หมู่บ้านละมุดท่าทอง จังหวัดสุโขทัย


กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัย หมู่ที่ 1 ต.ท่าทอง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3
[5514]

วันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2568

กิจกรรมที่ 1 ติดตามผลการผลิต และร่วมกิจกรรมสังเกตุการกับคณะผู้ตรวจประเมินดำเนินการตรวจประเมินเพื่อการับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP

ผลการดำเนินงาน ลงติดตามผลการผลิต และร่วมกิจกรรมสังเกตุการกับคณะผู้ตรวจประเมินดำเนินการตรวจประเมินเพื่อการับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAPสำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรประจำจังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2568 และผลการตรวจรับของ เกษตรกรผู้ปลูกละมุดได้รับการรับรองใบ GAP25 ราย และร่วมขอสมัครใช้ตรา GI 10 ราย

ซึ่งการติดตามผลการผลิต และร่วมกิจกรรมสังเกตุการกับคณะผู้ตรวจประเมินดำเนินการตรวจประเมินเพื่อการับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAPสำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรประจำจังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2568 และผลการตรวจรับของ เกษตรกรผู้ปลูกละมุดพบว่า ได้รับการรับรองใบ GAP 25 ราย



 



รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 04/07/2568 [5514]
0 20
3
[5517]

กิจกรรมที่ พัฒนาสูตรไวน์ละมุด และจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปไวน์ละมุดให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัย

          ผลการดำเนินงาน ผลจากการติดตามผลการทดสอบตลาดสินค้าไวน์ละมุด โดยได้มีการออกงานจำหน่ายสินค้าของจังหวัดและของเครือข่ายหน่วยงานในจังหวัดและประเทศ เช่นการจำหน่ายในภายส่วนของงานวันเกษตรแห่งชาติ 2567  ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน- 8 ธันวาคม 2567 ณ ไร่แม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในส่วนของบูธของ ธ.ก.ส ในโซนที่ 4 : สินค้า “ของดีต่างถิ่น” จัดแสดงและจำหน่ายสินค้าคุณภาพระดับ A-Product Premium ได้มีการจัดจำหน่ายละมุดสายพันธุ์มะกอก และผลิตภัณฑ์ไวน์ละมุด จากโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ได้การตอบรับจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากทั้งคนไทยและต่างประเทศ และมีการติดต่อขอนำสินค้าไปจำหน่ายในร้านค้าต่าง ๆ และมีสั่งจองผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมากส่งผลให้กลุ่มวิสาหกิจวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัย ตำบลท่าทองมีการปรึกษาทางทีมวิจัยที่จะพัฒนาสินค้าและผลิตสินค้าอย่างเป็นทางการ เมื่อมีช่องทางการตลาดมีความเป็นไปได้สูงจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและสัมภาษณ์ผู้บริโภค ที่ชื้อแล้วและกลับมาซื้อซ้ำ แต่มีข้อเสนอแนะให้มีความหลากหลายด้านรสชาติหวาน รสชาติเปรี้ยวของ (กรดซิตริก,กรดมาลิก,กรดทาทาริก) และรสชาติขม/ฝาด (Tannin) ที่มีทางเลือกที่หลากหลายตรงความต้องการของผู้บริโภค มากขึ้น และทำอย่างไรให้เป็นไวน์มากกว่าสาโท ทำให้ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการทดสอบปรับปรุงและพัฒนาสูตรการเลือกยีสต์ และการใช้ระดับความสุกของละมุดการใช้เปลือกที่ต้องการความขมและฝาดจากแทนนินในผลละมุดมาหมักร่วม ในขณะนี้อยู่ในช่วงของการทดลองหมัก ซึ่งได้ดำเนินเก็บผลผลิตและทดสอบหมักในช่วง 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2568



รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 04/07/2568 [5517]
4000 5
3
[5518]

กิจกรรมที่ ดำเนินการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานโรงคัดและบรรจุละมุดผลสดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 

          ผลการดำเนินงาน ชี้แจงโครงการและเลือกพื้นที่ในการพัฒนายกระดับมาตรฐานโรงคัดและบรรจุละมุดผลสดตามประกาศสาธารณสุข ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัย ผลการประชุมหารือ ได้เลือกพื้นที่ในการดำเนินงานคือที่ตั้ง 44/4 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าทอง อำเภอสรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ในการดำเนินงาน เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวได้มีการเตรียมความพร้อมและบรรจุผลละมุดสดเพื่อจำหน่ายแล้ว แต่ยังได้มีรับรองมาตรฐาน GMP



รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 04/07/2568 [5518]
1000 10