โจทย์ปัญหาของ คาร์ล ดุงเกอร์ ว่าด้วยการคิดแบบนอกกรอบแวดวงเดิมๆ  170

คำสำคัญ : Range  หนังสือ  โจทย์  นอกกรอบ  

หลังจากที่เห็นคลิปแมลงวันกับผึ้งแล้ว ผมเลยนึกถึงเรื่องที่เคยอ่านมาเมื่อนานมาแล้ว อยากจะนำมาแบ่งบันเพราะคิดว่าสนุกมากครับ

.

.

.

ในชั้นเรียนวิชาแก้ปัญหาในช่วงปี 1930 มีโจทย์สมมุติที่ครูชื่อ คาร์ล ดุงเกอร์ ใช้ในห้องเรียน 

ผมอยากให้ทุกคนลองฟังโจทย์นี้แล้วพยายามหาคำตอบด้วยตัวเองก่อน

 

"สมมุติว่าคุณคือแพย์ที่มีคนไข้เป็นเนื้องอกอันตรายในกระเพาะอาหาร 

การรักษาไม่สามารถทำได้โดยการผ่าตัดเนื้องอกจากภายนอก และหากไม่ผ่าเข้าก็จะตายในอีกไม่กี่ชั่วโมง

ในยุคนั้นมีการเริ่มรู้จักการรักษาแบบฉายแสง (รังสี) ที่มีคุณสมบัติทะลุผ่านและสามารถไปทำลายเนื้องอกนั้นได้ ถ้าความเข้มแสงเพียงพอโดยไม่ต้องผ่าตัด

แต่.............ปัญหาคือความเข้มแสงระดับนั้นก็จะไปทำลายเนื้อเยื้อดีๆ บริเวณที่แสงผ่านเข้าไปด้วยเช่นกัน 

และแม้แสงความเข้มข้นต่ำจะไม่เป็นอันตรายกับเนื้อเยื้อดีๆ แต่ก็ไม่สามารถทำลายเนื้องอกได้เช่นกัน"

 

คุณได้รับภาระกิจให้ทำลายเนื้องอกนั้นซะ เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ คุณจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้?

---ลองใช้เวลาสักนิดเพื่อหาคำตอบ---

.

.

.

.

.

แต่หากยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ผมขอเล่าอีกสักเรื่องให้ฟัง

"กาลครั้งหนึ่งมีนายพลยกพลขึ้นบกเพื่อไปบุกยึดป้อมปราการใจกลางประเทศจากผู้นำเผด็จการจอมโหดเหี้ยม

การจะตีป้อมนั้นให้แตก ต้องใช้ทหารที่มีทั้งหมดโจมตีเข้าไปพร้อมๆกัน ในครั้งเดียว เขาจะยึดมันได้แน่นอน

เส้นทางเคลื่อนพลของทหารกระจัดกระจายจากปราสาทในลักษณะเป็นเหมือนซี้ล้อและแต่ละเส้นทางก็มีกับระเบิดมากมาย 

ทหารกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ที่จะสามารถผ่านเส้นทางเหล่านี้ได้

นายพลตัดสินใจแบ่งกองทัพเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ละกลุ่มใช้เส้นทางแต่ละสายเพื่อเคลื่อนพลไปยังปราสาท

พวกเขาต้องตั้งนาฬิกาเพื่อเข้าตีพร้อมๆกัน

แผนนี้ได้ผลนายพลสามารถยึดปราสาทได้และล้มล้างจอมเผด็จการได้สำเร็จ"

.

.

.

มาถึงตรงนี้ ขอถามซ้ำว่า ทุกคนหาทางรักษาคนไข้ได้รึยังครับ?

และในระหว่างที่ทุกคนกำลังคิดนั้น ผลขอลเล่าอีกสักเรื่องระหว่างนี้

.

.

.

"ในวันหนึ่งในเมืองเล็กๆ เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงเก็บฟืน บริเวณใกล้ๆ นั้น ไม่มีหัวจ่ายน้ำดับเพลิงอยู่เลย

หัวหน้านักดับเพลิงเดินทางมาถึงอย่างรวดเร็ว และกำลังเห็นว่าหากไม่รีบควบคุมไป จะทำให้เกกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนใกล้เคียง

ตอนนั้นมีเพื่อนบ้านหลายคนช่วยกันตักน้ำจากทะเลสาบใกล้เคียงที่มีน้ำอย่างเหลือเฟือ พยาสาดน้ำเพื่อช่วยกันดับไฟแต่เหมือนจะไม่มีความคืบหน้าเลย

ทันใดนั้นพวกชาวบ้านต่างก็ตกใจ ที่หัวหน้าหน่วยดำเพลิงตะโกนสั่งให้ทุกคนหยุดแล้วเดินไปตักน้ำในทะเลสาบมาพร้อมๆกัน

หลังจากนั้นก็สั่งให้ล้อมโรงเก็บฟืนนั้นและนับหนึ่งถึงสามเพื่อสาดน้ำพร้อมๆกัน

ผลคือ...ไฟดับลงในทันที

.

.

.

เอาหล่ะ มาถึงตอนนี้ คนไข้คงจะปลอดภัยแล้วสินะ

อ่าวไม่อย่างงั้นรึ!!!!!

.

.

.

ถ้าคุณยังหาคำตอบไม่ได้ ไม่เป็นไร คุณคือคนส่วนใหญ่ 

มีเพียง 10% ที่ตอบได้ทันทีหลังจากฟังโจทย์

และเพิ่มเป็น 30% หลังจากฟังเรื่องของนายพล

เราเป็น 50% หลังจากฟังทั้ง 3 เรื่อง

.

.

.

เอาหล่ะมาดูเฉลยกัน

คุณ (หมอ) จะฉายแสงความเข้มข้นต่ำจากหลายทิศทางเพื่อเข้าไปรวมกันแล้วมีความเข้มข้นเพียงพอ

ที่จะทำลายเนื้องอกโดยที่แสงไม่ไปทำลายเนื้อเยื้อดีๆ ระหว่างทาง

คล้ายกับนายพลแบ่งทหารเป็นกลุ่มเล็กๆ และนักดับเพลิงที่ถือถังน้ำรอบโรงฟืนและดับไฟพร้อมๆกัน

.

.

.

ไม่ต้องเสียใจไปถ้าคุณยังคิดไม่ออก เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณตอบได้หรือไม่ได้ 

แต่ประเด็นคือบทเรียนจากวิธีแก้ปัญหา การใช้อุปมาจากเหตุการที่ไม่น่าจะเกี่ยวกันได้เลย

ช่วยเพิ่มสัดส่วนคนที่ตอบคำถามนี้ได้เป็น 1 ใน 3 ยิ่งใช้สองอุปมายิ่งมีคนตอบได้เพิ่มขึ้น เป็น 1 ใน 2

.

.

.

สุดท้ายนี้เป็นส่วนที่ผมพอจะสรุปออกมาเป็นข้อคิดจากการทดลองนี้ คือ

การวิเคราะห์ หรือพยายามดูเฉพาะขอบเขตภายในที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ใช้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ เช่นดังในโจทย์ข้างต้นที่อาจจะเป็นปัญหาทางการแพทย์

เราอาจจะไม่ทันมองหาอุปมาที่ไกลตัวหน่อย (ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะเป็นสัญชาตญาณ) ทั้งๆที่ควรจะมองอะไรนอกกรอบปัญหากว้างๆ

หาที่ไกลๆกับปัญหาที่เจอไปเลย การพึ่งพาประสบการณ์จากแวดวงเดียวอาจไม่เพียงแต่จำกัดจำเขี่ยแล้ว 

บางทีก็เป็นหายนะได้เลย

 

และทั้งหมดนี้ ผมได้มาจากหนังสือเรื่อง "วิชารอบรู้ - Range" โดย David Epstein

หนังสือขายดีอันดับ 1 New York Time ปี 2020 และหนังสือที่ บิลล์ เกตส์ แนะนำ

 

ขอบคุณครับ


เขียนโดย : นายณัฐพล  มหาไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattaphon.m@mhesi.go.th

เป็นวิธีแก้ปัญหาที่น่าสนใจ การคิดแบบนี้ต้องการประสบการณ์ และกาอ่านเยอะๆ

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ

ได้บทเรียนจากวิธีแก้ปัญหา วิธีคิด เป็นหนังสือที่น่าติดตามมากเลยค่ะ

เขียนโดย นางสาวเจนจิรา  ภาประเวช

น่าสนใจมากเลยค่ะ มีให้ยืมอ่านมั้ยคะ 5555

เขียนโดย น.ส.จุฑาทิพ  รุณสุข

การติดแบบนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ และจังหวะชีวิตด้วย
เหมือนเวลาเรามองเรื่องคนอื่นมักจะไม่หนักนา แต่พอตนเองประสบเรื่องเดียวกัน มันยิ่งใหญ่มาก

เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่นอกจากใช้เหตุและผล ทุกคนจะมี Emotional ส่วนตัวกันแทบทุกคน

เขียนโดย น.ส.ภัทริน  เหล่าสิม

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากเลยครับ รอติดตามบล็อกต่อๆไปนะครับ เผื่อมีต่อ ^^

เขียนโดย นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่