Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ทำความรู้จัก แลนด์บริดจ์ (Land Bridge) 287
โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ Land Bridge เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม
โดยกระทรวงคมนาคม เป็นการบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ (ชุมพร - ระนอง) ให้เชื่อมต่อถึงกันอย่างไร้รอยต่อส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ
ให้มีความทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ
ปัจจุบัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) หากสามารถลงทุนพัฒนาได้ตามเป้าหมายจะเป็นอภิมหาเมกะโปรเจกต์
ของประเทศไทย ด้วยเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 1 ล้านล้านบาท เนื่องจากจะมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเล และมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้า
ระหว่างกันด้วยระบบราง (รถไฟทางคู่) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ภายใต้แนวคิด“One Port Two Side” และการพัฒนาพื้นที่หลังท่าเรือ
ด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง และกิจกรรมเชิงพาณิชย์
ทั้งนี้คาดว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในหลายด้าน ได้แก่
1. เพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
2. กระตุ้นการลงทุนในประเทศ
3. เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
แต่อย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคและความเสี่ยงหลายประการ เช่น
1. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
2. ปัญหาด้านการเงิน
3. ปัญหาด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ทั้งนี้ทุกท่านสามารถติดตามความคืบหน้า และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
https://www.landbridgethai.com/
ข้อมูลนี้น่าสนใจมากค่ะ กำลังพยายามหาความรู้พอดีเลย และ ก็สงสัยอยู่ในกรณีหากเรามองในมุมของผู้ใช้บริการ landbridge เช่น บริษัทขนส่งเดินเรือต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องมีการจอดขนย้ายของลง แล้ว ขนส่งลงเรือลำใหม่อีกที จะมีผลดีหรือเสียอย่างไร และจะคุ้มค่าต่อการลงทุนไหม อยากให้เขียนบล๊อคเพิ่มนะคะ แต่มองในมุมประเทศไทยแล้ว เราอาจจะได้รับผลดีในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจค่ะ แต่ต้องรอดูว่า ผลการศึกษาความเหมาะสมจะเป็นแนวไหนและจะเกิดขึ้นได้ไหม
หากเรามองในมุมของผู้ใช้บริการ landbridge เช่น บริษัทขนส่งเดินเรือต่าง ๆ
ถ้าเป็นไปเพื่อการขนส่งเพียงอย่างเดียวค่อนข้างจะไม่คุ้มค่า เนื่องจากสามาถลดระยะเวลาการขนส่งได้ 6 - 9 วัน
แต่ผู้ส่งสินค้าอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์ การประหยัดเวลาที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
หากโครงการ Landbridge จะประสบความสำเร็จต้องทำให้เกิดความคุ้มค่าเชิงพื้นที่ในหลายๆ มิติ ต้องมีการพัฒนาเชิงพื้นที่ และมีโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อม
(ตัวอย่างเช่น EEC มีความพร้อมในเชิงพื้นที่ และโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อ สนามบิน และท่าเรือน้ำลึกจะทำให้เกิดความคุ้มค่า)
ทั้งนี้จากรายงานฉบับสมบรูณ์ ‘โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย’
จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ ‘สภาพัฒน์’ และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“...ทางเลือกที่ ‘เหมาะสมที่สุด’ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน
คือ การให้ความสำคัญกับการสร้างเส้นทางเข้าถึงพื้นที่พัฒนาตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC)
โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และดำเนินการพัฒนาต่อจากสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด…”
ข้อเสนอแนะของผลการศึกษามีความน่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานเชิงพื้นที่ได้ดีมาก
สามารถ Scan QR Code เพื่ออ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ (บทที่ 7 - บทสรุปโครงการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย)