มารู้จักสายพันธุ์เมล็ดกาแฟต่างๆ เพื่อค้นหารสชาติที่ถูกใจคุณ!  180

คำสำคัญ : คลินิก,หมู่บ้าน,  อว  ส่วนหน้า  

ว่ากันว่าคุณสมบัติของกาแฟที่มีคุณภาพจะต้องมีกลิ่นหอม รสสัมผัสที่จัดเจน และให้ความกลมกล่อม ซึ่งหากถามว่าเมล็ดกาแฟแบบไหนดี หลายๆ ท่านอาจนึกถึงเมล็ดกาแฟอราบิก้า (Arabica) ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในบ้านเรา หรือบางท่านอาจชื่นชอบสายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มากกว่า แต่ทราบหรือไม่ว่าสายพันธุ์เมล็ดกาแฟนั้นไม่ได้มีเพียงเท่านี้

 

เริ่มดื่มกาแฟครั้งแรก ต้องรู้อะไรบ้าง! 

ที่มา https://www.wongnai.com/news/coffee-bean

สายพันธุ์กาแฟ หลักๆ มีอยู่ 4 สายพันธุ์

1. กาแฟอาราบิก้า (Coffea Arabica) ต้องปลูกต้้นกาแฟในพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1000 เมตรขึ้นไป และต้องมีความลาดเอียงของพื้นทีปลูกต้้นกาแฟไม่เกิน 30% อุณหภูมิที่พอเหมาะ 15 – 25 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60% ต้้นกาแฟอาราบิก้ามีลักษณะพิเศษ ดูแลรักษาค่อนข้างยากเนื่องจากต้องปลูกกาแฟอาราบิก้า ในที่สูงและอุณหภูมิเหมาะสมจึงจะได้กาแฟรสดีไม่เพี้ยนไปจากพันธุ์ดั้งเดิม โดยความเป็นพืชผสมตัวเอง (Self Fertile) ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นแม่มากนัก ให้กลิ่นหอมรสกลมกล่อม มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ 1% มีสัดส่วนของผลผลิตกาแฟทั่วโลกถึง 80% และกาแฟอาราบิก้ามีสายพันธุ์แยกย้อยหลากหลายสายพันธุ์ ดังนี้
 

1.1 ทริปิก้า (C.arabica var.typica) เป็นกาแฟพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อาราบิก้า ลำต้นกาแฟมีลักษณะเด่น คือ ยอดเป็นทองแดง ติดลูกห่างระหว่างข้อ มีใบเล็กเรียบ เจริญเติบโตเร็ว แต่ไม่ทนต่อโรค เริ่มแรกกาแฟทริปิก้า ปลูกในเยเมน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย

1.2 เบอร์บอน (C.arabica var.Bourbon) เป็นกาแฟที่กลายพันธุ์มาจากกาแฟทริปิก้า ลักษณะต้นกาแฟไม่สูงมาก มีข้อถี่ใบกว้าง ยอดอ่อนมีสีเขียว ให้ผลสุกที่ช้า แต่ให้ผลผลิตกาแฟที่ดีกว่าและมีคุณภาพ ด้านรสชาติและกลิ่นหอมกว่ากาแฟทริปิก้า

1.3 บลูเมาเท่น (Blue Mountain) เป็นกาแฟที่กลายพันธุ์จากกาแฟทริปิก้า เช่นกัน มีใบบางและแคบ ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง เจริญเติบโตได้ดีในที่เขาสูง คุณภาพเมล็ดกาแฟจัดว่าเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ ให้รสชาติและให้กลิ่นดีมาก เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค ถือว่าเป็นกาแฟมีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลก จึงมีราคาแพงที่สุด

1.4 คาทูรา (Caturra) มีแหล่งกำเนิดในบราซิล เป็นกาแฟที่กลายพันธุ์จากกาแฟเบอร์บอน ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟสูง ลักษณะลำต้นกาแฟไม่สูง ทรงพุ่มเล็ก ข้อสั้นใบกว้าง

1.5 โคน่า (Kona) เป็นกาแฟกลายพันธุ์จากทริปิก้า แหล่งเดิมอยู่ในบราซิล แต่เมื่อนำไปปลูกในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินภูเขาไฟของหมู่เกาะฮาวาย กาแฟพันธุ์นี้ให้รสชาติและกลิ่นดีมาก เป็นที่รู้จักดีและติดอันดับต้นๆของกาแฟทั่วโลก ตามรูปแบบของกาแฟพันธุ์ทิปปิก้า ซึ่งได้นำมาจากเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล มาปลูกในเมืองโคน่า ประเทศฮาวาย ภายใต้ชื่อการค้า “ฮาวายโคน่า” มีราคาที่แพงที่สุดในตลาดโลก เช่นเดียวกับบลูเมาเทน

