หมู่บ้านละมุดท่าทอง จังหวัดสุโขทัย


กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัย หมู่ที่ 1 ต.ท่าทอง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4
[5199]

การดำเนินโครงการ ในไตรมาสที่ 1 - 3
       โครงการหมู่บ้านละมุดท่าทอง จ.สุโขทัย ปีที่ 2 ขอรายงานความก้าวหน้ารวมไตรมาส 1-3 เนื่องจากโครงการ ได้รับการอนุมัติและส่งเอกสารรับงบประมาณเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ได้มีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตการดำเนินงานที่กำหนดกิจกรรมไว้ 3 กิจกรรม 
       กิจกรรมที่ 1 การติดตามผลการผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐาน GAP 
       กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการยืนอายุผลไม้ตัดแต่งสดเป็นชิ้นสำหรับผู้บริโภค และการแปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์จากละมุด
       กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาด ดังนี้ 
  

 

1. เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2567 ได้มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลคุณภาพและปริมาณผลผลิตต่อไร่ และราคาผลผลิต ในพื้นที่แปลงเกษตรกรต้นแบบ 10 แปลง และได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่สวนละมุดที่มีการใส่ถ่านชีวภาพปรับปรุงบำรุงดินและการฉีดพ่นอาหารทางใบ การตัดแต่งกิ่งของเกษตรในพื้นที่แปลงเกษตรกรต้นแบบ

 

2. มีการเก็บรวบรวมผลผลิตละมุดเพื่อการทดลองแปรรูปในการเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยเก็บผลผลิตละมุดในแปลงเกษตรกรต้นแบบ 2 ช่วง คือเดือนพฤศจิกายน (ช่วงตาวาย) และเดือน กุมภาพันธ์ (ช่วงตาปี) จำนวน 100 กิโลกรัม เพื่อมาวิเคราะห์ทดสอบสมบัติทางกายภาพและเคมี และการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ตามคุณลักษณะทางกายภาพและเคมี สาเหตุที่ต้องทดสอบนำละมุดมาแปรรูปทั้ง 2 ระยะเนื่องจากคุณภาพของผลิตผลจะมีขนาดและความหวานไม่เท่ากันเนื่องจากปัจจัยสภาพอากาศ ได้ผลการทดสอบดังนี้

              ละมุดจากสวนตัวอย่างที่ 2จะหวานมากกว่าสวนอื่นๆ มีค่า TSS ในช่วง 22.33-26.80 องศา  บริกซ์ โดยละมุดขนาดเล็กมีค่า TSS สูงกว่าละมุดขนาดใหญ่ ส่วนสวนอื่น มีค่า TSS ใกล้เคียงกันในช่วง 19-23 องศาบริกซ์ และเมื่อละมุดสุกมากขึ้น ค่า TSS มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในขณะที่วัดเปอร์เซ็นต์ปริมาณความชื้นของละมุดจะเห็นว่าสวนละมุดตัวอย่างที่ 2  ละมุดมีความชื้นในช่วง 76 -79 % จะมีค่าความชื้นน้อยกว่าสวนอื่น เนื่องจากมีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้สูงกว่าสวนอื่น (ค่า TSS ในช่วง 22.33-26.80 องศาบริกซ์) มีผลให้เนื้อละมุดมีความแน่นเนื้อมากกว่าสวนอื่น เนื่องด้วยการบริหารจัดการสวนตัวอย่างที่ 2 จะมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี และมีการฉีดพ่นอาหารทางใบ และปุ๋ยอินทรีย์ทางดิน ตามมาตรฐานการผลิตละมุดทั่วไป ในขณะที่แปลงอื่นๆ การบริหารจัดการแปลงตัดแต่งบางปี และให้ปุ๋ยทางดินเพียงรอบเดี่ยวส่งให้คุณภาพด้อยกว่าแปลงที่มีระบบการบริหารจัดการตัดแต่งกิ่ง การให้ธาตุอาหารทางดินและใบที่เหมาะสม ซึ่งลักษณะเด่นของละมุดสายพันธุ์มะกอก” รสชาติหวานกรอบ เนื้อแน่นละเอียดไม่เป็นทราย กลิ่นหอม  ผิวเปลือกบางมีสีน้ำตาลอมเหลืองค่าความหวานอยู่ในช่วง  20–25 องศาบริกซ์และละมุดยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้คาร์โบไฮเดรทสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีการส่งเสริมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตละมุดที่เหมาะสมต่อคุณลักษณะของสายพันธุ์มะกอกสุโขทัยและได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และได้ทดลอนำไปแปรรูปเบื้องต้นแล้ว คือไอศครีม ท๊อฟฟี่ ลอยแก้ว ไวน์ละมุด มีความเป็นได้สูงที่ส่งผลต่อคุณลักษณะเด่นของละมุดสูง

