การพัฒนาองค์ความรู้ด้าน IOT และจัดเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่น ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี


วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตร หมู่ที่ 1 บ้านเดิมบาง วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ตำบลเดิมบาง และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไทยเท่

รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2
[5173]

กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 8 มีนาคม 2567

การดำเนินงาน : การปรับแก้ ข้อเสนอโครงการ การพัฒนาองค์ความรู้ด้าน IOT และการจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการ และ วางแผนการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ  

ผลการดำเนินงาน : แผนการดำเนินกิจกรรม

1. วางแผนงาน ด้านเทคโนโลยี IOTและระบบการติดตามผล สำหรับใช้ในการปลูกข้าวในแปลงทดลอง  และ โรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ โดยยังมีผลลัพธ์ตามKPI ที่นำเสนอไว้

2.วางแผนการแปรรูป ผลิตในชุมชนให้เกิดเป็นสินค้าที่จำหน่ายได้ และเกิดการกระจายได้แก่สมาชิกในชุมชน

3. นัดหมายการลงพื้นที่ เพื่อหารือร่วมกันกับกลุ่มสมาชิก และแจ้งแผนการดำเนินงาน 

งบประมาณที่ใช้ 0 บาท

ผู้ร่วมกิจกรรม : 5 คน



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [5173]
0 5
4
[5297]

รายงานผลการดำเนินงาน TCS  ไตรมาสที่ 4   ระหว่างเดือน เมษายน ถึง กันยายน  2567

กิจกรรมที่ 2  :  วันที่ 1 เมษายน 2567

ได้รับการติดต่อจาก คุณทนงศักดิ์ นุ่มดี   สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเดิมบาง เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องพัฒนาโรงเรียนในตำบลเดิมบางและตำบลด่านช้าง

การดำเนินงาน : เดินทางลงพื้นที่ ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อร่วมประชุมกับผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอเดิมบางนางบวช  5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดเดิมบาง  โรงเรียนท่าเตียน  โรงเรียนวัดปากน้ำ โรงเรียนท่าช้าง และโรงเรียนวังคันจากอำเภอด่านช้างพบปัญหาเรื่องนักเรียนในพื้นที่มีจำนวนน้อย ส่วนมากเป็นเด็กด้อยโอกาส เนื่องจากครอบครัวมีรายได้น้อย ส่วนครอบครัวที่มีรายได้มักจะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีทรัพยากรพร้อมกว่าหรือโรงเรียนเอกชน ยกตัวอย่างโรงเรียนวัดปากน้ำ เป็นโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา 1-3  มีนักเรียนประมาณ 60 คน เป็นโรงเรียนขยายโอกาส  มีนักเรียนขยายโอกาส 30 คน และนักเรียนระดับประถม 1-6 ประมาณ ุ30  คน ส่วนมากเป็นเด็กยากจน  เด็กในครอบครัวมีฐานะดีจะเข้าเรียนที่ โรงเรียนธรรมโชติ  หรือโรงเรียนวัดท่าเตียน มีการเรียนการสอน ถึงชั้นประถมปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวน  80 คน  ส่วนมากมีฐานะยากจน  ถ้ามีฐานะจะให้บุตรหลานไปเรียน โรงเรียนอนุบาลยอดไม้งาม เป็นต้น  ปัญหาที่เกิดขึ้น คือโรงเรียนไม่มีงบประมาณในการจัดหาสื่อการสอน  

ผลการดำเนินงาน : จากการร่วมกันระดมความคิด และต้องการหาแนวทางในการพัฒนาให้โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้และไม่น่าเบื่อสำหรับเด็ก  เนื่องจากโรงเรียนที่มีปัญหา เป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีจำนวนนักเรียนน้อย จึงไม่มีการบรรจุครูด้านการเกษตร โรงเรียนจึงไม่มีการเรียนการสอนด้านการเกษตรที่สามารถสร้างพืชผลที่นำมาใช้เป็น อาหารกลางวันหรือสร้างรายได้ให้แก่โรงเรียนหรือนักเรียนได้  ผู้บริหารโรงเรียนมองเห็นว่า หากเริ่มต้นจากการเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใข้ทางการเกษตร ให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสทำการเกษตรที่ทันสมัย แบบ smart farm และสร้างความรู้สึกรักถิ่นฐาน และแผ่นดินของพ่อแม่ในการสร้างรายได้   จึงหารือเรื่ององค์ความรู้ด้าน IOTที่ราคาย่อมเยาว์ นำมาถ่ายทอดให้แก่คุณครูได้เรียนรู้ และนำไปใช้ในโรงเรียน พร้อมถ่ายทอดให้แก่ เด็กนักเรียนในโรงเรียนของตนเองได้  และใช้เป็นต้นแบบ สามารถนำไปใช้ในโรงเรียนต่างๆได้   ทีมงานคลินิกเทคโนโลยี  จึงรับมาพิจารณาเพื่อดำเนินการหาแนวทางพัฒนาต่อไป



