หมู่บ้านบริบาลการสัตวแพทย์ทางไกล เพื่อการดูแลสุขภาพฝูงโคนม (Veterinary telemedicine service villages for dairy herd heatth care)
กลุ่มเกษตรกผู้เลี้ยงโคนมพื้นที่คำบลโนนราษี ต.ดอนงัว และต.กำพี้ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
ผล :
ผล :
ผล :
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
3 [5534] |
โครงการหมู่บ้านบริบาลการสัตวแพทย์ทางไกล เพื่อการดูแลสุขภาพฝูงโคนม (Veterinary telemedicine service villages for dairy herd health care)ในปีที่ 2 ได้ขยายเป้าหมายจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลโนนราษี ตำบลดอนงัว และตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งมีการเลี้ยงโคนมเป็นจำนวนมาก และยังมีการเลี้ยงโคเนื้อ กระบือ และแพะ อีกจำนวนมาก แต่สัตวแพทย์ในพื้นที่กลับมีจำนวนไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงไม่สามารถเข้าถึงบริการของสัตวแพทย์ได้ แม้ว่าจะมีนายสัตวแพทย์ในพื้นที่บ้าง แต่ขาดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และกลายเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาสุขภาพสัตว์จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2568 ได้จัดกิจกรรมติดตามเก็บข้อมูลปริมาณน้ำนมและคุณภาพน้ำนมในแอปพลิเคชันเซียนแดรี่ แก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์ของโค เพื่อตรวจระบบสืบพันธุ์โคที่อยู่ในช่วงพักการรีดนมและไม่ตั้งท้อง โดยการตรวจล้วงตรวจระบบสืบพันธุ์และอัลตราซาวด์ระบบสืบพันธุ์ ติดตามโคที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดหลังคลอดเกินกว่าเกณฑ์ 90 วัน โดยการตรวจอัลตราซาวด์ระบบสืบพันธุ์จากทีมสัตวแพทย์ (HHU) อย่างต่อเนื่องและพิจารณาใช้ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัด คัดทิ้งโคที่ไม่มีประสิทธิภาพและนำเข้าโคสาวตั้งท้อง เพื่อทดแทนในฝูงแม่โค จัดระบบบัญชีฟาร์ม วิเคราะห์กระแสเงินสด โดยสามารถแจ้งเตือนสภาพคล่องทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้เกษตรกรรักษาวินัยทางการเงิน และแนะนำเกษตรกรในการจดบันทึกบัญชีฟาร์มด้วยสมุดบัญชีหรือใช้แอปพลิเคชันช่วยบันทึกข้อมูล ให้ความรู้ในการคำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ค่าเสื่อมของสินทรัพย์และค่าเสียโอกาสในการลงทุน จัดอบรมให้ความรู้และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ แนวคิดการพัฒนาหน่วยสัตวแพทย์ดูแลสุขภาพฝูงสัตว์ (Herd Health Unit, HHU) ในพื้นที่ เป็นแนวคิดริเริ่มเพื่อมุ่งเป้าแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์ของโคซึ่งเป็นปัญหาหลัก แก้ไขปัญหาโคในช่วงพักการรีดนมที่ไม่ตั้งท้องจำนวนมาก ปัญหาระยะท้องว่าง (Day open) นาน รวมทั้งปัญหาสุขภาพ สูญเสียระดับแคลเซียมจากร่างกาย เกิดอาการไข้นม บางตัวมีปัญหาได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ เกิดภาวะไม่สมดุลของพลังงานหรือเป็นโรคคีโตซิส (Ketosis)ซึ่งถือเป็นการสูญเสียอย่างมากของฟาร์ม ทั้งยังส่งผลต่อปริมาณผลผลิตน้ำนมและคุณภาพน้ำนม ผลิตน้ำนมลดลงรวดเร็วกว่าเกณฑ์ ปริมาณน้ำนม (milk yield) ต่อรอบการผลิตมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ เกษตรกรสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากกิจการฟาร์มโคนม กิจกรรมของโครงการฯ ในปีที่ 2ได้รับความร่วมมือจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด สหกรณ์โคนมมหาสารคาม จำกัด และเกษตรกรสมาชิกทั้งสองสหกรณ์ โดยมุ่งหวังให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฝูงโคนมมีสุขภาพที่ดี ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นและคุณภาพน้ำนมดีขึ้น และมุ่งเป้าสู่การลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของโคในฝูงโคทดแทน ฝูงโคพักรีดนม ฝูงโคหลังคลอดและรีดนม เพื่อวางแผนการตรวจสุขภาพสัตว์และการป้องกันโรคสัตว์ประจำปีให้แก่ฟาร์มในพื้นที่ต่อไป รายงานโดย ผศ.น.สพ.ดร.มนกานต์ อินทรกำแหง วันที่รายงาน 05/07/2568 [5534] |
140000 | 90 |