 

3. ช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม ได้มีการเตรียมความพร้อมการอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ในส่วนของกิจกรรมที่ 1การติดตามผลการผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐาน GAP กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการยืนอายุผลไม้ตัดแต่งสดเป็นชิ้นสำหรับผู้บริโภคและการแปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์จากละมุด โดยได้มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น ชุดถ่านไบโอชาร์ ชุดธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมต่อการผลิตละมุด (แคลเชียม แมกนีเซียม สังกะสี โบรอน, 13-5-42) และวัตถุดิบการอบรมถ่ายทอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ละมุด

 

4. เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2567 ได้มีกิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม วางแผนการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ และเป้าหมายการดำเนินงานในปีที่ 2  และมีการทดสอบชิ้มผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการแปรรูปละมุด จำนวน 7 รายการ ได้แก่ไอศครีม ท๊อฟฟี่ละมุด ลอยแก้วละมุด ไวน์ละมุด น้ำละมุดสด ข้าวเกรียบละมุด ไซรัปละมุด ไอศครีมละมุด ในสูตรต่างที่ทางคณะผู้ดำเนินโครงการได้ทดลองผลิตขึ้น เพื่อรับฟังเรื่องรสชาติ และการเลือกผลิตภัณฑ์ในการอบรมถ่ายทอดฯ กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัยและผู้นำชุมชน จำนวน 15 ท่าน ณ. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัยตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ผลการประชุมมีมติดังนี้

        4.1 กำหนดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปละมุด 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ท๊อฟฟี่ละมุด ไวน์ละมุด น้ำละมุดสด และละมุดลอยแก้ว ซึ่งทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดเลือกมีความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อวิถีชุมชนและมีทิศทางการจำหน่ายในตลาดชุมชน ตลาดในจังหวัดและห้างสรรพสินค้าในอนาคต และเป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อชุมชนที่สามารถดำเนินการต่อไป โดยกำหนดผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการแปรรูปเพื่อให้เป็นรายได้เสริมและแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและผลผลิตไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด กำหนดผู้เข้ารับการอบรม 30 ท่าน ในระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2567 ณ. ทีทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุดสุโขทัย

      4.2 กำหนดการอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐาน GAP และถ่ายทอดการผลิตถ่านไบโอชาร์ในการเป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน และธุรกิจผลิตถ่านไบโอชาร์เพื่อจำหน่าย และมีการสมัครขอการรับรองแหล่งผลิตละมุดที่ได้มาตรฐาน GAP โดยติดต่อประสานงานกับหน่วยงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัยเพื่อมาเป็นวิทยากรและรับสมัคร กำหนดการอบรมในช่วงวันที่ 11-12 กันยายน 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง อำเภอสรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 50 ท่าน



รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 22/08/2567 [5199]
100000 50
4
[5316]

การดำเนินโครงการ ในไตรมาสที่ 4

           โครงการหมู่บ้านละมุดท่าทอง จ.สุโขทัย ปีที่ 2 ขอรายงานความก้าวหน้าไตรมาส 4 เนื่องจากโครงการ ได้รับการอนุมัติและส่งเอกสารรับงบประมาณเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ได้มีการปรับแผนการดำเนินงานด้วยปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่สวนละมุดและเป็นการท่วมขังยาวนานกกว่า 3 สัปดาห์ จึงได้มีการขออนุญาติปรับแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ในส่วนของกิจกรรมที่ 1 : การติดตามผลการผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐาน GAP

           เดิม :การอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐาน GAP และถ่ายทอดการผลิตถ่านไบโอชาร์ในการเป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน

          ใหม่ :การอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐาน GAP ถ่านไบโอชาร์ปรับปรุงบำรุงดิน และการฟื้นฟูต้นละมุดหลักน้ำท่วม

