ปลูกไผ่ สร้างมูลค่า คืนชีวิตให้ป่า ณ บ้านป่าสัก
กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ ต.ป่าสัก อ.วังชิ้น จ.แพร่
ผล : จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี 50คน จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด 3 เรื่อง จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 6 คน ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 80 จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ 6 คน สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น 1.5 เท่า
ผล : จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี 50คน จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การทำหัวเชื้อบิวเวอเรีย 2. การทำหัวเชื้อไตโคเดอม่า 3. การทำดินพร้อมปลูกใบไผ่ และ 4. การเพาะเห็ด จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 6 คน ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 80 จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ 6 คน สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น 1.5 เท่า
ผล : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่คณะทำงานได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ โดยสามารถที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคคลอื่นๆในหมู่บ้านได้เพิ่มขึ้น
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [5201] |
คณะทำงานได้เดินทางไปยังบ้านป่าสัก อำเภอวังชิ้น เพื่อขอเข้าพบ นายกฤศ สินทะมณี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและกิจกรรมที่จะมีการจัดขึ้นในลำดับต่อไป พร้อมกันนี้ได้ทำการนัดพบตัวแทนสมาชิกกลุ่มหน่อไม้ไผ่เป๊อะแปลงใหญ่ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและเชิญชวนขอความร่วมมือให้สมาชิกท่านอื่นๆได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมีการจัดขึ้น รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 24/08/2567 [5201] |
3420 | 7 |
4 [5285] |
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ตำบลป่าสัก ในวันที่ 20 กรกฏาคม 2567 เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ควาามรู้ทางเทคโนโลยีด้านการเพิ่มผลผลิตเพื่อให้เกิดผลผลิต(หน่อไม้) โดยทางคณะทำงานได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ จำนวน 50 คน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ทางคณะทำงานได้นำเสนอการทำการนำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า และเชื้อบิวเวอเรีย มาทำสารผสมเพื่อป้องกันกำจัดโรคร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน โดยผู้เข้าร่วมอบรมได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติทุกขั้นตอน และได้ผลผลิตเป็นเชื้อไตรโคเดอร์ม่า และเชื้อบิวเวอเรียพร้อมใช้ในการนำไปกำจัดโรคและสามารถบำรุงดินให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดโรค แทนที่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งเกษตรกรและอาจจะมีการตกค้างของสารเคมีที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพต่อผู้บริโภคได้อีกด้วย รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5285] |
47000 | 50 |
4 [5290] |
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ตำบลป่าสัก ในวันที่ 21 กรกฏาคม 2567 เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ควาามรู้ในการทำเกษตรวิถีพอเพียง โดยทางคณะทำงานได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ จำนวน 50 คน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ทางคณะทำงานได้นำเสนอการทำดินใบไผ่ และการเพาะเห็ด ซึ่งในกิจกรรมที่ 1 คือการทำดินใบไผ่พร้อมปลูก ซึ่งเป็นการนำใบไผ่ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มักจะถูกมองข้ามมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ความรู้และลงมือผสมดินด้วยตนเอง ทั้งนี้ดินที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นจะนำไปทดลองใช้ปลูกพืชไม้สวนครัวเพื่อเป็นการลดภาระการซื้อดินปลูก และในกิจกรรมที่ 2 คือการเพาะเห็ด โดยกิจกรรมจะเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในการเพาะเห็ด 2 ชนิดได้แก่ เห็ดโคนปลวก และเห็ดโคนน้อย ซึ่งเห็ดโคนปลวกจะทำการสาธิตการเพาะเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงวิธีการ ในส่วนของเห็ดโคนน้อยผู้เข้าอบรมจะได้ลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดและสามารถนำก้อนเห็ดที่ได้รับการผสมเชื้อเรียบร้อยแล้วนั้นไปดูแลเพื่อเก็บผลผลิตที่จะเกิดขึ้นเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและสามารถลดรายจ่ายได้ รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5290] |
71000 | 50 |
4 [5291] |
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ตำบลป่าสัก ในวันที่ 18 กันยายน 2567 เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ควาามรู้การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยทางคณะทำงานได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ จำนวน 50 คน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ทางคณะทำงานได้นำเสนอการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์และต้นทุนของการดำเนินโครงการหรือ กิจกรรม ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้มีทั้งประโยชน์ทางการเงิน (ประโยชน์ทางตรง) ประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์และประโยชน์ทางสังคม (ประโยชน์ทางอ้อม) ที่สามารถตีมูลค่าและ วัดออกมาในรูปของตัวเงินเพื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนของการดำเนินโครงการได้ซึ่งจะนำไปสู่การประเมินความคุ้มค่าในการบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ ซึ่งการอบรมจะเป็นเสมือนการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในการนำมาบริหารจัดการกลุ่มในอนาคต รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [5291] |
21000 | 50 |
4 [5312] |
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ตำบลป่าสัก ในวันที่ 28 กันยายน 2567 เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการวางแผนการตลาด โดยทางคณะทำงานได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ จำนวน 50 คน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ทางคณะทำงานได้ให้ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ดินพร้อมปลูกใบไผ่ของกลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งทางกลุ่มมีความประสงค์ที่จะทดลองขายให้แก่สมาชิกเพื่อเป็นการทดลองตลาด และหากมีผลประกอบการและผลตอบรับที่ดีก็จะขยายการผลิตและขยายตลาดในอนาคต รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 01/10/2567 [5312] |
21000 | 50 |
4 [5313] |
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ตำบลป่าสัก ในวันที่ 28 กันยายน 2567 เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยทางคณะทำงานได้ทำการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หน่อไม้ไผ่เป๊าะ จำนวน 50 คน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ทางคณะทำงานได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด และกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งทางกลุ่มมีความประสงค์ที่จะขายหน่อไผ่สดให้แก่บริษัทแม็คโคร จึงได้มาปรึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในประเด็นของข้อกฏหมาย และสัญญาที่เกี่ยวข้อง รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 01/10/2567 [5313] |
21000 | 50 |
4 [5314] |
ในช่วงระยะเวลา 1 ปีของการทำงานภายใต้โครง “ปลูกไผ่สร้างมูลค่า คืนชีวิตให้ป่า ณ บ้านป่าสัก”คณะทำงานได้ทำการ ประสานงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ ติดตาม และประเมินผลของการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเป็นการประมวลผลของการจัดกิจกรรมที่ทางคณะทำงานได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการเกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อสามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดได้ในอนาคต ซึ่งการทำงานภายใต้โครงการมีความมุ่งหวังให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เช่นการเพาะเห็ดไว้บริโภคในครัวเรือน และหากมีมากพอก็สามารถที่จะนำไปขายได้ และที่สำคัญสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คิดว่าเป็นของเหลือทิ้งเช่น ใบไผ่ และลำไผ่ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และสามารถที่จะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่เข้าอบรมได้ รายงานโดย ดร. เกศินี วีรศิลป์ วันที่รายงาน 01/10/2567 [5314] |
16580 | 10 |