เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ต้นแบบระบบการจัดการน้ำฝนและน้ำใช้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีคอนกรีตพรุน
ชม 48 ครั้ง
7
เจ้าของ
ผศ.ดร.ถนัดกิจ ชารีรัตน์
เมล์
thanudkijc@gmail.com , thanudkij.c@ubu.ac.th
รายละเอียด
การนำไปใช้ : นวัตกรรมนี้มีความใหม่ที่แตกต่างจากผลงานการผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตพรุน ดังนี้คือ
1. มีการวางระบบท่อใต้ผิวทาง (แผ่นพื้นคอนกรีตพรุน) เพื่อให้สามารถจัดการน้ำฝนได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ ระบบการจัดเก็บน้ำฝนเพื่อนำน้ำที่ผ่านการกรองด้วยคอนกรีตพรุนมาใช้งานอีกครั้ง 100 % หรือระบบการเติมน้ำใต้ดิน (Groundwater recharge) เพื่อเป็นทางเท้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. มีระบบการระบายน้ำส่วนเกินออกจากผิวทางและชั้นรองผิวทางเพื่อลดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของผิวทางเท้า ทำให้ได้ทางเท้าที่มีผิวเรียบสม่ำเสมอและมีอายุการใช้งาน (Service life) ที่ยาวนานกว่าผิวทางเดินเท้าที่ไม่มีระบบดังกล่าว
3. มีระบบการแสดงผลปริมาณน้ำกักเก็บ (Retention water) ในถังเก็บน้ำใต้ดินแบบเรียลไทม์ (Real time display) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการกับปริมาณน้ำกักเก็บ/น้ำต้นทุนได้ด้วยตนเอง
4. ระบบการบำบัดน้ำใช้ในครัวเรือนเบื้องต้นด้วยคอนกรีตพรุนเพื่อให้น้ำทิ้งมีคุณภาพดีตามมาตรฐานน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ และ/หรือสามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้ง
สำหรับนวัตกรรมมีระดับเทคโนโลยีระดับที่ 7 คือ ต้นแบบที่มีความใกล้เคียงกับระบบที่จะใช้จริง โดยการทดสอบต้นแบบในสถานการณ์การท่างานจริง
หน่วยงานที่นำไปใช้ : มีการทำเป็นต้นแบบสาธิตที่ทางเดินเท้าไปใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งในพื้นที่เฮือนกำนันภายในอุทยานศิลปวัฒนธรรมอีสานและลุ่มน้ำโขง
คุณค่าและผลกระทบต่อสังคม : เฮือนกำนันภายในอุทยานศิลปวัฒนธรรมอีสานและลุ่มน้ำโขง
คำสำคัญ
บันทึกโดย