         เพราะการใส่ถ่านชีวภาพปรับปรุงบำรุงดินต้องมีการลงแปลงและเครื่องจักรไถพรวนดินในการเติม คงไม่สามารถดำเนินการได้ในปีนี้ เนื่องจากพื้นที่แปลงละมุดเป็นที่ลุ่มและเป็นแหล่งรองรับน้ำในบางปีที่มีน้ำหลากรุนแรง สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการได้คือการฟื้นฟูระบบรากและบำรุงรักษาต้นผลผลิตที่กำลังติดผล ให้มีการแตกใบอ่อนโดยเร็ว เพื่อการสร้างอาหารเลี้ยงผลผลิตและต้น

จึงขอปรับแผนการดำเนินงานการใช้ถ่านไบโอชาร์ปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการฟื้นฟูไม้ผลละมุดหลังน้ำท่วม และการดำเนินงานในส่วนกิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการยืนอายุผลไม้ตัดแต่งสดเป็นชิ้นสำหรับผู้บริโภค และการแปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์จากละมุดกิจกรรมที่ 3 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาด เป็นไปตามโครงการ จึงขอรายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ดังนี้

              เมื่อวันที่ 23-26 กันยายน 2567 ได้จัดกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตละมุดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP และการแปรรูปละมุดสุโขทัย โครงการหมู่บ้านละมุดท่าทอง จ.สุโขทัย ปีที่ 2 ณ ตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ณ. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้

           ผลการดำเนินงานมีเกษตกรผู้ปลูกละมุดเข้าร่วมการอบรม การอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตละมุดคุณภาพที่ได้มาตรฐาน GAP และการฟื้นฟูต้นละมุดหลังน้ำท่วม ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2567 จำนวน 36 ท่าน การบรรยายเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืชและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) และมีการเขียนและยืนใบสมัครขอการรับรองมาตรฐาน (GAP) จำนวน 34 ท่าน กับหน่วยงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ และจะมีการลงตรวจแปลงละมุดในปีงบประมาณ 2568 ในต้นปีงบประมาณ และการบรรยายภาคทฤษฏีและปฏิบัติในส่วนของการจัดการไม้ผลละมุดหลังน้ำท่วม ด้วยเทคโนโลยีถ่านไบโอชาร์และเทคโนโลยีฟื้นฟูระบบรากและการจัดการธาตุอาหารพืชทางใบ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีเกษตรกรเข้ารับการอบรม 36 ท่าน และทุกท่านเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่แปลงละมุดทั้งหมดและการท่วมขังของน้ำในแปลงไม้ผลละมุดยาวนานกว่า 15 วัน
 
