เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7815
ชื่อ
ชุดตรวจวัดสารพันธุกรรมของเชื้อ Human Papilloma Virus เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้า ชม 157 ครั้ง
เจ้าของ
รศ. ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์
เมล์
มหาวิทยาลัยมหิดล benchaporn.ler@mahidol.ac.th
รายละเอียด
การติดเชื้อ Human Papilloma virus หรือ HPV เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก HPV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถส่งผลต่อร่างกาย และในบางชนิดยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและอวัยวะที่เกิดการติดเชื้อ HPV 16 เป็นชนิดของไวรัสที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นรอยโรคของโรคมะเร็งช่องปากและมะเร็งปากมดลูก โดยจะพบมากในผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายตํ่า ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ และทำให้เชื้อไวรัสสามารถเจริญเติบโตจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ และที่สำคัญคือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV จะไม่แสดงอาการใด ๆ ในขั้นแรกทำให้ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ในปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV จะทำโดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่คาดการณ์ว่าติดเชื้อไปทำการตรวจวัด (Pap test) และในทางการตรวจวัดทางชีวภาพ (Biosensor) ในบางขั้นตอนจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเพิ่มเติม และมีกระบวนการที่ยุ่งยากต่อผู้ใช้
การตรวจวัดสารพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคทางเคมีไฟฟ้า สำหรับตรวจคัดกรองการติดเชื้อ Human Papilloma Virus จึงถูกออกแบบและพัฒนา เพื่อตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ HPV-16 ซึ่งเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก โดยจะประกอบด้วยกระบวนการสำหรับการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม (Amplification process) การตรวจวัดนี้จะใช้เทคนิค Recombinase Polymerase Amplification (RPA) และกระบวนการสำหรับการตรวจจับเชื้อเป้าหมายและวิเคราะห์ผล (Detection process) จะดำเนินการด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า (Electrochemical technique) นอกจากนี้ยังทดสอบความแม่นยำในการตรวจวัด โดยทดสอบกับ Nested-PCR sample และทดสอบกับตัวอย่างจริง (Real sample) ดังนั้นการตรวจวัดสารพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคทางเคมีไฟฟ้า สำหรับตรวจคัดกรองการติดเชื้อ Human Papilloma Virus ในโรคมะเร็งช่องปากนี้จึงเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งาน ณ สถานที่ที่ทำการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย (Point-of-Care) ได้ ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่าย มีความแม่นยำและสะดวกต่อการใช้งาน
 
                                                                                         
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th