มารู้จัก คำสั่งทางปกครอง ต่างจาก กฏ อย่างไร ?  193

คำสำคัญ : กฎหมาย  ความรู้ทั่วไป      

มารู้จัก คำสั่งทางปกครองกันค่ะ


คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า

1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน (ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ)

2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

องค์ประกอบของคำสั่งทางปกครองอย่างน้อยต้องประกอบด้วย สาระสำคัญ 4 ประการ

1) เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่หมายถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ (บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคลที่มีอำนาจ) เช่น

- บุคคล เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

- คณะบุคคล เช่น คณะกรรมการเลือกตั้ง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นต้น

- นิติบุคคล เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง เป็นต้น

2) เป็นการใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย

3) มีผลกระทบสิทธิหน้าที่ของบุคคล 

4) มีผลบังคับเฉพาะกรณี (ใช้บังคับเป็นกรณีไปหรือบุคคลเป็นการเฉพาะ)

 

รูปแบบของคำสั่งทางปกครอง

1) คำสั่งเป็นหนังสือเช่น คำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย

2) คำสั่งด้วยวาจา เช่น อธิบดีกรมทางหลวงได้รับรายงานจากวิทยุสื่อสารจากเจ้าหน้าที่ว่าคอสะพานชำรุด จึงสั่งปิดสะพาน

3) คำสั่งในรูปแบบอื่นเช่น ป้ายห้ามเข้าบริเวณสิ่งก่อสร้าง สัญญาณไฟจราจร

 

เราพอจะทราบคำสั่งทางปกครองกันบ้างแล้วมาลองดูตัวอย่างที่ไม่ใช่คำสั่งทางปกครองกันบ้างนะคะ ^  ^

-  ข้อบังคับกองบัญชาการตำรวจนครบาลว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมให้เดินรถทางเดียว และการใช้ทางรถสำหรับใช้สำหรับรถบางประเภทในถนนเพชรบุรี กทม. พ.ศ.2540

-  รายงานพร้อมความคิดเห็น ไม่ถือเป็นคำสั่งทางการปกครอง

 

อ้างอิงรูปภาพจาก  https://www.facebook.com/LawyerNeti/photos/a.164192237490958/450383442205168/?type=3

อ้างอิงข้อมูลดีๆจาก https://youtu.be/7mBSO9fsg0I?si=YgpiUn17wfdLUEdo


เขียนโดย : นางสาวเจนจิรา  ภาประเวช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : janejira.p@mhesi.go.th

เรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องที่พี่รู้สึกว่ายาก มาตลอดเลยค่ะน้องเจน ขอบคุณที่นำมาลงให้อ่าน แบบกระชับๆ แล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้นเยอะเลยน่ะค่ะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

เป็นสรุป พรบ.ที่มีประโยชน์มากค่ะ สามารถนำไปใช้สอบสำหรับการวัดความรู้ ของหน่วยงานราชการได้

เขียนโดย นางสาวเพ็ญพิชชา  คงแทน