เมืองคองโมเดล หมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ชุมชนเมืองคอง ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ผล :
ผล :
ผล :
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [5246] |
กิจกรรมที่ 1การคัดเลือกแม่พันธุ์ปลา การพัฒนาต้นแบบบ่อเพาะเลี้ยงปลาระบบปิดและการอนุบาลปลาในระยะยาว ( 25 กรกฎาคม –6สิงหาคม พ.ศ.2567) ผู้ร่วมกิจกรรม 1.กลุ่มเพาะเลี้ยงปลามอน ชุมชนหมู่ 3 2.ผู้แทนและสมาชิก อบต. เมืองคอง 3.อาจารย์จาก มทร.ล้านนา น่าน และเชียงใหม่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.ชุมชนเมืองคอง ทั้ง 6หมู่บ้าน 2.เยาวชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ผลผลิต 1. ต้นแบบบ่อเพาะเลี้ยงปลาในระบบปิด 2. ลูกปลามอน จำนวนประมาณ 250,000 ตัว ผลลัพธ์ 1. ผู้นำชุมชนทั้ง 6หมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในกระบวนการปล่อยปลาที่เพาะได้ลงสู่ลำน้ำ 2. เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ปลากลมมอนให้มีมากขึ้น
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม คณะทำงาน นักวิจัย ทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลากลมมอน จากแหล่งน้ำธรรมชาติ และการจัดทำระบบบ่อเพาะเลี้ยงปลาในระบบปิด มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการ รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [5246] |
40920 | 20 |
4 [5247] |
กิจกรรมที่ 2การออกแบบสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ( 2-4 สิงหาคม 2567)
ผู้ร่วมกิจกรรม 1.ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.เยาวชนในพื้นที่ 3.อาจารย์จาก มทร.ล้านนา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.ชุมชนเมืองคองและเยาวชน 2.นักท่องเที่ยว ผลผลิต 1. สื่อสร้างสรรค์ข้อมูลเกี่ยวกับปลากลมมอน จำนวน 1 คลิป 2. สื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมปล่อยปลาเพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 2 ช่องทาง
ผลลัพธ์ 1. ชุมชนใช้สื่อในการเผยแพร่กระบวนการเพาะเลี้ยงปลากลมมอนในระบบปิดเพื่อการอนุรักษ์ 2. ชุมชนใช้สื่อในการแผยแพร่กิจกรรมภายในให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและบุคคลภายนอก
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม ทีมสื่อสร้างสรรค์เข้าร่วมเก็บภาพ และคลิปภาพเคลื่อนไหวในระหว่างกระบวนการเพาะเลี้ยงปลากลมมอนในระบบปิด รวมถึงการปล่อยปลากลมมอนโดยชุมชนมีส่วนร่วมและนำข้อมูลเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่น และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [5247] |
35380 | 100 |
4 [5249] |
กิจกรรมที่ 4 อบรมแนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย ( 11-13 กันยายน 2567)
ผู้ร่วมกิจกรรม 1.สมาชิก อบต.เมืองคอง 2.ตัวแทนผู้ประกอบการ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.สมาชิก อบต.เมืองคอง 2.ตัวแทนผู้ประกอบการ 3. ผู้นำชุมชน 4. นักท่องเที่ยว ผลผลิต
ผลลัพธ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการจัดการการท่องเที่ยวและการดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้อง เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและสามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม ทีมวิทยากรจาก ปภ.จังหวัดเชียงใหม่และภาคเอกชน ได้ให้ความรู้แก่ผู้ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ รุ่นแรกที่เข้าอบรมคือ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคอง ข้าราชการ ลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในพื้นที่ได้รับความรู้ในการใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกู้ภัยทางสูง เนื่องจากพื้นที่ตำบลเมืองคองมีลักษณะเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขา ถนนทางเข้ามีความคดเลี้ยว และลาดชันในบางช่วง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หน่วยงานในพื้นที่สามารถเข้าช่วยเหลือในเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [5249] |
30000 | 30 |
4 [5250] |
กิจกรรมที่ 3อบรมการใช้งานแพลตฟอร์ม “เมืองคองโมเดล” เพื่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์( 2-4 สิงหาคม 2567) ผู้ร่วมกิจกรรม 1.องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคอง 2.ตัวแทนผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.ชุมชนเมืองคอง 2.นักท่องเที่ยว ผลผลิต
ผลลัพธ์
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ให้ชุมชนได้เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในพื้นที่ และได้ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลที่จำเป็น สอบถามความต้องการใช้งานของชุมชน และได้มีการขยายผลการทำงานโดยทำความร่วมมือกับมูลนิธิสารสนเทศไทย เพื่อพัฒนาเว็บไซด์ภาษาไทยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของเมืองคองได้ง่าย สะดวกมากยิ่งขึ้นคือ www.เมืองคอง.ไทย (อยู่ในระหว่างการพัฒนา) โดยหัวหน้าโครงการในนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้เป็นตัวแทนในการประสานงาน เพื่อลงนาม บันทึกความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับมูลนิธิฯ ที่จะเข้ามาสนับสนุนเว็บไซด์ให้แก่ชุมชนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลา 3ปี รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [5250] |
39400 | 20 |