เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7677
ชื่อ
โครงการUtilization of Sacondary Metabolites from Microorganisms (Mushroom, Endophytic Fungi and Actinomycetes) for Agricultural and Environmental Applications ชม 189 ครั้ง
เจ้าของ
ศ ดร สายสมร ลำยองและคณะ
เมล์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยชียใหม่
รายละเอียด

1.พบสารระเหยจากราเอนโดไฟด์สามารถควบคุมโรคหลังการเก็ยเกี่ยวส้มและไข่ สามารถยืออายุของส้มและไย่ได้มากกว่า 2 สัปดาห

2. เป็นการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เอนโดไฟท์ในการการผลิตสาร Indole-3-acetics acid (IAA) ของเชื้อรา Colletotrichum fructicola SDBR CMU-A109 ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ผ่านสารตัวกลาง IAM, IAN, IPyA และ TAM ของ C. fructicola CMU-A109 ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีการผลิต IAA มากที่สุดของการมีรายงานทั้งหมดทั่วโลก สูงถึง 1205 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เมื่อทำการตรวจสอบ IAA เกิดขึ้นจาการเลี้ยงเชื้อด้วย IAM โดย IAA ที่ผลิตขึ้นนั้นตรงกับพีคของสารมาตรฐาน IAA และการทดสอบกิจกรรมของเอนไซม์ Tryptophan 2-monooxygenase พบว่าเชื้อรา C. fructicola CMU-A109 สร้าง IAA ผ่าน IAM pathway ซึ่งในอนาคตเราสามารถใช้สารสกัด IAA จากราเอนโดไฟท์สายพันธุ์ CMU-A109 ทดแทนการสังเคราะห์ IAA แบบเคมีที่มีราคาที่แพงของกระบวนการใช้สารตั้งต้นได้ในอนาคต

3.การศึกษาความหลากหลายของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhizal fungi: AMF) และนำไปผลิตเป็นหัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และควบคุมเชื้อก่อโรคพืช โดยพืชที่ศึกษามีทั้งพืชไร่ พืชสวน และไม้ป่าที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อย แก่นตะวัน ถั่วลิสง พริกหัวเรืออินทรีย์ มะละกอ มะเขือเทศ ยางพารา  ยูคาลิปตัส และยางนา สำหรับการผลิตกล้าชื้อรา AMF นั้น ใช้เทคนิคการเพิ่มปริมาณในกระถาง (pot culture) โดยมุ่งเน้นในการใช้พืชที่มีระบบรากมาก และวงชีวิตสั้น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง  และตะไคร้ สำหรับวัสดุเพาะปลูกพืชนั้นเน้นส่วนผสมที่มีดินเป็นองค์ประกอบหลัก และผสมเพิ่มด้วยวัสดุปลูกประเภทอื่นๆ ลงในดิน เพื่อให้มีน้ำหนักเบา และเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ปุ๋ยคอกมูลวัว กากมะพร้าว vermiculite peat moss และแกลบเผา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาแบคทีเรียช่วยเหลือไมคอร์ไรซา (Mcorrhizal helper bacteria; MHB) ที่แยกได้จากทั้งสปอร์เชื้อรา AMF และดินรอบรากพืช เช่นแบคทีเรียละลายฟอสเฟต (phosphate solubilizing bacteria: PSB)  และแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing bacteria; NFB) เพื่อนำจุลินทรีย์กลุ่ม MHB และ AMF มาใช้ร่วมกันในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยทำในรูปของเชื้อเดี่ยวที่ผสมวัสดุพาหะ และเชื้อผสมในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากกากหม้อกรอง (filter cake) ของโรงงานน้ำตาล

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th