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5297]
16000 20
4
[5298]

กิจกรรม  3  วันที่  18 พฤษภาคม 2567   

กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตรให้กับเด็กและเยาวชน โรงเรียนวัดเดิมบางและโรงเรียนวัดท่าเตียน เรียนรู้การเพาะต้นกล้าจำนวน 30 ราย โดยมุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในการปลูกพืชผักและกาปรุงดินเกษตรคุณภาพสูงเพื่อการเพาะปลูก

 

การดำเนินงาน : จัดกิจกรรมโดนเริ่มต้นด้วยการบรรยายความรู้จากวิทยากรที่เชียวชาญด้านการเกษตร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การเพาะต้นกล้า การปรุงดิน การทำปุ๋ย พร้อมทั้งเทคนิคต่างๆที่จำเป็นในการปลูกพืชให้มีคุณภาพ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสถาม-ตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและประโยชน์แก่ตัวนักเรียนเอง

หลังจากการบรรยาย นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การเตรียมหน้าดินการเพาะต้นกล้า การสร้างสารชีวภาพดูแลต้นพืชอย่างน้ำหมักซึ่งประกอบไปด้วยวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักมี 4 อย่างด้วยกัน ประกอบด้วย ผัก หรือผลไม้ที่เหลือจากการบริโภคน้ำหนักรวมประมาณ 4 กิโลกรัมสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซองกากน้ำตาล 1 กิโลกรัมและน้ำเปล่า ไว้ใช้สำหรับการปรุงดินเพื่อให้พืชผักเติบโตได้ดี และยังมีการปฏิบัติจนถึงการเก็บเกี่ยวพืชผัก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ช่วยให้เยาวชนเกิดความรักและความเข้าใจในกระบวนการเกษตรอย่างแท้จริง

 

 

ผลการดำเนินงาน : ได้ดินที่มีคุณภาพสูงสำหรับเพาะปลูกประมาณ 500 กิโลกรัม และ นักเรียนและครูจำนวนประมาณ 30 คนได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรุงดินเกษตรคุณภาพสูง พร้อมทั้งมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน การอบรมนี้สร้างเยาวชนน้อยหัวใจสีเขียวที่รักการเกษตรอย่างแท้จริง



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5298]
14000 30
4
[5299]

กิจกรรมที่ 4   วันที   25 พฤษภาคม 2567

กิจกรรมสร้างเสริมความรู้ทางการเกษตรแก่เยาวชนโดยมีหัวข้อคือ การทำจุรินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยมีผู้เข้าร่วมคือ นักเรียนจาก โรงเรียนวัดเดิมบาง โรงเรียนวัดประชมสงฆ์ โรงเรียนวัดท่าเตียน จำนวน 40 คน

การดำเนินงาน  : หลังจากการสอน เด็กนักเรียนและผู้สนใจให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยและการปรุงดินแล้วจึงมีการจัดกิจกรรมที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์ในการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน   กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการอธิบายวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จากนั้นนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยการเตรียมส่วนผสมต่าง ๆ และเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาสารที่ได้อย่างถูกต้อง การใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนในการผลิตในแปลงเกษตรและนาข้าว แต่ยังทำให้ผู้ปลูกและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย โดยมีการให้ความรู้และลงมือปฏิบัติ เรื่องกระบวนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งกระบวนการทำคือเราจะต้องนำอาหารมาเลี้ยงตัวจุลินทรีย์ โดยนำอาหารมาเพาะเชื้อใส่ลงไปในขวดที่มีน้ำแล้วนำขวดที่มีอาหารและน้ำไปตั้งตากแดด โดยอาหารก็คือไข่ไก่นั่นเอง

