Green Technology Expo 2024  32

คำสำคัญ : CoE  สป.อว.  perdo  

                เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ผอ.กปว.)เข้าร่วมงาน Green Technology Expo 2024 ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พร้อมทั้งขึ้นเวทีบรรยายในหัวข้อ “ระบบนิเวศเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการฐานวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม” โดยได้กล่าวถึงด้านความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนโยบายของ รมว.อว. ให้ความสำคัญด้าน Go Green พลังงานสะอาด เศรษฐกิจชีวภาพ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ โดยกระทรวง อว. ได้จัดทำระบบนิเวศวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มี 6 ด้านกระจายอยู่ในหน่วยงานในสังกัดของกระทรวง อว. และมหาวิทยาลัย ตามบทบาทภารกิจ ดังนี้

  1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  2. เงินทุนและสิทธิประโยชน์
  3. การบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม
  4. บริการโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่าย
  5. เพิ่มขีดความสามารถบุคลากร และ
  6. ปรับปรุงข้อกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ เป็นต้น 

                ซึ่งกระทรวง อว. ได้นำผลงานด้าน Green Technology บางส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงฯ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายมาจัดแสดงภายในงานด้วย หลังจากนั้นได้เยี่ยมชมนิทรรศการของ อว. และหน่วยงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผลงานของ อว. ที่นำมาจัดแสดงตัวอย่างเช่น

1. ผลงานภายใต้โครงการการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ สป.อว. เช่น

  1. หุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์แบบอัตโนมัติ จากบริษัท ไอนาว จำกัด
  2. เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติด้วยเม็ดพลาสติกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากบริษัท บางกอก บลูโอเชียน จำกัด
  3. ระบบเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ด้วย Oxy Hydrogen ที่ผลิตจากน้ำ จากบริษัท อินเตอร์โกร จำกัด

2. Platform ต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 ภูมิภาคเช่น

  1. ชุดตรวจสุขภาพระบบแพทย์ทางไกลแบบพกพา (Telemedicine) บริษัท EVERYDAY DOCTOR
  2. ผลิตภัณฑ์ไก่บนบานรักษ์โลก บริษัท BONBAN CO., LTD. 
  3. V Flow-Herbal Drink บริษัท JW HERBAL CO., LTD.
  4. เทคโนโลยีหลังคาเขียวแบบน้ำหนักเบา บริษัท INFINITY CONCRETE TECH

 3. ผลงานจากศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence: CoE) 6 ศูนย์จาก 11 ศูนย์อาทิ เช่น 

  1. การจำลองวิวัฒนาการของแนวชายฝั่งด้วยโครงสร้างรอดักทรายโดยใช้การผสมผสานระหว่างการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องจักรทางเลือก จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM)
  2. โครงการพัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม (CEE)
  3. Green Electrochemistry: Enzymatic Biofuel Cells and Self-Sustaining Biosensing Devices for a Sustainable Future ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)
  4. Prototype การจัดการเพื่อลดมลพิษในอุตสาหกรรมเหล็ก โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (HSM)
  5. Cello-gum” (เซลโลกัม) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETRO-MAT) และ
  6. นวัตกรรมระบบทำความเย็นเชิงแม่เหล็ก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (THEP) ทั้งนี้ยังมีกิจกรรม Stage Showcase เพื่อเป็นการแนะนำ และแสดงศักยภาพของหน่วยงานตนเองอีกด้วย
  7. จากการร่วมนำผลงานมาจัดแสดง พบว่าได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยประชาชนทั่วไปให้ความสนใจในเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ นักธุรกิจมีการเจรจาธุรกิจหรือความร่วมมือ ในการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์


เขียนโดย : นายอภิเดช  ไม้หนองกอย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : apidech.m@mhesi.go.th