ประเด็นสำคัญในการส่งเสริม SME ปี พ.ศ. 2568  158

คำสำคัญ : SME  Business  Brotherhood  

ประเด็นท้าทายที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อ SME

1)     การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รุนแรง ความตกลงระหว่างประเทศเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลก /ลดโลกร้อน เทคโนโลยีสีเขียวก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และธุรกิจต้องปรับกระบวนการผลิต และการให้บริการ เพื่อลดการปล่อย CO2

2)     แนวโน้มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก เช่น เศรษฐกิจโลกจะมีแนวโมชะลอลง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น

3)     ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เช่น ธุรกิจได้รับผลกระทบจาก Technology Disruption มีโอกาสในการยกระดับการพัฒนา และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการมากขึ้น

4)     การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เช่น สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วัยแรงงานลดลง ภาระการใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลด้านสวัสดิการ การเพิ่มขึ้นของความความต้องการของสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพ

5)     พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดของ Covid-19สถานการณ์ความขัดแย้งของประเทศต่างๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องปรับตัวและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

ประเด็นสำคัญในการส่งเสริม SME ปี พ.ศ. 2568

1)     ส่งเสริม SME ปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation)

-  สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการด้านดิจิทัล ให้เติบโตพร้อมแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ

-  สร้างความตระหนัก/พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะดิจิทัล

-  ส่งเสริมให้ใช้ข้อมูลและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับธุรกิจ

-  สนับสนุนให้มีพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษาช่วยปรับเปลี่ยนธุรกิจและจับคู่ระหว่าง SME กับผู้ให้บริการดิจิทัล

-  Upskill Reskill แรงงานไปสู่แรงงานทักษะดิจิทัล

-  เชื่อมโยงตลาดระหว่าง SME ผู้ผลิตสินค้าและบริการ ดิจิทัล กับภาครัฐ ภาคเอกชน และ SME ด้วยกันเอง

-  แหล่งเงินทุนปรับเปลี่ยนไปใช้ดิจิทัล

-  สร้าง Digital Service Provider ให้เพียงพอ

-  ศูนย์บริการ DigitalSolution ครบวงจร

2)     ผลักดันให้ SME เปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว (Green Transition)

-      สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (Green Innovator)

-      สร้างความตระหนักรู้ผลกระทบ Climate change ต่อการดำเนอนธุรกิจ/การทำธุรกิจไม่ส่งผลกระทบต่อ สวล.

-      พัฒนาองค์ความรู้และหลักการประยุกต์ใช้โมเดลธุรกิจสีเขียว (Green Business Model)

-      ให้มี Green Indicatorพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาช่วยแนะแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินคาร์บอนฟุตพริ๊นท์ การรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

-      การพัฒนาบุคลากร แรงงาน นักเรียน นักศึกษา รองรับธุรกิจสีเขียว

-      เชื่อมโยงตลาดระหว่าง SME ที่ผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐและเอกชน

-      แหล่งเงินทุนปรับเปลี่ยนไปเป็นธุรกิจสีเขียว

-      ยกระดับศูนย์บ่มเพาะให้เป็นกลไกช่วย SME ปรับเปลี่ยนธุรกิจสีเขียว

-      ฐานข้อมูลสินค้าและบริการ /การกีดกันทางการค้าด้าน สวล.

3)     สนับสนุน SME เพิ่มมูลค่าและโอกาสให้ธุรกิจด้วยซอฟต์พาวเวอร์ (Soft power)

-      การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEที่อยู่ในอุตสาหกรรม Soft Power

-      พัฒนาหลักสูตรองค์ความรู้ Soft Powerเพื่อธุรกิจ

-      เตรียมความพร้อม พัฒนาความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ Soft Powerในการขับเคลื่อนธุรกิจ

-      สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจน วทน. ในการขับเคลื่อน Soft Power

-      ส่งเสริมการสร้าง Brand จัดกิจกรรมส่งเสริมตลาด เช่น งานแสดงสินค้า การจับคู่ธุรกิจ

-      กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคให้เข้าถึงสินค้า SME ด้วย Soft Power

-      แหล่งเงินทุนสนับสนุน Soft Power

-      ศูนย์บริการที่ปรึกษาด้าน Soft Power

-      จัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์แสดงผลงาน SME

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย (Business Brotherhood) เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น ส่งเสริมให้ใช้ข้อมูลและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับธุรกิจ และพัฒนาขีดความสามารถและสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ ด้านการตลาด ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน และด้านการจัดการ โดยมีมหาวิทยาลัยและเอกชนกิจการขนาดใหญ่ร่วมกันเป็นพี่เลี้ยง

ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)


เขียนโดย : น.ส.พรทิพย์  เพิ่มวรัญญู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pronthip.p@mhesi.go.th

น้องทิพย์ สรุป ได้กระชับและน่าอ่านมาก ๆ เลยค่ะ ทำให้ได้รู้ไปด้วยว่า ประเด็นสำคัญในการส่งเสริม SME ปี พ.ศ. 2568 ไปในทิศทางไหน ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่สรุปมาให้ได้อ่านนะจ้ะ 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

การปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนสำคัญที่ควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ คือการพัฒนาศักยภาพคน เพื่อรอบรับกับการเปลี่ยนแปลง ให้มีทักษะความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่ง อว. เป็น Key สำคัญในการผลักดันและวางแนวทางในการพัฒนาส่วนนี้อย่างจริงจังอย่างยิ่งค่ะ

เขียนโดย สุชานุช  ชนะชาญมงคล