หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์เพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตพืชสมุนไพร บ้านหนองยาง ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
"กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกล้วยและสมุนไพรบ้านหนองยาง - กลุ่มผู้เลี้ยงโคบ้านหนองยาง"
ผล : 1.ชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม โดยพืชสมุนไพรในชุมชนที่ต้องการให้พัฒนาและเพิ่มมูลค่านั้นได้แก่ ไข่ผำ มะกรูด ใบบัวบก และว่านหางจระเข้ เป็นโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชน ซึ่งหลังจากที่ได้ลงชุมชนและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันแล้ว ทางชุมชนได้ขอให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตสบู่เหลวอาบน้ำ แชมพูสมุนไพร ซึ่งต้องนำ ไข่ผำ มะกรูด ใบบัวบก และว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อใช้ในครัวเรือน และเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม 2.กำหนดฐานกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ การผลิตพืชสมุนไพร และการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรในชุมชนการบริการอาหารและเครื่องดื่มจากผลผลิตของชุมชน และการจัดชุดอาหารคาวหวาน และเครื่องดื่มสมุนไพรสำหรับรับรองนักท่องเที่ยว 3.ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดจำหน่ายผ่านระบบ Digital marketing - Digital Marketing หมายถึงการตลาดที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง และรับสื่อได้ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อย่าง Smart Phone หรือคอมพิวเตอร์ โดยลงผ่าน Digital Platform ต่างๆ - Social Media Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์หรือเครื่องมือในการทำ Digital Marketing โดยเป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายด้วย Digital Advertising, Digital Ad ผ่าน Social Media Platform ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram 4.อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้นำเพื่อการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะควบคู่ไปกับการทำงานพัฒนาชุมชน ประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมในแต่ละชุมชน ผู้นำโดยส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่มีความสนใจใฝ่รู้ศึกษาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ จะศึกษาด้วยตนเอง วิธี การศึกษาด้วยตนเองนั้น อาจเป็นการสังเกตสิ่งที่ตนเองพบเห็น แล้วจดจำมาทดลองปฏิบัติ หรือผ่านการพูด คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลต่างๆจัดกลุ่มพูดคุย
ผล : 1.ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงามของชุมชน ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร - สบู่เหลวอาบน้ำ - แชมพูสมุนไพร - คุ๊กกี้ผำ - ไอศครีมผำ - ชาผำ - เครื่องดื่มมอกเทล และค้อกเทลผำ 2.ออกแบบสำหรับการท่องเที่ยว One Day Trip ได้ดังนี้ 09.00 น จุดนัดพบที่บึงกุย สะดืออีสาน 09.30 น วนอุทยานโกสัมพี 10.00 น. วัดบ้านเหล่าโพธ์ 11.00 น. ฐานวิถีอาหารพื้นบ้าน 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ไร่แสนดี 13.00 น. ฐานแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรชุมชน 14.30 น ฐานสปาเท้า 16.00 น ฐานชมทุ่งดอกปทุมมา / สวนผักกาด (ตามฤดูกาล) 3.ในปัจจุบันกลุ่มโพธิ์ยางแคนได้มีการสร้างช่องทางผ่าน Social media เช่น Facebook, TikTok เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่ม และขายสินค้าต่างๆ ของชุมชน คณะดำเนินการได้ร่วมออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในการจัดจำหน่ายในการออกบูธ และงานแสดงสินค้า โดยสินค้าที่ชุมชนได้คัดเลือกในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยางโพธิ์แคน YangPoKhan 4.กลุ่มโพธิ์ยางแคนเกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรหลายกลุ่มจาก 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองยาง บ้านเหล่าโพธ์ บ้านหนองแคน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งภายใต้การรวมกันนั้นมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เกิดขึ้นและเป็นต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ และได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ มากมาย
ผล : ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 1. กลุ่มวิสาหกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้ จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ คือ สบู่เหลวสมุนไพร แชมพูสมุนไพร ครีมนวดผมไอศครีม เครื่องดื่มสมุนไพร 2. กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคบ้านหนองยาง สามารถนำมูลสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบของปุ๋ย สามารถเพิ่มรายได้จากการผลิต และขายปุ๋ยอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 240,000 บาท/ปี (เป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการในปีที่ 1) 3. กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกกล้วยและสมุนไพรบ้านหนองยางสามารถลดรายจ่าย ต้นทุนปุ๋ยราคาถูก เพราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หาได้จากท้องถิ่น 4. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรมีผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มรายได้จากการการแปรรูป ไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/ปี โดยรายได้มาจากการออกบูธขายสินค้า และการจัดแสดงสินค้าให้ผู้ที่มาศึกษาดูงาน ณ ไร่แสนดี และงานในเขตอำเภอโกสุมพิสัย ตัวชี้วัด ผลกระทบด้านสังคม 1. เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการฝึกพัฒนาฝีมือเกษตรกร ให้มีความสามารถเพิ่มรายได้ ลคต้นทุน ในขบวนการผลิตทั้งเป็นแบบรายกลุ่ม รายเดียว 2. การมีส่วนร่วมของนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและชุมชน ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองยาง (กลุ่มผู้เลี้ยงโคและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มผู้ปลูกกล้วยและพืชสมุนไพร กลุ่มดอนกลอย) / ร้านเคมีภัณฑ์ช้อปมหาสารคาม (ผู้ประกอบการ) / บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (สถานศึกษา) 3. สร้างวิทยากรชุมชนและปราชญ์ชุมชนไม่น้อยกว่า 10 คน ได้แก่ - ตัวแทนกลุ่มผู้กลุ่มผู้เลี้ยงโคและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 3 ท่าน โดยมีผู้นำกลุ่มคือ นางสาวศรีนวล โพธิ์ขี - ตัวแทนกลุ่มผู้ปลูกกล้วยและพืชสมุนไพร เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น การทำยาหม่อง ลูกประคบ สบู่เหลว แชมพู จำนวน 4 ท่าน โดยมีผู้นำกลุ่มคือ นางสายสวาท สิงบัญชา - ตัวแทนกลุ่มแปรรูปเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร เช่น การทำไข่เค็มสมุนไพร การทำถั่วตัด ข้าวพอง การทำเครื่องดื่มสมุนไพร ไอศครีม จำนวน 3 ท่าน โดยมีผู้นำกลุ่มคือ นางสาวอุไรวรรณ เดยะดี ตัวชี้วัด ด้านสิ่งแวดล้อม ความสามารถของชุมชนในการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน และการเพิ่มมูลค่าของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [5260] |
กิจกรรมที่ 1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม สู่วิถีชุมชนที่ยั่งยืน รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [5260] |
42300 | 50 |
4 [5261] |
กิจกรรมที่ 2. ฐานการเรียนรู้ “คุณภาพผลิตภัณฑ์ วิถีเกษตรอินทรีย์ วิถีชีวิตน่าอยู่ วิถีชุมชนที่ยั่งยืน” รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [5261] |
35900 | 50 |
4 [5262] |
กิจกรรมที่ 3. เทคโนโลยีการส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านระบบ Digital marketing เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวแบบนวัตวิถี รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [5262] |
35900 | 50 |
4 [5264] |
กิจกรรมที่ 4. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มในการเป็นวิทยากรชุมชน รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [5264] |
35900 | 50 |