เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7662
ชื่อ
การพัฒนาระบบการกู้คืนสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) จากน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์เป็นผลึกสตรูไวท์: กรณีศึกษานำร่อง ชม 135 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดร.ประยูร ฟองสถิตย์กุล
เมล์
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล preeyapatha.bo
รายละเอียด
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณากระบวนการจัดการของเสียและน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์ภายใต้สภาวะการทดลองจริง และพิจารณาการนำกลับของสารอาหารในน้ำทิ้งหลังการย่อยสลายตะกอนจุลินทรีย์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนการทดลองประกอบด้วย การกำจัดสารอาหาร (Nutrient removal) การปลดปล่อยสารอาหาร (Nutrient release) และการกู้คืนสารอาหารและการตกผลึกสตรูไวท์ (Nutrient recovery and struvite precipitation) โดยผลการศึกษาพบว่า ในสภาวะการทดลองจริง ระบบ AnA2/O2 SBR มีประสิทธิภาพการบำบัด COD TKN และ TP มากกว่า 90% สอดคล้องกับผลการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา ขณะที่การขยายระยะเวลาของ SRT ช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ ทำให้ปฏิกิริยาทางชีวภาพเกิดได้ดีขึ้น
สำหรับกระบวนกู้คืนสารอาหาร ผลการทดลองในการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า กระบวนการย่อยสลายแบบ
ไร้อากาศ (ASD) ทำให้เกิดการสลายตัวของสารอินทรีย์ในตะกอนจุลินทรีย์ ช่วยปรับเสถียรให้ตะกอนมีความคงตัวและ
มีปริมาณลดลงก่อนส่งกำจัดในขั้นสุดท้าย ซึ่งการขยายระยะเวลาของ SRT ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการ ทำให้การย่อยสลายเกิดได้ดีขึ้น ตรงข้ามกับการปลดปล่อยสารอาหารในตะกอนจุลินทรีย์ที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อ SRT เพิ่มขึ้น ขณะที่กระบวนการ MAP ช่วยลดความเข้มข้นของสารอาหารสะสมในน้ำทิ้งหลังกระบวนการ ASD โดยการรวมตัวกันของ NH4+ และ PO43- ในน้ำทิ้งกับเกลือของแมกนีเซียม (Mg2+) เป็นก้อนผลึกแข็ง ซึ่งแนวโน้มการเกิดผลึกจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน Mg : N : P และค่า pH ที่เพิ่มขึ้น    
 
                                                       
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th