1.6 เคน (Kent) เป็นพันธุ์กาแฟที่ได้จากการคัดเลือกจากกาแฟที่ปลูกในแคว้นไมเซอร์ (Mysore) ของประเทสอินเดีย ซึ่งให้ผลกาแฟดกทนทานโรคที่เกิดในกาแฟได้ดี

1.7 มอกก้า (Mocha หรือ Mokka) เป็นกาแฟส่งออกผ่านท่าเรือโมช่า( Mocha) ใช้ชื่อการค้าว่า ม็อกกา ( Mokka) ในประเทศอินโดนีเซีย มีความแตกต่างอย่างมากจากพันธุ์ที่ปลูกในแหล่งเดิม มีเอกลักษณ์กลิ่นหอมผลไม้คล้ายโกโก้ อย่างไรก็ตามพันธุ์นี้มีผลทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะปริมาณผลผลิตมีจำนวนจำกัด

กาแฟอาราบิก้ายังแยกพันธุ์ผสมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากมาย เช่น พันธุ์คาทุย, พันธุ์อิคาทู, พันธุ์มันโดโนโว, พันธุ์คาทุย, พันธุ์คาติมอร์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะตั้งชื่อจากแหล่งการเพาะปลูก และมีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถสังเกตเมล็ดกาแฟอราบิก้าได้จากลักษณะของเมล็ดที่ เรียวผอม เป็นทรงวงรีและมีเส้นตรงกลางโค้งคล้ายตัวอักษร “S” มีกลิ่นหอมหวานอบอวล คล้ายกลิ่นช็อกโกแลตและดอกไม้ผสมกัน ในส่วนของการเพาะปลูกนั้น ต้นกาแฟอาบิก้านั้นเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่เย็นและพื้นที่สูงส่วนกาแฟที่ปลูกทางภาคเหนือของไทยส่วนมากเป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ที่ชอบอากาศหนาวเย็นและที่เขาสูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1000 เมตร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจะปลูกไม่ได้ แต่อาจจะมีผลกับผลผลิตที่ได้ตามแต่สายพัธุ์นั้นๆ โดยในประเทศไทยนิยมปลูกในเขตพื้นที่ทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน และลำปาง เป็นต้น ซึ่งสามารถผลิตได้ประมาณ 10,000 ตันต่อปี 

 

2. าแฟโรบัสต้า (Robusta) Coffea Canephora เป็นกาแฟที่มีความสำคัญรองลงมาจากกาแฟอาราบิกา ปลูกในพื้นที่สูงกว่าน้ำทะเลไม่มาก ส่วนใหญ่ปลูกในประเทศแถบร้อนชื้น และปริมาณน้ำฝนที่เหมาะ มีลำต้นใหญ่กว่ากาแฟอาราบิก้า มีร่องเส้นใบที่ลึกและใหญ่ ให้รสชาติเข้มข้น หอมฉุนกว่ากาแฟพันธุ์อาราบิก้า มีสัดส่วน ของผลผลิตกาแฟทั่วโลกถึง 20% กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต้านทานโรคสูง ปลูกง่าย ให้ผลผลิตสูง การบำรุงรักษาทำได้ง่าย กาแฟสายพันธุ์นี้มีปริมาณของคาเฟอีน 2% นิยมนำไปทำเป็นกาแฟผงหรือกาแฟสำเร็จรูป ( Instant Coffee) รวมไปถึงการนำไปผสมกับกาแฟสายพันธุ์อื่นเพื่อให้มีรสชาติ กลิ่น ที่แปลกไปจากเดิม หรือที่เรียกว่าเบลนด์กาแฟนั่นเอง ลักษณะของเมล็ดโรบัสต้านั้นจะกลมมนและมีเส้นผ่าตรงกลางเป็นแนวตรง สำหรับการเพาะปลูกนั้น เรียกได้ว่าโรบัสต้าตรงข้ามกับอราบิก้า เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ต้องการความชื้นสูงและพื้นที่ต่ำถึงจะเติบโตได้ดี โดยในประเทศไทยนั้นจะนิยมปลูกในจังหวัดทาางภาคใต้ อาทิ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้ กาแฟโรบัสต้าในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตได้มากถึง 70,000 ตันต่อปีเลยทีเดียว
 

