เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
9123
ชื่อ
เทคโนโลยีการผลิตถ่านชีวภาพ (ถ่านดูดกลิ่น) ชม 67 ครั้ง
เจ้าของ
ดร.สุจิตตรา อินทอง
เมล์
s.inthong@rmutl.ac.th
รายละเอียด

ถ่านชีวภาพ (Biochar) ต่างจากถ่านทั่วไป ในแง่ของจุดมุ่งหมายการนำมาใช้ประโยชน์ คือใช้ประโยชน์จากรูพรุนของถ่านเพื่อการกักเก็บคาร์บอนลงดินและปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยระบายอากาศ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ลดความเป็นกรดของดิน การเผาถ่านชีวภาพใช้การเผาแบบไพโรไลซิส [Pyrolysis)คือ การให้ความร้อนกับมวลชีวภาพ (ไม้,เปลือก, ใบ) ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (หรือมีน้อยมาก) ในการเผาไหม้เพื่อเปลี่ยนมวลชีวภาพให้เป็น ถ่านที่มีคาร์บอนสูง กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) จะได้ก๊าซผสมไฮโดรคาร์บอน ของเหลวคล้ายน้ำมัน กรดอะซิติก อะซิโตน เมทานอล และของแข็งคาร์บอน ซึ่งเรียกว่า ถ่านชีวภาพ (Biochar) มี 2 วิธีหลัก คือ การแยกสลายอย่างช้า (500 °C) ได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาหลาย ชั่วโมง การแยกสลายอย่างเร็ว (700 °C) ผลผลิต ที่ได้จะเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Bio-oil) 60% แก๊ส สังเคราะห์ (Syngas) 20% และถ่านชีวภาพ 20% ถ่านชีวภาพมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการปรับปรุงดิน ที่สำคัดคือ รูพรุนที่ผิวถ่าน ซึ่งทำให้ถ่านชีวภาพสามารถกักเก็บน้ำและธาตุอาหารรวมทั้งเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์

 

 

คำสำคัญ
เทคโนโลยีการผลิตถ่านชีวภาพ  (ถ่านดูดกลิ่น)  
บันทึกโดย
นางสาวชฎาพร  ประทุมมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th