 สารชีวพันธุ์กำจัดแมลงเพื่อนำไปใช้ และ ยังมีการปฏิบัติเพื่อให้เด็ฏมีความเข้าใจ และ ปลูกฝังและ สนุกไปกับทำการเกษตร

ผลจากกิจกรรม : นักเรียนและครูจำนวนประมาณ 40 คนได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาแปลงเกษตรทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ผลลัพธ์นี้ไม่เพียงแต่สร้างความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับนักเรียน แต่ยังส่งเสริมให้เกิดการเกษตรที่ยั่งยืนและปลอดภัยในชุมชน สร้างอนาคตที่สดใสและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5299]
12000 40
4
[5300]

กิจกรรมที่ 5   วันที่ 5  มิถุนายน  2567    กิจกรรมปลูกข้าว กข.43  

การดำเนินงาน 

การดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนบ้านเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ในการเตรียมดินและการดำนาเป็นให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีระบบ เริ่มต้นด้วยการบรรยายเกี่ยวกับขั้นตอนการปลูกข้าว การเตรียมดิน การดำนา และเทคนิคการดูแลรักษา ซึ่งช่วยให้เด็ก  เข้าใจถึงความสำคัญของการเกษตรและการทำงานอย่างมีระบบ

 

หลังจากการบรรยาย นักเรียนจากโรงเรียนวัดเดิมบาง โรงเรียนวัดประชุมสงฆ์ และโรงเรียนวัดท่าเตียน ได้ลงมือทำจริง โดยมีปราชญ์ชาวบ้านคอยแนะนำและสาธิตขั้นตอนต่าง  อย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้เยาวชนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในสนาม นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวิธีการดำนาอย่างถูกต้อง รวมถึงการจัดเรียงต้นกล้าในแปลงให้มีระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่เสริมสร้างทักษะด้านการเกษตรให้กับเยาวชน แต่ยังปลูกฝังให้พวกเขามีใจรักและความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก  ในการดูแลรักษาและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรในอนาคต

 

ผลการดำเนินงาน   นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปลูกข้าวอย่างละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากสุพรรณบุรีเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตข้าว การเรียนรู้ในครั้งนี้จะทำให้เยาวชนมีความเข้าใจและเคารพในวิถีชีวิตเกษตรกรรมของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืนในอนาคต



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5300]
20000 40
4
[5302]

กิจกรรมที่ 6: วันที่ 19 มิถุนายน 2567 – ส่งเสริมการปลูกผักเคลและผักสลัด

การดำเนินงาน:
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 คุณทนงศักดิ์ นุ่มดี ร่วมกับทีมงานจากคลีนิเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักเคลและผักสลัด โดยเริ่มต้นด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการปรุงดิน การทำปุ๋ย และการผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

เพื่อให้การปลูกมีประสิทธิภาพ ทีมงานได้จัดเตรียมแปลงปลูกผักในโรงเรือน ซึ่งมีโครงหลังคาคลุมด้วยสแลนเพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังมีระบบรดน้ำอัตโนมัติที่ทำงานด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้การปลูกผักเคลในแปลงนี้เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรในชุมชนบ้านเดิมบาง

สำหรับวิธีการปลูกผักเคลและผักสลัด:

1 การเตรียมดิน:

ใช้ดินที่มีความร่วนซุย ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มสารอาหาร

2 การเพาะต้นกล้า:

หว่านเมล็ดในถาดเพาะ รดน้ำให้ชุ่ม และรอประมาณ 7-14 วันจนเมล็ดงอก

3 การย้ายปลูก:

เมื่อกล้ามีอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ ย้ายปลูกในแปลงปลูก โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30-45 เซนติเมตร

4 การดูแลรักษา:

การรดน้ำรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงที่มีแดดจัด

การใส่ปุ๋ยใส่ปุ๋ยเสริมทุก 2-3 สัปดาห์ โดยเลือกใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง

5 การเก็บเกี่ยว:

หลังจากปลูกประมาณ 4-6 สัปดาห์ นักเรียนและเกษตรกรสามารถเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยมีการขายในรูปแบบออนไลน์โดยให้ลูกค้าสั่งจองผักล่วงหน้าก่อนตัดขาย ราคาขายกำหนดไว้ที่ถุงละ 35 บาท หรือ 3 ถุงในราคา 100 บาท

ผลการดำเนินงาน:
หลังจากการปลูกเป็นระยะเวลาหลายวัน นักเรียนและเกษตรกรในชุมชนสามารถเริ่มเก็บผักเคลและผักสลัดได้ ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรในช่วงนี้ โดยมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 บาทต่อสัปดาห์ แต่ยังส่งเสริมให้เกิดการตระหนักถึงการปลูกผักอย่างมีคุณภาพในชุมชนอีกด้วย



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5302]
22000 10
4
[5303]

กิจกรรมที่ 7 :วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 – การเรียนรู้ระบบโซล่าเซลล์และ IoT สำหรับการบริหารจัดการในแปลงเกษตร

การดำเนินงาน:
ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรและเยาวชนในชุมชนบ้านเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับการต่อวงจรชุดนอนนาและการนำพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์มาบริหารจัดการในแปลงเกษตร

กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการบรรยายเกี่ยวกับพื้นฐานของระบบโซล่าเซลล์ รวมถึงวิธีการคำนวณขนาดไฟฟ้าที่ต้องการและค่าความต่างศักย์ การเก็บประจุในแบตเตอรี่ รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยี IoT เพื่อให้สามารถควบคุมและตรวจสอบระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสทดลองต่อวงจรจริง เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง  ที่ใช้ในระบบโซล่าเซลล์ และทำความเข้าใจการทำงานร่วมกันระหว่างโซล่าเซลล์และระบบ IoT ในการติดตามสภาพแวดล้อมและการใช้งานพลังงานในแปลงเกษตร

ในกิจกรรมนี้ เราได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน โซล่าเซลล์ และ IoT ในการบริหารจัดการในแปลงเกษตร โดยมีรายละเอียดดังนี้:

 

1 การต่อวงจรโซล่าเซลล์:

ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้วิธีการติดตั้งโซล่าเซลล์ รวมถึงการต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อสร้างระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ในแปลงเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 การคำนวณพลังงาน:

มีการสอนวิธีการคำนวณขนาดไฟฟ้าที่ต้องการ โดยการประเมินการใช้พลังงานในแต่ละวัน รวมถึงค่าความต่างศักย์ที่จำเป็นในการทำงานของระบบ

3 การเก็บประจุในแบตเตอรี่:

ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะสม และวิธีการเก็บประจุไฟฟ้า เพื่อให้สามารถใช้งานไฟฟ้าได้ตลอด24 ชั่วโมง

4 การใช้งาน IoT:

มีการสอนเกี่ยวกับการใช้ IoT ในการติดตามและควบคุมอุปกรณ์ในแปลงเกษตร เช่น การตรวจสอบความชื้นในดิน การควบคุมระบบรดน้ำอัตโนมัติ รวมถึงการส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะของแปลงเกษตรได้แบบเรียลไทม์

ผลการดำเนินงาน:
กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าร่วม ซึ่งมีหลายคนที่แสดงความต้องการที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแปลงเกษตรของตนเอง นอกจากนี้ยังมีการร้องขอให้จัดกิจกรรมดังกล่าวอีกครั้งในอนาคต เพื่อให้เกษตรกรและเยาวชนในชุมชนสามารถมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการเกษตรมากยิ่งขึ้น

การนำโซล่าเซลล์และเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการเกษตรไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนการผลิต ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาพืชผล ทำให้เกษตรกรสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดีขึ้นอีกด้วย



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5303]
31000 30
4
[5306]

กิจกรรมที่ 8: วันที่ 7 สิงหาคม 2567 – การปรึกษาหารือ เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป

การดำเนินงาน:
 
วิสาหกิจชุมชนบ้านเดิมบางได้จัดกิจกรรมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักเคลสดและข้าวโพดสดโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

ในการประชุม ทีมงานได้ชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการส่งผักเคลให้กับลูกค้าในจังหวัดต่าง  ซึ่งมักจะส่งผลให้ผักเหี่ยวและมีคุณภาพต่ำเมื่อถึงมือผู้บริโภค การแปรรูปผักเคลสดเป็นเคลผงและข้าวโพดสดเป็นข้าวโพดผงจะเป็นทางเลือกที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา อีกทั้งยังทำให้สามารถขนส่งได้สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การแปรรูปผักเคลให้เป็นเคลผงนั้น ทีมงานได้เสนอให้ใช้เครื่องอบลมร้อนซึ่งมีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นออกจากผักเคล โดยขั้นตอนจะเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบที่สดใหม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ก่อนที่จะนำไปอบและบดละเอียด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการวางแผนพัฒนาผักเคลผงให้สามารถชงดื่มได้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้ทุกเมื่อ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบัน

ในการประชุมครั้งนี้ ทีมงานยังได้เข้าเยี่ยมพบปะกับเกษตรกรที่ปลูกเคลและข้าวโพดในชุมชนบ้านเดิมบาง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรโดยตรง การพูดคุยนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้แปรรูป และทำให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ ทีมงานยังได้พูดคุยเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจและสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการเพิ่มมูลค่าของผักเคลและข้าวโพดเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกภายในชุมชน

ผลการดำเนินงาน:
หลังจากการปรึกษาหารือ ทีมที่ปรึกษาได้มีการวางแผนที่จะลงพื้นที่เพื่อเก็บผลผลิตผักเคลและข้าวโพดจากสมาชิกในชุมชนซึ่งจะถูกนำไปดำเนินการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป ในการลงพื้นที่นี้ ทีมงานจะดำเนินการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตและคุณภาพของวัตถุดิบ เพื่อให้การแปรรูปมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปนี้ จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และเปิดโอกาสให้กับเกษตรกรในการสร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว การประชุมในครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนบ้านเดิมบาง และเป็นการสร้างแนวทางใหม่  ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืนในอนาคต



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5306]
8000 8
4
[5307]

 

กิจกรรมที่ 9: วันที่ 27 สิงหาคม 2567 – การเตรียมการเรียนรู้การปลูกข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริ

การดำเนินงาน:
ในวันที่ 27 สิงหาคม 2567 วิสาหกิจชุมชนบ้านเดิมบางได้จัดกิจกรรมเพื่อเตรียมการเรียนรู้การปลูกข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริ ซึ่งเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงในด้านคุณภาพและรสชาติที่ยอดเยี่ยม ข้าวชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่น เช่น ความนุ่ม ความหอม และรสชาติหวานที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เป็นที่นิยมในตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและคุณภาพของอาหาร

กิจกรรมในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและเยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวชนิดใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายในพื้นที่ สุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในการปลูกข้าวหลากหลายชนิด แต่ข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริเป็นชนิดที่ยังไม่ค่อยมีการปลูกกันมากนัก วิสาหกิจชุมชนจึงได้วางแผนทดลองปลูกข้าวชนิดนี้ โดยใช้ระบบ IoT เพื่อช่วยในการจัดการแปลงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

ในระยะแรก ทีมงานได้เริ่มทำการเตรียมดิน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเพื่อให้ดินมีความเหมาะสมสำหรับการปลูก โดยในกระบวนการนี้ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสอนวิธีการหมักดินและการเตรียมแปลงปลูกข้าว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้เยาวชนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีแผนให้ได้ทดลองดำนาข้าวในเดือนถัดไป เพื่อสร้างความรักและความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร

ผลการดำเนินงาน:
หลังจากการเตรียมแปลงปลูก เยาวชนและเกษตรกรในชุมชนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการหมักดิน การเตรียมแปลงปลูกข้าว และการดำนาข้าว ซึ่งช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคต่าง ๆ ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริ

ด้วยคุณสมบัติของข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริที่มีความนุ่มและหอม รสชาติอร่อย จึงเหมาะสำหรับการบริโภคทั้งในครัวเรือนและการค้า ข้าวชนิดนี้ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภค

การทดลองปลูกข้าวญี่ปุ่นในชุมชนบ้านเดิมบางจึงไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับการผลิตข้าวในพื้นที่ แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับเกษตรกรในการสร้างรายได้ที่มั่นคง โดยเยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีความรู้ความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับการปลูกข้าวและอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาชุมชนในอนาคตอย่างยั่งยืน



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5307]
25000 5
4
[5308]

กิจกรรมที่ 10: วันที่ 28 สิงหาคม 2567 พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ข้าว” ที่ปลอดภัย

การดำเนินงาน:
ในกิจกรรมนี้ กลุ่มเกษตรกรในชุมชนบ้านเดิมบางได้ร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง ส่งตรงจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค โดยมุ่งหวังให้ผู้บริโภคได้รับประทานข้าวที่สะอาดและปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งเป็นการส่งเสริมการบริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ

กลุ่มเกษตรกรได้วางแผนการปลูกข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริและต้องการมีสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ด้วยเหตุนี้ สมาชิกในวิสาหกิจชุมชนจึงได้ร่วมกันคิดบรรจุภัณฑ์และออกแบบตราสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับผลผลิตข้าวญี่ปุ่นที่กำลังจะดำเนินการปลูก

ในกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สมาชิกได้เลือกใช้ถุงกระสอบที่มีคุณภาพ โดยบรรจุในขนาด 1 กิโลกรัม ซึ่งจะช่วยให้สามารถขนส่งและเก็บรักษาข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การออกแบบตราสินค้ายังมุ่งหวังให้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและดึงดูดผู้บริโภคได้

ผลการดำเนินงาน:
สมาชิกในกลุ่มเกษตรกรได้ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงามและทันสมัย โดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการวางแผนราคาขายที่จะรอให้เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเสร็จสิ้นก่อน เพื่อตั้งราคาที่เหมาะสมและแข่งขันได้ในตลาด

การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงขึ้น แต่ยังส่งเสริมการบริโภคข้าวที่ปลอดภัยและมีคุณภาพให้กับผู้บริโภคในชุมชนอีกด้วย การดำเนินงานในครั้งนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเกษตรกรรมและสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5308]
7000 8
4
[5310]

กิจกรรมที่ 11: วันที่ 18 กันยายน 2567 – คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนพืชสวนทฤษฎีใหม่ "กินอยู่ปลอดภัยอย่างไทยเท่" และ ทสม.

การดำเนินงาน:
ในวันที่ 18 กันยายน 2567 วิสาหกิจชุมชนพืชสวนทฤษฎีใหม่และกลุ่ม ทสม. ได้จัดกิจกรรมที่น่าสนใจและมีคุณค่า เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีโซล่าเซลล์และระบบ IoT ในการเกษตรกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในชุมชน โดยมุ่งหวังให้สมาชิกและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความสนใจของสมาชิกในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้การใช้โซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยทางทีมงานได้ออกแบบกิจกรรมให้เป็นการเรียนรู้แบบเชิงปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าใจการทำงานของโซล่าเซลล์ได้อย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่การติดตั้งไปจนถึงการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงที่ใช้ในงานเกษตร

ในระหว่างการอบรม มีนักเรียนจากโรงเรียนวัดปากน้ำเข้าร่วม พร้อมด้วยคุณครูจากสองท่า สมาชิกสภาจังหวัด และบุคคลที่สนใจในชุมชน เช่น นางสาวเกษร, นายวัชระ, นายวีระ, นายรักษ์เกียรติ์, นางสามอารี, นางสาวพัชรี, นางสาวกนกวรรณ, และนายทนงศักดิ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกัน การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนนี้สร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความตั้งใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ โดยผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสทดลองติดตั้งโซล่าเซลล์ชุดนอนนาและเรียนรู้การใช้งานระบบ IoT ที่สามารถช่วยในการควบคุมและตรวจสอบสภาพแวดล้อมในแปลงเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน:
หลังจากการอบรม สมาชิกในชุมชนและนักเรียนสามารถเข้าใจระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างลึกซึ้ง โดยพวกเขาสามารถถอดและติดตั้งระบบได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการใช้งานระบบ IoT ที่ทำให้การเกษตรมีความทันสมัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

การฝึกอบรมนี้ไม่เพียงแต่เสริมสร้างความรู้และทักษะ แต่ยังช่วยให้สมาชิกในชุมชนมีความมั่นใจในการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืนให้กับเยาวชนในชุมชน โดยมุ่งหวังว่าพวกเขาจะสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในการทำเกษตรกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

กิจกรรมในครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่ไม่เพียงแต่สร้างความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ แต่ยังส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งและมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้างเสริมความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย



รายงานโดย ตาล จนท.2 มจธ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5310]
35000 30
4
[5311]

กิจกรรมที่ 12     วันที่ 26 กันยายน 2567 
จ่ายค่าจ้าง ในการดำเนินกิจการรม การเก็บข้อมูล และการประเมินผล โครงการ ให้แก่  นางสาว กมลวรรณ ชินวงค์  ระยะ เวลา 2 เดือน 



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5311]
30000 1