เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Wednesday, July 2, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7885
ชื่อ
กรรมวิธีการผลิตเมือกกระเจี๊ยบเขียวชนิดผงละลายน้ำ (โครงการวิจัยปี 2559) ชม 275 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดร.ปาริฉัตร หงสประภาส
เมล์
parichat.h@ku.th
รายละเอียด

เทคโนโลยีการผลิตเมือกกระเจี๊ยบเขียวชนิดผงละลายน้ำ หมายรวมถึงกรรมวิธีการสกัด การผลิตให้อยู่ในรูปผง และการนำไปใช้ในการควบคุมคุณลักษณะการไหลของอาหารเหลวชนิดอื่น กรรมวิธีการสกัดเมือกกระเจี๊ยบเขียวที่มีโปรตีนและใยอาหารสูง ทำโดยใช้ตัวทำละลายที่มีความหนืดและแรงดันออสโมติกสูงกว่าน้ำ ได้เมือกกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นของไหลรีโอเพคติก (Rheopectic fluid) มีความเค้นคราก (yield stress) สูง และเมื่อนำเมือกกระเจี๊ยบเขียวที่สกัดด้วยตัวทำละลายดังกล่าวไปทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย  (spray-dryer) ได้อนุภาคเมือกกระเจี๊ยบเขียวผง (okra mucilage pow-der, OMP) ทรงกลมละลายน้ำได้ดีและมีคุณสมบัติการไหลใกล้เคียงกับมิวซินจากหมู (porcine mu-cin) เนื่องจากการเกิดการแยกเฟสระดับจุลภาค (microscopic phase separation) ของโปรตีน ไกลโคโปรตีนกับพอลิแซคคาไรด์กระเจี๊ยบเขียว การสกัดเมือกกระเจี๊ยบเขียวด้วยน้ำจะให้เมือกกระเจี๊ยบเขียวที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสกัดด้วยตัวทำละลายที่มีคุณสมบัติข้างต้น เนื่องจากมีโปรตีนกระเจี๊ยบเขียวต่ำกว่า เมือกกระเจี๊ยบเขียวที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำเป็นของไหลชนิดเฮอร์เชลบัลค์ลีย์ (Herschel-Bulkly) ที่สามารถนำมาปรับแต่งค่าความเค้นเฉือน (shear stress) ให้สูงขึ้นเมื่อผสมกับมอลโทเดกซ์ทรินสูงกว่า 5% โดยน้ำหนักขึ้นไปโดยความหนืด (viscosity) ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อนำเมือกกระเจี๊ยบเขียวสกัดด้วยน้ำมาผสมกับมอลโทเด็กซทรินในสัดส่วนที่เหมาะสมและทำแห้งด้วยเคื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง (drum dryer) ได้เมือกกระเจี๊ยบเขียวผง (okra mucilage-maltodextrin, OMM) ที่ให้ปัจจัยเสียดทาน (friction factor) ต่ำ แต่เมื่อนำไปผสมกับอาหารเหลวสูตรครบถ้วนที่มีความเข้มข้นของพลังงาน 1.3 กิโลแคลอรีต่อมิลลิลิตรที่ใช้ข้าวเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตร่วมกับมอลโทเดกซ์ทรินที่มีปัจจัยเสียดทาน 0.2 จะทำให้ค่าปัจจัยเสียดทานของอาหารเหลวสูตรครบถ้วนที่ผสมกับ OMM สูงขึ้น และจับตัว (thicken-up) แต่สามารถไหลได้ เมือกกระเจี๊ยบเขียวทั้ง OMP และ OMM ที่ผลิตโดยกรรมวิธีควบคุมประเภทของการแยกเฟสระดับจุลภาค เพื่อควบคุมคุณลักษณะการไหลนี้ เพื่อนำ OMP และ OMM ชนิดผงมาใช้เป็นแหล่งของใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ที่ต้องการเติมเพื่อปรับคุณลักษณะของของไหลในอาหารเป้าหมาย เช่น อาหารผู้สูงอายุที่ต้องการควบคุมความคงตัวและควบคุมอัตราการปลดปล่อยสารอาหารระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร

                                                                                     

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร      
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th