โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาภาค การก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  75

คำสำคัญ : UBU  RSP  Sci-Park  อาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  

โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาภาค
การก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 


1.ข้อมูลของโครงการ
ยุทธศาสตร์ชาติด้าน: ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ: การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
เป้าประสงค์ สป.อว. : การขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างนวัตกรรม


2.ที่มาของโครงการ
การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฏาคม 2561 โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้เห็นชอบแนวทางดำเนินการตามที่เสนอ นอกจากนี้ยังมีข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขณะนั้น (ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ให้สนับสนุนการสร้างศูนย์พัฒนาศักยภาพเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ภายใต้อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 มีการดำเนินกิจกรรมการบ่มเพาะวิสาหกิจ และการพัฒนาผู้ประกอบการ


3.หลักการและเหตุผล
โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้ประกอบการที่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะทั้งสิ้นประมาณ 100 ราย สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการรวมกว่า 150 ล้านบาท มีการเติบโตของรายได้รวมกว่า 200% มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 200 ตำแหน่ง มีการลงทุนรวมกว่า 80 ล้านบาท มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการดำเนินการ จำนวนกว่า 100 รายการ มีจำนวนงานวิจัยร่วมภาคเอกชนรวม กว่า 200 เรื่อง มีภาคเอกชนใช้บริการรวมกว่า 1,000 ราย มีชุมชนได้ประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมของโครงการรวมกว่า 200 ชุมชน อย่างไรก็ตามการดำเนินงานดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะหากจะยกระดับการให้บริการให้กว้างขวาง ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจ SMEs และ Startup จึงจำเป็นต้องมีการขอจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้ในการการบ่มเพาะและพัฒนาเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ตลอดผู้สนใจทั่วไปในการทำธุรกิจที่จะมีมากขึ้น


4.วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม (จ.อุบลราชธานี) สำหรับเป็นอาคารอำนวยกาในการให้บริการการผลิตแก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Startup และ SMEs ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 และจังหวัดใกล้เคียง
4.2 เพื่อสร้าง และพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Startup และ SMEs ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 และจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้การวิจัยและนวัตกรรม ผ่านกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
4.3 เพื่อสร้างผู้ประกอบการ Startup SMEs และ Smart Farmer ให้เกิดขึ้นในพื้นที่
4.4 เพื่อผลักดันให้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค


5. กลุ่มเป้าหมายในการรับบริการ
ผู้ประกอบการใหม่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัทหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และบริษัทข้ามชาติ

6. ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1) เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือผู้สนใจเป็นผู้ประกอบการ เข้าใช้บริการด้านต่างๆ รวม 1,000 ราย / ปี
6.2) พัฒนาเกษตรกร ไปเป็นผู้ประกอบการ SMEs หรือ Smart Farmers และสามารถนำสินค้าไปแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดสากล 50 ราย ภายในเวลา 3 ปี
6.3) สร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมเกิดใหม่ ไม่น้อยกว่า 30 กิจการ ภายในเวลา 3 ปี
6.4) มีผู้ประกอบการ นักศึกษา หรือผู้สนใจเป็น Startup เข้าใช้พื้นที่ รวมไม่น้อยกว่า 1,000 ราย / ปี
6.5) สามารถยกระดับ สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร ผู้ประกอบการ SMEs ได้ไม่น้อยกว่า 150 รายการต่อปี
6.6) เกิดการวิจัย และพัฒนาสินค้าใหม่ ของเกษตรกร ผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 50 รายการต่อปี
6.7) สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ภายในเวลา 5 ปี

 

เอกสารเพิ่มเติม https://drive.google.com/file/d/14GbKy0RB6i4l9DvOO8T-nsW5RgmoQXx7/view?usp=sharing


 


เขียนโดย : นางสาวชลิศา  ทรัพย์พร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : -

ดีจังเลยค่ะพี่ฟ้า ผู้ประกอบการ วิสาหกิจ รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งสนับสนุนนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดีๆ เพิ่มขึ้นอีกแล้ว ขอบคุณที่มาแชร์ข้อมูลดีๆ ที่เป็นประโยชน์ให้ได้อ่านกันนะคะ ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอุทยานวิทย์ จากพี่ฟ้าอีกนะคะ 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล