ตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนเพื่อสังคมบ้านไตรรัตน์
บ้านไตรรัตน์ หมู่ ๙
ผล : (1) การจัดตกแต่งพื้นที่ ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค อย่างต่อเนื่อง ทุกวันอาทิตย์ 2 สัปดาห์/ครั้ง ในครั้งแรกเริ่ม 10.00 น. ถึง 21.00 น. ต่อมาปรับเวลาให้เหมาะสม โดยเริ่มเวลา 15.00 - 21.00 น. (2) เกณฑ์ร้านค้าที่กำหนดโดยกลุ่มชุมชนบ้านไตรรัตน์ ที่สามารถขายของชุมชนในพื้นที่จัดกิจกรรม (3) การรับสมัครและคัดกรองร้านค้าที่สามารถขายของชุมชนในพื้นที่จัดกิจกรรม ตามข้อ (2) (4) เวบเพจ ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค เพื่อเป็นช่องทาง ประชาสัมพันธ์ ประกาศข่าวสาร ระหว่าง ร้านค้า ลูกค้าทั้งในและนอกชุมชน (5) ป้ายประชาสัมพันธ์ เวบเพจประชาสัมพันธ์ สื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ เช่น Facebook / Tiktok (6) ซุ้มประตู ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค (7) การเตรียมพื้นที่ เช่น เต้นท์ โต๊ะ การตกแต่งซุ้มทางเข้า เป็นต้น (8) วัสดุกองฟาง เพื่อเป็นที่นั่งฟังเพลง รับประทานอาหาร ในพื้นที่ ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค (9) การเชื่องโยงเครือข่าย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ใกล้เคียง หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในอำเภอไทรโยค เช่น กลุ่มสมุนไพรและเกษตรปลอดภัยไทรโยค กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มชมรมนักศึกษา กลุ่มครูโรงเรียนต่างๆ กลุ่มโรงเรียนทุเรียนแปลงใหญ่ทองผาภูมิ ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานไทรโยค ร้านค้าในพื้นที่ อบต.ลุ่มสุ่ม สถานีตำรวจ กลุ่มเยาวชนในชุมชน เป็นต้น
ผล : การเพิ่มรายได้ - สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในชุมชน / พื้นที่การหารายได้ให้กับชุมชนบ้านไตรรัตน์และชุมชนพื้นที่ใกล้เคียง บนเส้นทางท่องเที่ยว สาย 232 ด้วยการพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่ง อบต.ลุ่มสุ่ม เช่าระยะยาว เพื่อก่อให้เกิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนในทุกช่วงวัย - เกิดการจ้างงาน และกระจายรายได้ของเยาวชน แรงงาน กลุ่มการแสดง ในชุมชน เป็นต้น การลดรายจ่าย - ร้านค้าในชุมชนอุดหนุนกันเอง โดยการผลิต แปรรูป และขายในราคามิตรภาพ - ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เป็นหลักกว่าร้อยละ 50 - เกิดการแลกเปลี่ยน ซื้อขายวัตถุดิบล่วงหน้าในกลุ่มร้านค้าชุมชนในราคามิตรภาพ และสินค้ามีความสดใหม่ ทำให้ลดต้นทุน และคุณภาพผลิตภัณฑ์ดีขึ้น - ลดค้าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อหาซื้อวัตถุดิบนอกพื้นที่ หรือ การขายของในพื้นที่ห่างไกล
ผล : แผนการดำเนินงานในไตรมาสต่อไป วิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ความต้องการในการพัฒนากิจกรรม ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค และเตรียมส่งข้อเสนอโครงการต่อเนื่องปีที่ 3
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3 [5193] |
1. ชื่อโครงการ ตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนเพื่อสังคมบ้านไตรรัตน์ ชื่อหัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช สังข์อยุทธ์ สังกัด คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล (มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี)
2. ระยะเวลาดำเนินโครงการ (ระบุวันเริ่มต้น - สิ้นสุดโครงการ) มีนาคม 2567-กันยายน 2567
3. งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 220,000บาท เบิกจ่ายแล้ว 67,600 บาท (ค่าตอบแทน 57,600 บาท ค่าใช้สอย 10,000 บาท)คงเหลือ 152,400 บาท
4. กิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว (โปรดใส่รูปภาพดำเนินการกิจกรรม) 4.1 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 การประชุมวางแผนการดำเนินการโครงการฯ ของทีมคณะทำงานฯ ผ่านระบบ WebEx จำนวน 6 ท่าน ไม่มีค่าใช้จ่าย
4.2 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ MU Café มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 9ท่าน การประชุมชี้แจงและวางแผนกำหนดการดำเนินการโครงการฯ ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.นงนุช สังข์อยุทธ์และ ดร.จุฑามาศ สุคนธปฏิภาค และกลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน5 ท่าน และได้มีโอกาสต้อนรับการเยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมกับผู้นำชุมชนบ้านไตรรัตน์ จากองค์กร CityNetโดย Mr.Chris Di Gennaro, Program Officer, CityNet Secretariat และ ผศ.ดร.อำนาจ เจรีรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการสร้างความร่วมมือในอนาคต การทำงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น (ค่าใช้จ่าย จำนวน 990 บาท)
4.3 วันที่ 18 มีนาคม 2567 ณ MU Café มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 17ท่าน การประชุมสอบถามรูปแบบความต้องการในการถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มรายได้จากหัวไชเท้า นัดหมายกำหนดการ และมอบหมายงานแบ่งหน้าที่ในการเตรียมการดำเนินงานส่วนต่าง ๆ ร่วมกัน ร่วมถึงการเตรียมการสร้างซุ้มขายของในตลาด รูปแบบกฎ กติกา ร้านค้า สินค้าต่างๆ ทั้งรูปแบบการสร้างและการประมาณการจัดหางบประมาณ ของทีมคณะทำงานฯ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มผู้นำชุมชน (ค่าใช้จ่าย จำนวน 2,550 บาท)
4.4 วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้อง Co-Working Space มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 74 ท่าน การประชุมเพื่อประชุมความคืบหน้ารูปแบบการสร้างซุ้มตลาดชุมชน การเพิ่มรายได้จากการบริหารจัดการตลาด และอื่น ๆ ในที่ประชุมของหมู่บ้านไตรรัตน์ พร้อมทั้งตกลงร่วมกันและนัดหมายกำหนดการ มอบหมายหน้าที่และค้นหาข้อมูล ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มผู้นำชุมชน (ค่าใช้จ่าย จำนวน 2,550 บาท)
4.5 วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 การประชุมเพื่อสำรวจความต้องการรูปแบบการเพิ่มรายได้จากหัวไชเท้า เครื่องมือหยอดเมล็ดการปลูกหัวไชเท้า และ อื่น ๆ ในที่ประชุมของหมู่บ้านไตรรัตน์ พร้อมทั้งตกลงร่วมกันและนัดหมายกำหนดการ ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ กลุ่มนักศึกษา กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มชุมชนในหมู่บ้านฯ
4.6 วันที่ 14 มิถุนายน 2567 ผ่านระบบ WebEx จำนวน 6 ท่าน การประชุมเพื่อสำรวจความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมตลาดชุมชน การประกาศข้อกำหนดการรับสมัครร้านค้าเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของตลาด การกำหนดข้อตกลง กติกา ในการบริหารจัดการตลาด และอื่น ๆ พร้อมทั้งตกลงร่วมกันและนัดหมายกำหนดการ มอบหมายหน้าที่และค้นหาข้อมูล ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ และกลุ่มผู้นำชุมชน (มีค่าใช้จ่าย 1,360 บาท)
เนื้อหาของกิจกรรม กิจกรรมย่อยที่ 1 องค์ความรู้ที่ 1การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของชุมชน - การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของชุมชน กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - เทคนิคการปลูกหัวไชเท้าให้ได้ผลผลิตสูง เทคนิคการจัดการโรคและแมลงศัตรูหัวไชเท้า - การแปรรูปพืชผลเกษตร ตามฤดูกาล เช่น หัวไชเท้า หน่อไม้ ฟักทอง เป็นต้น - การออกแบบบรรจุภัณฑ์ พืชผลเกษตรแปรรูป เช่น หัวไชโป๊หวาน/เค็ม หน่อไม้ ฟักทอง เป็นต้น กิจกรรมย่อยที่ 2 องค์ความรู้ที่ 2การยกระดับคุณค่าและภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการของชุมชน - การรวบรวมเมนูจาก หัวไชเท้า ทั้งอาหารคาว และ อาหารหวาน สร้างแบรนด์ ตลาดชุมชน กฎระเบียบ โครงสร้างการบริหารตลาด เป็นต้น กิจกรรมย่อยที่ 3 องค์ความรู้ที่ 3การติดตามและประเมินการดำเนินงานตามมาตรฐานสุขอนามัยของตลาดชุมชน - มาตรฐานการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการมีจิตใจในการให้บริการที่ดี (Service Mind) ของตลาดชุมชน - การติดตามและประเมินการดำเนินงานตามมาตรฐานสุขอนามัยของตลาดชุมชน มาตรฐานการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการมีจิตใจในการให้บริการที่ดี (Service Mind) ของตลาดชุมชน (การติดตามและขยายผล) กิจกรรมย่อยที่ 4 องค์ความรู้ที่ 4การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM ศึกษาของโรงเรียน - การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM ศึกษาของโรงเรียน กิจกรรมย่อยที่ 5 องค์ความรู้ที่ 5การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางสหวิทยาการในระดับอุดมศึกษา - การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางสหวิทยาการในระดับอุดมศึกษา กิจกรรมย่อยที่ 6 องค์ความรู้ที่ 6การสร้างเครือข่ายชุมชนและการศึกษาดูงาน - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงาน สร้างความสัมพันธ์และระดมสมอง หาแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างบทบาทช่องทางหารายได้ร่วมกันจากตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนร่วมกัน
5. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายที่รายงาน 5.1 สรุปจำนวนผู้รับบริการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ไม่ซ้ำเป็นตัวเลข 52 คน 5.2 สรุปจำนวนผู้รับบริการที่มีการติดตามผล (เป็นตัวเลข) 48 คน 5.3 จำนวนผู้รับบริการที่นำไปใช้ประโยชน์ (เป็นตัวเลข) 40 คน 5.4 สรุปร้อยละความพึงพอใจผู้รับบริการ ร้อยละ 84% - ผู้รับการถ่ายทอดการแปรรูปหัวไชเท้าดองสูตรเกาหลีสนใจขอสูตรการทำและนำไปลองทำที่บ้าน โดยเป็นการแปรรูปหัวไชเท้าไว้เพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่าย - ผู้รับการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ถังรักษ์โลกเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์และแปลงมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มจุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกพืช ผักสวนครัว ไว้ใช้ในครัวเรือน โดยสนใจหลักการทำถังรักษ์โลกและนำไปลองใช้ที่บ้าน โดยเป็นการลดขยะ และนำมาใช้ประโยชน์ เกิดผลพลอยได้ในการปรับปรุงคุณภาพดินและปลูกพืชผักในครัวเรือนเพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่ายได้ 5.5 มูลค่าทางเศรษฐกิจ สรุปรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือค่าใช้จ่ายที่ลดลง (เป็นตัวเลข) - ผู้รับการถ่ายทอดการแปรรูปหัวไชเท้าดองสูตรเกาหลีสนใจขอสูตรการทำและนำไปลองทำที่บ้าน โดยเป็นการแปรรูปหัวไชเท้าไว้เพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่าย ลดต้นทุนการสูญเสียเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า (อยู่ระหว่างดำเนินการ) เป็นต้น จำนวนผู้ใช้ประโยชน์ 20 คนๆละ 300 บาทต่อเดือน คิดเป็นลดรายจ่ายได้ 72,000 บาท/ปี (ประมาณการ) - อัตราการประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า ร้อยละ 3-4% หรือประมาณ 400 บาทต่อไร่ (หากคิดที่ ราคาเมล็ดพันธุ์ 1600 บาทต่อ 500 กรัม และสัดส่วนการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ 4 กก. ต่อ ไร่) พื้นที่ 200 ไร่ จะประหยัด ค่าเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า ร้อยละ 3-4% หรือประมาณ 400x200=80,000บาท ต่อ 200ไร่ ต่อ 1 รอบการผลิต (ประมาณ 50 วัน) โดย 1 ปี หากปลูกได้ 3 รอบต่อปี จะประหยัด ค่าเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า คิดเป็น 80,000x3=240,000บาท ต่อ200ไร่ ต่อปี(ประมาณการ) - ผู้รับการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ถังรักษ์โลกเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์และแปลงมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มจุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกพืช ผักสวนครัว ไว้ใช้ในครัวเรือน โดยสนใจหลักการทำถังรักษ์โลกและนำไปลองใช้ที่บ้าน โดยเป็นการลดขยะ และนำมาใช้ประโยชน์ เกิดผลพลอยได้ในการปรับปรุงคุณภาพดินและปลูกพืชผักในครัวเรือนเพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่ายค่าซื้อผัก ลดการซื้อของสดเกินการใช้ประโยชน์จริง ลดการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้ เป็นต้น จำนวนผู้ใช้ประโยชน์ 20 คนๆละ 400 บาทต่อเดือน คิดเป็นลดรายจ่ายได้ 81,000 บาท/ปี (ประมาณการ) 5.6 ผลผลิตตามข้อเสนอโครงการ (อธิบายผลผลิตที่ได้จากการดำเนินการโครงการ)
5.7 ผลลัพธ์ตามข้อเสนอโครงการ (อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากผลผลิตที่เกิดขึ้น) - ผู้เข้าร่วมโครงการมีช่องทางสร้างรายได้ ลดรายจ่ายได้มากขึ้น - ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักและใช้เครื่องมือทุ่นแรงในการหยอดเมล็ด และทำให้การบริหารจัดการแปลงง่ายขึ้น - ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนักในการกระจายรายได้โดยใช้แรงงานในชุมชน อุดหนุนของในชุมชน - โอกาสเกิดผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นจากการปลูกแบบหยอดเมล็ด แทนการหว่านเมล็ด - ผู้เข้าร่วมเกิดการตระหนักในการใช้ทรัพยากรและผลกระทบการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม เช่น เมล็ดพันธุ์ การลดขยะจากเศษอาหาร เป็นต้น - ผู้เข้าร่วมเกิดความเอื้ออาทร การช่วยเหลือกันในชุมชน การจ้างงานในชุมชน การอุดหนุนผลผลิต ผลิตภัณฑ์ในชุมชน - ผู้เข้าร่วมเกิดการสร้างเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในชุมชน เป็นต้น 5.8 ผลกระทบตามข้อเสนอโครงการ(อธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน) ด้านเศรษฐกิจ - เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน - เกิดโอกาสในการหารายได้หลายช่องทาง ด้านสังคม - เกิดสังคมที่เข้มแข็ง มีอัตลักษณ์ รักษาวัฒนธรรมและวิถีของชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม - เกิดการตระหนักในการใช้ทรัพยากรและคำนึงถึงผลกระทบการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม เช่น เมล็ดพันธุ์ การลดขยะจากเศษอาหาร เป็นต้น
รายงานโดย นายธนากร ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 05/07/2567 [5193] |
67600 | 52 | ||||||||||||||||||||||||||||
4 [5251] |
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วในไตรมาสที่ 4 ทั้งหมด 5 ครั้ง 1. กิจกรรมเตรียมพื้นที่ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค ครั้งที่1 วันที่ 24 สิงหาคม 2567สถานที่บนถนนหลวง 232 หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี (พิกัด X=14.1278889, Y=99.1684722) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม60,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม40 คน 2. กิจกรรมทดลองเปิด ร้านค้าใน ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค ครั้งที่ 1 วันที่ 25 สิงหาคม 2567 สถานที่บนถนนหลวง 232 หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี (พิกัด X=14.1278889, Y=99.1684722) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม 40,400 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม52 คน 3. กิจกรรมทดลองเปิด ร้านค้าสาธิต ครั้งที่ 2 ร่วมกับการถอดบทเรียนเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการให้เกิดรายได้ที่เหมาะสมร่วมกัน พร้อมการจัดการอบรมการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชน จากกิจกรรมที่ 4.2 (ครั้งที่ 1 การเปิดร้านค้า ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค) วันที่ 29 สิงหาคม 2567 สถานที่ศาลาประชาคม หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม 13,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม52 คน 4. กิจกรรมทดลองเปิด ร้านค้าใน ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กันยายน 2567 สถานที่บนถนนหลวง 232 หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี (พิกัด X=14.1278889, Y=99.1684722) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม 13,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม52 คน 5. กิจกรรมทดลองเปิด ร้านค้าใน ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กันยายน 2567 สถานที่บนถนนหลวง 232 หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี (พิกัด X=14.1278889, Y=99.1684722) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม13,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม52 คน 6. กิจกรรมทดลองเปิด ร้านค้าใน ลานวิถีชุมชนคนไทรโยค ครั้งที่ 5 วันที่ 22 กันยายน 2567 สถานที่บนถนนหลวง 232 หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี (พิกัด X=14.1278889, Y=99.1684722) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม13,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม52 คน
รายงานโดย นายธนากร ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 30/09/2567 [5251] |
152400 | 52 |