            การบรรยายภาคทฤษฏีและปฏิบัติในส่วนของการจัดการไม้ผลละมุดหลังน้ำท่วม ด้วยเทคโนโลยีถ่านไบโอชาร์และเทคโนโลยี ฟื้นฟูระบบรากและการจัดการธาตุอาหารพืชทางใบ จากการลงสำรวจแปลงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพอสรุปประเด็นสภาพ ต้นละมุดที่ถูกน้ำท่วมได้ตามหลักการวิชาการดังนี้ เกิดสภาพการขาดออกซิเจนสำหรับราก ทำให้รากพืชหายใจลดลง การ สร้างพลังงานของต้นพืชลดลง ขาดพลังงานในการดูดน้ำและธาตุอาหารทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารโดยเฉพาะ ไนโตรเจน โพแทสเซียม และโบรอน ต้นละมุดเริ่มแสดงอาการใบเหลืองซึ่งจะแสดงอาการที่ใบแก่หรือใบที่อยู่บริเวณโคน ของกิ่งในทรงพุ่ม อาจจะเจอลักษณะอาการใบลู่ลง หรือห้อยลง และมีอาการใบร่วง บางต้นที่มีดอกหรือผลอยู่บนต้นก็จะทำ ให้เกิดการร่วงของดอกและผลได้ซึ่งสาเหตุการร่วงของดอกและผล เนื่องมาจากต้นพืชเกิดความเครียด (stress) จากสภาพ น้ำท่วมขังเกิดการสร้างฮอร์โมนเอทิลีน (ethylene) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการเร่งการเสื่อมสภาพของ ส่วนต่างๆ ของพืช และพืชเริ่มมีกลไกในการฟื้นฟูตัวเองให้อยู่รอดได้ในสภาพน้ำท่วมขัง มีการสร้างรูเปิดเลนติเซล (lenticel) เป็นช่องเปิดที่สามารถให้อากาศผ่านเข้าออกได้ มักจะสร้างบริเวณส่วนของเปลือกลำต้นที่อยู่เหนือระดับของผิว น้ำเล็กน้อย เมื่อพืชไม่สามารถที่จะดูดน้ำดูดธาตุอาหารได้ ทำให้พืชควบคุมการสูญเสียน้ำโดยปิดปากใบก็จะส่งผลต่อ กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช จึงได้มีการนำข้อมูลที่ได้มาบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจและแนวทางแก้ไขให้เกษตรกร
                โดยสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่สวนละมุดที่เกิดสภาพน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและน้ำนิ่ง อาจเติม อากาศลงในน้ำ ให้มีการไหลเวียนเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำหรือถ้ามีช่องทางในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ก็ใช้วิธีการสูบ น้ำออก และหลังจากน้ำลดแล้วสิ่งที่เราจะทำได้คือปล่อยให้ดินแห้งซัก 2-3 วัน อาจะเป่าลมหรือเติมอากาศลงดิน ให้มีการ กระตุ้นการสร้างรากใหม่แทนรากเดิมโดยการใช้ฮิวมิก, ปุ๋ยสูตร 15-0-0, และน้ำยาเร่งราก 1-แนพทิลแอซีติกเอซิด 100ซีซี: ฮอร์โมน NAA 4.5 เปอร์เซ็น กระตุ้นการเจริญเติบโตของรากและการแตกยอดใหม่ ส่วนระบบรากต้องมีการควบคุมเชื้อโรคที่จะ เข้าทำลายทั้งระบบราก โดยราดโคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา อาจจะใช้ ฟอสเอสทีล อลูมินัม หรือใช้เมตาแลกซิล และให้มีการปรับ pH ของดินด้วยปูนขาว โดโลไมท์ ยิปซัม หรือ ถ่านไบโอชาร์ ทำให้เกิดสภาพที่ดินไม่เหมาะสมต่อการ เจริญของเชื้อโรค เช่นดินทราย ในขณะที่การให้อาหารทางใบเพื่อให้ต้นไม้ได้มีอาหารเพื่อไปเลี้ยงใบ ดอก ผล ในช่วงที่ระบบ รากไม่สามารถทำงานได้โดบการให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยตัวอะมิโน ธาตุอาหารพืชทางใบสูตร 30-10-10 กรณีต้นไม่ติดผล แต่ในกรณีต้นหรือแปลงที่กำลังติดผลให้ใช้ 13-5-42 รวมกับธาตุอาหารรองได้แก่แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และโบรอน โดยการส่งมอบให้เกษตรกรนำไปทดสอบในแปลงและจะมีการติดตามผลหลังจากน้ำลดในพื้นที่สวนคาดว่าปัญหา สภาพน้ำท่วมขังในพื้นที่แปลงละมุดจะแห้งและเกษตรกรสามารถเข้าฟื้นฟูสภาพต้นละมุดได้ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึง พฤศจิกายน เนื่องจากพื้นที่ตำบลท่าทองโดยเฉพาะแปลงละมุดในพื้นที่หมู่ 3 และ 6 ยังคงเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมรอบใหม่ที่ 2 และ 3 ของจังหวัดสุโขทัย
               ระหว่างวันที่ 25-26 กันยายน 2567 ได้มีการจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการยืดอายุผลไม้ตัดแต่งสดเป็นชิ้น สำหรับผู้บริโภคและการแปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์จากละมุด ในส่วนของการคัดเลือกวัตถุดิบ การเตรียมวัตถุดิบสำหรับการ แปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์จากละมุด เทคโนโลยีการยืดอายุละมุดตัดแต่งสดเป็นชิ้นสำหรับผู้บริโภค และการอบรมเชิง ปฏิบัติการการแปรรูปละมุดกรอบลอยแก้ว การผลิตน้ำละมุดพร้อมดื่มแบบพาสเจอร์ไรซ์การเตรียมวัตถุดิบและการแปร รูปท๊อฟฟี่ละมุด และการเตรียมวัตถุดิบและการแปรรูปไวน์ละมุด โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 30 ท่าน
 
http://clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/1765/sci2024/4-2567.pdf


รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 07/10/2567 [5316]
80000 66