เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7819
ชื่อ
การผลิตสมาร์ทการ์ดเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดโลหะหนักและสารหนูปนเปื้อนในข้าว โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ชม 86 ครั้ง
เจ้าของ
รศ. ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์
เมล์
มหาวิทยาลัยมหิดล benchaporn.ler@mahidol.ac.th
รายละเอียด

การพัฒนาสมาร์ทการ์ดสำหรับใช้ในการตรวจวัดโลหะหนักและสารพิษตกค้างในข้าวมีความสำคัญทั้งในเชิงความปลอดภัยของอาหารต่อผู้บริโภค และการส่งเสริมและผลักดันเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่มีใช้ในระดับห้องปฏิบัติการมุ่งสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด เทคโนโลยีเซนเซอร์ดังกล่าวมีผลการวัดเทียบได้กับเครื่องมือมาตรฐาน สมาร์ทการ์ดที่ถูกออกแบบและพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อและแสดงผลบนหน้าจอของสมาร์ทโฟน ถูกนำไปทดสอบตรวจวัดสารมาตรฐานโลหะหนักผสม 4 ชนิด ได้แก่ สังกะสี แคดเมียม ตะกั่ว และสารหนู ด้วยเทคนิค Stripping voltammetry ร่วมกับบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ด้วยการปรับสภาวะต่าง ๆ พบว่าสมาร์ทการ์ดสามารถตรวจวัดโลหะหนักแยกแต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อระยะเวลาในการให้ค่ากระแสไฟฟ้าเกาะติด (Deposition Time) เท่ากับ 240 วินาที และค่าศักย์ไฟฟ้าเกาะติด (Deposition potential) เท่ากับ -1.4 โวลต์ อย่างไรก็ตามสามารถวัดโลหะหนักได้ชัดเจนเพียง 3 ชนิด คือสังกะสี ตะกั่วและแคดเมียม ในส่วนของสารหนูสามารถวัดได้ที่ความเข้มข้นสูงกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย เมื่อทำการทดสอบหาค่าความเที่ยงของวิธีทดสอบด้วยสมาร์ทการ์ดพบว่าสามารถตรวจวัดปริมาณโลหะหนักสังกะสี แคดเมียม และตะกั่วได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ความเข้มข้น 10 ppm ในการสร้างกราฟมาตรฐานของสารมาตรฐานผสมของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดที่ความเข้มข้น 0 - 2000 ppm พบว่าสารมาตรฐานสังกะสี แคดเมียม และ ตะกั่วสามารถวัดด้วยสมาร์ทการ์ดได้ในระดับ 100 ppb มีเพียงสารหนูที่วัดได้ที่ระดับ 200 ppb ขึ้นไป โดยสารมาตรฐานสังกะสี แคดเมียม และ ตะกั่วให้ค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (r2) มากกว่า 0.9 ยกเว้นสารหนูที่มีค่า 0.85 จากนั้นจึงนำสมาร์ทการ์ดไปทดสอบวัดโลหะหนักในข้าวพบว่า pH ของตัวอย่างมีผลต่อการวัดด้วยสมาร์ทการ์ดเป็นอย่างมาก และไม่พบพีคของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดเนื่องจากปริมาณโลหะหนักในข้าวเมื่อตรวจวัดด้วยเครื่อง ICP-MS มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับความเข้มข้นของโลหะหนักที่สมาร์ทการ์ดสามารถตรวจวัดได้ สมาร์ทการ์ดนี้อาจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อตรวจวัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนจากอุตสาหกรรมลงสู่สิ่งแวดล้อมได้หลายชนิดในคราวเดียวกัน

                                                                                        

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th