การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (อุตสาหกรรม 10 S-curve)  87

คำสำคัญ : s-curve  อุตสาหกรรมใหม่  food  Robotics  

การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

การต่อยอด 5อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve)ประกอบด้วย

1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) 

          เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ซึ่งเป็นมาตรการระยาวที่จะมีการปรับโครงสร้างด้านการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)

          เป็นอุตสาหกรรมที่ ออกแบบและผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ที่สามารถ เชื่อมต่อข้อมูลสื่อสาร กับอุปกรณ์และผู้ใช้อื่นด้วยเทคโนโลยีเครื่องรับรู้(Sensors) และวงจรรวม (Integrated Circuits) ที่มีขนาดเล็กลง และมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 

          ถือเป็นหนึ่งในอุตสหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นอุตสหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของ รัฐบาลไทยในการส่งเสริมให้ประเทศเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และเพิ่มคุณภาพและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 

          เป็นการประยุกต์ศาสตร์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งชีววิทยา เคมี และองค์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาจุลินทรีย์ที่ใช้งานทางการเกษตร การดัดแปลงยีน ปรับปรุงพืชหรือสัตว์ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ธุรกิจ และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ซึ่งปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์

5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)

          เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะ “ครัวของโลก" เป็นแหล่งผลิตอาหารครบวงจร โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหาร (food processing equipment) บรรจุภัณฑ์อาหาร (packaging) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้ปริมาณมากๆ มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัย และสะดวกต่อการบริโภค หรือการนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป และเป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลจาก พืช ปศุสัตว์ และประมง

การเติม 5อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)  ประกอบด้วย

1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)

          เป็นการออกแบบหุ่นยนต์ให้มีโครงสร้างในรูปแบบ joint และ link คล้ายมนุษย์ ซึ่งหุ่นยนต์ส่วนใหญ่ที่มักใช้ในอุตสาหกรรมปัจจุบัน คือ แขนกล (Robot Arm) ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้(Fixed Robot) เพื่อสามารถทำงานแทนแรงงานมนุษย์ได้

2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 

          เป็น 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย ได้แก่ กิจการสาธารณูโภคและบริการเพื่อการขนส่ง, ศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์ทันสมัย เช่น การขนส่งทางอากาศ, การบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน, การพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานให้เป็นเขตอุตสาหกรรมสำหรับธุรกิจที่มีมูลค่าสูง

3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)

          เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การนําผลิตผลจากภาคการเกษตร เช่นอ้อย ปาล์ม ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เป็นต้น มาใช้เป็นองค์ประกอบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ พอลิเมอร์และวัสดุชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวมักดําเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)

          เป็นการนําผลผลิตจากภาคอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้เป็น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ก คอนเทนต์และการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการพาณิชย์และการดําเนินธุรกิจ อุตสาหกรรมนี้ กําหนดจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีอยู่เดิมใน ISIC REV. 4 หมวด C การผลิต ซึ่งมีรหัส C260000 คือ การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์

5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

          เป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ต่อยอดจากธุรกิจการรักษาพยาบาล และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ประเทศไทยมีฐานเดิมที่แข็งแรง โดยเพิ่มธุรกิจด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์จากพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว


เขียนโดย : น.ส.เดือนเพ็ญ  อาจไธสง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : duenpen.a@mhsri.go.th