเงินทุกรูปแบบของตะวันออกกลาง
  • สนับสนุนการเงินแห่งอนาคต Digital Financeโดยใช้ระบบ Blockchainเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แปลงสินทรัพย์เป็นรูปแบบ Digital (Digital Asset) เข้าถึงระบบการเงินที่มีต้นทุนต่ำ ทำธุรกรรมได้รวดเร็วขึ้น และออกกฎหมายรองรับสิทธิ Digital Asset
  • เปลี่ยนวิธีการทำเกษตรกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อผลิต Carbon Credit ได้มากขึ้น
  • ตั้งศูนย์ซื้อ-ขาย Carbon Credit ของภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย ลดต้นทุนสินค้าส่งออก และเพื่อให้ผู้ประกอบการแข่งขันในเวทีโลกได้

 

ที่มา : https://www.facebook.com/LiveNBT2HD/videos/827195422786195?locale=th_TH


เขียนโดย : น.ส.วรลักษณ์  เจริญพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : som.woralak@gmail.com