หมู่บ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน ผ้าไหม GI คึมมะอุบัวลาย
บ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน หมู่ที่ 3,9 ต.หนองหว้า อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา
ผล : 1. ได้เทคนิควิธีการลอกกาวเส้นไหม ให้สะอาด และง่ายต่อการย้อมสี 2. ได้วิธีการสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ ให้ได้สี พืช 4 ชนิด ประกอบด้วย ครั่ง เปลือกประโหด แก่นเข เปลือกยูคาลิตัส 3. ได้เทคนิควิธีการย้อมสี ให้ได้สีจากการสกัด จำนวน 4 สี ประกอบด้วย แดง เขียว ส้ม และดำ 4. ได้วิธีการ การเตรียมสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี 4 ชนิด
ผล : 1. ได้เทคนิควิธีการลอกกาวเส้นไหม ให้สะอาด และง่ายต่อการย้อมสี 2. ได้วิธีการสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ ให้ได้สี แดง เขียว ส้ม ดำ ประกอบด้วย ครั่ง เปลือกประโหด แก่นเข เปลือกยูคาลิตัส 3. ได้เทคนิควิธีการย้อมสี ให้ได้สีจากการสกัด 1.สีแดง จากครั่ง 2. สีส้ม จากประโหด 3. สีเขียว จากแก่นเข 4. สีดำ จากเปลือกยูคาลิปตัส 4. ได้วิธีการ การเตรียมสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี ประกอบด้วย (1) สารแทนนิน ได้จากพืชที่ให้รสฝาดและเปรี้ยว เช่น ต้นกล้วย ใบมะขาม ใบส้มเสี้ยว เป็นต้น ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติช่วยให้สีติดกับเส้นไหมได้ดีขึ้น โดยการต้มลงไปในสีย้อมที่สกัดไว้แล้ว พอต้มได้ที่แล้ว นำไปกรองผ้าขาวบาง แล้วค่อยนำเส้นไหมลงไปย้อม (2)สารส้ม มีคุณสมบัติช่วยจับยึดกับเส้นด้าย และช่วยให้สีสดสว่างขึ้น มักใช้กับการย้อมด้วยพืชที่ให้เฉดสีน้ำตาล-เหลือง-เขียว เช่น แก่นแข ใบหูกวาง เปลือกประดู่ เปลือกมะพร้าว เป็นต้น (3)น้ำปูนใส ได้จากปูนขาวที่ใช้กินกับหมาก หรือทำจากการเผาเปลือกหอย โดยการละลายปูนขาวหรือเปลือกหอยที่ผ่านการเผาในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน จะได้น้ำปูนใสมาใช้เป็นสารช่วยย้อมต่อไป ถ้ามใช้ปูนแดงมาทำน้ำปูน ต้องเป็นปูนที่ผสมด้วยขมิ้นเท่านั้น (สีปูนจะเป็นสีแดงอิฐ) ห้ามเป็นปูนแดงที่ได้จากการนำปูนขาวผสมด้วยสีแดงผสมอาหาร (4)น้ำโคลน ใช้ดินโคลนจากก้นสระที่มีน้ำขังตลอดปีมาละลายในน้ำเปล่า สัดส่วนน้ำ 1 ส่วนต่อดินโคลน 1 ส่วน จะช่วยให้สีเข้มหรือโทนสีเทา-ดำ เช่นเดียวกับน้ำสนิม (กรองเอาสิ่งแปลกปลอมออกให้เหลือแต่ดินโคลนเหลวๆ)
ผล : เพิ่มรายได้ การนำองค์ความรู้/เทคโนโลยีไปใช้ในชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ของชุมชน จากอาชีพการทอผ้า และสามารถเกิดการท่องเที่ยวในชุมชนสามารถสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับชุมชน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งเสริมให้ได้มาตรฐาน เช่น มาตรฐาน มผช. มาตรฐานตรานกยุงพระราชทาน หรือ GI สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อชิ้น 500-1,000 บาท ต่อ ลดรายจ่าย การนำองค์ความรู้/เทคโนโลยีไปใช้ในชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ของชุมชน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสีย้อมเคมีที่ปัจจุบันกลุ่มใช้เป็นประจำ โดยเปลี่ยนมาใช้พืชในชุมชนมาสกัดเป็นสีย้อมเส้นไหมแทน จากกระบวนการผลิตผ้าไหม ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ในองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดไป ไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือความร่วมมือของชุมชนเอง สังคม คนในสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น จากผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนช่วยกันประชาสัมพันธ์ หรือเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น และสามารถสร้างเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชน สามารถที่จะสร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ๆให้กับคนในชุมชนได้ สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันการย้อมสีเส้นไหมของกลุ่ม จะย้อมสีเคมีเป็นส่วนใหญ่ และถ้าดำเนินโครงการนี้ได้สำเร็จ โดยการย้อมสีธรรมชาติ ทำให้ลดปัญหาด้านมลพิษของน้ำสีจากเคมีที่เหลือจากการย้อมลงได้ และทำให้ดีต่อผู้ผลิตในด้านสุขภาพดีขึ้น
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [5209] |
วันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 13/09/2567 [5209] |
75900 | 50 |
4 [5210] |
วันที่ 17-18 สิงหาคม 2567
การสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ ประกอบด้วย รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 13/09/2567 [5210] |
38200 | 50 |
4 [5211] |
วันที่ 19-20 สิงหาคม 2567
สารช่วยติดในการย้อมครั้งนี้ ประกอบด้วย รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 13/09/2567 [5211] |
50900 | 50 |