3. กาแฟเอ็กเซลซ่า [Coffea Exelsa] มาถึงสายพันธุ์ที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู เมล็ดกาแฟสายพันธุ์เอ็กซ์เซลซ่านั้นมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา โดยลักษณะลำต้นกาแฟสูงใหญ่ ใบด้าน ลักษณะของเมล็ดนั้นจะคล้ายกับกาแฟโรบัสต้า เป็นกาแฟที่ไม่ดีต่อการค้ามากนัก เพราะมีกลิ่นเหม็นเขียว แต่ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีมาก มักจะมีประโยชน์ด้านการบำรุงสายพันธุ์ กาแฟเอ็กซ์เซลซ่านี้ได้รับความนิยมในแอฟริกา แต่สำหรับในประเทศอื่นๆ ยังคงได้รับความนิยมไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากมีความเข้มข้นในเรื่องของรสชาติที่มากจนถึงขมพร่าเลยทีเดียว แต่ว่ากันว่าชาวแอฟริกันสามารถดื่มกาแฟชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวัน ความพิเศษของต้นกาแฟเอ็กซ์เซลซ่านั้นคือ การดูแลรักษาที่ง่าย ปลูกง่าย สามารถทนต่อความแห้งแล้ง ทนโรคที่เกิดจากต้นกาแฟได้ดีและสามารถทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ แถมยังให้ผลผลิตที่สูงอีกด้วย 

 

4. กาแฟลิเบอริก้า [Coffea Liberica] มีสายพันธุ์มาจากแถบแอฟริกา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในตลาดโลกมากนัก โดยคิดเป็นเพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์ ของกาแฟทั้งโลกเท่านั้น เมล็ดกาแฟลิเบอริก้ามีถิ่นกำเนิดในไลบีเรียและไอวอรีโคสต์ เป็นกาแฟพื้นเมืองของประเทศอังโกล่า มีลำต้นสูงใหญ่ ใบมีสีเขียว ใหญ่่มาก มักนิยมนำมาผสมกับกาแฟอื่นๆ การปลูกและการดูแลรักษาทำได้ง่ายเหมือนโรบัสต้า ผู้คนนิยมดื่มกาแฟพันธุ์นี้น้อย ส่วนมากจะนำกาแฟพันธุ์นี้ไปปรุงพิเศษหรือผสมรวมกับกาแฟพันธุ์อื่นนั่นเอง เพื่อให้ได้รสชาติและกลิ่นตามความต้องการดื่มของแต่ละคน  โดยปัจจุบันมีมาเลเซียที่มีการปลูกกาแฟสายพันธุ์สายลิเบอริก้ามากถึง 90-95 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ  กาแฟลิเบอริก้านั้นมีชื่อเรียกว่า “กาแฟใบใหญ่” เนื่องจากลักษณะของใบที่มีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์อื่นๆ เติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้นและน้ำชุ่มๆ ลิเบอริก้ามีรสชาติใกล้เคียงกับอราบิก้าแต่มีรสเปรี้ยวอมหวานของผลเบอร์รี่มากกว่า จึงนิยมนำไป Blend กับกาแฟชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของรสชาตินั่นเอง

สายพันธุ์กาแฟที่นำมาปลูกในประเทศไทย (เป็นสายพันธุ์ย่อย)

4.1 บราซิล [คาติมอร์1662] เป็นลุกผสม สายพันธุ์ คาทูรา กับ ไฮบริโด เดอ ติมอร์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล

4.2 เคนยา [โปจินี 86 progeny] ผสมระหว่างคาทูรา กับ ไฮบริโด เดอ ติมอร์ 1343 ปลูกมากในประเทศโคลัมเบียและนำมาขยายพันธุ์ในประเทศเคนยา

 

พอทราบถึงสายพันธุ์ต่างๆ ของเมล็ดกาแฟแล้ว หลายท่านคงมีคำตอบในใจแล้วว่าเมล็ดกาแฟแบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับตัวเองที่สุด ซึ่งนอกจากสายพันธุ์แล้ว “ระดับการคั่ว (Roast)” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อรสและกลิ่นสัมผัส รวมไปถึงแหล่งกำเนิดของเมล็ดกาแฟ เนื่องจาก “ปัจจัยแตร์รัว (Terrior)” หรือสภาพแวดล้อมการปลูกของแต่ละแห่งจะมีผลต่อรสชาติโดยรวมของเมล็ดกาแฟ ซึ่งหมายถึงสภาพภูมิอากาศ, ดิน, ความลาดชัน, และทุกสิ่งในสภาพแวดล้อมการปลูก ล้วนจะส่งผลต่อลักษณะรสชาติของเมล็ดกาแฟทั้งสิ้น

cr. https://www.doiwhan-cnx.com/ 

cr. https://www.aromathailand.com/


เขียนโดย : น.ส.ศิริเบญจารัตน์   ฮาวต่อมแก้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : siribenjarut.h@mhesi.go.th