เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7660
ชื่อ
การใช้ชีววิทยาเชิงสังเคราะห์เพื่อผลิตไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.167.2 (สายพันธุ์เดลต้า) สำหรับการทดสอบยาและวัคซีน ชม 277 ครั้ง
เจ้าของ
รศ. พญ. อรุณี ธิติธัญญานนท์
เมล์
arunee.thi@mahidol.edu arunee.thi@mahidol.ac.th
รายละเอียด

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) ส่งผลกระทบทางด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกอย่างรุนแรง ดังนั้นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาของไวรัสดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสาคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารีคอมบิแนนท์ไวรัส SARS-CoV-2 ที่มียีนโปรตีนเรืองแสงสีเขียว mNeonGreen (rSARS-CoV-2-mNG) ด้วยวิธี Reverse genetics โดยจีโนมของไวรัสจะถูกเปลี่ยนเป็น complementary DNA หรือ cDNA หลาย ๆ ชิ้นส่วน โดยชิ้นส่วน cDNA นั้นจะถูกนามาประกอบเข้าด้วยกันเป็นสายเต็ม cDNA ของ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.617.2 (สายพันธุ์ Delta) จากนั้นสายเต็ม cDNA ดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นสายเต็มเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ด้วยกระบวนการ In vitro transcription และสาย mRNA ดังกล่าวจะถูกถ่ายโอนเข้าสู่เซลล์ Baby Hamster Kidney (BHK) และเซลล์ Vero E ที่มีการแสดงออกของโปรตีน transmembrane serine protease 2 ของมนุษย์ (Vero E6-TMPRSS2) เพื่อให้เกิดการแสดงออกเป็นรีคอมบิแนนท์ไวรัส โดยในงานวิจัยนี้ได้สามารถผลิต rSARS-CoV-2-mNG ที่สามารถติดตามเซลล์ได้ติดเชื้อไวรัสผ่านการแสดงออกของโปรตีนเรืองแสงสีเขียว mNeonGreen โดยไม่ต้องอาศัยการตรวจจับเซลล์ติดเชื้อโดยการย้อมโปรตีนของไวรัสด้วยแอนติบอดีที่จาเพาะ พบว่า rSARS-CoV-2-mNG สามารถทาให้เกิดการติดเชื้อและมีลักษณะการเกิด Cytopathic effects (CPE) และ plaque morphology ในเซลล์ติดเชื้อเช่นเดียวกับไวรัส SARS-CoV-2 ที่แยกได้จากตัวอย่างทางคลินิก (oriSARS-CoV-2) และนอกจากนั้นยังพบว่า rSARS-CoV-2-mNG ยังคงมีการแสดงออกของโปรตีนเรืองแสงสีเขียวหลังจากมีการเพิ่มจานวนไวรัสถึง 5 รอบ (Passage 5) รีคอมบิแนนท์ไวรัส rSARS-CoV-2 ที่ผลิตขึ้นสามารถนามาใช้ใน viral neutralization assay เพื่อดูประสิทธิภาพของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ (neutralizing antibodies) ในซีรัม และ drug screening assay เพื่อดูประสิทธิภาพของยาหรือสารต่าง ๆ ต่อการยับยั้งเชื้อไวรัส นอกจากนั้นรีคอมบิแนนท์ไวรัสดังกล่าว รวมถึงแฟลตฟอร์มในการผลิต เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อวงการไวรัสวิทยา และสร้างโอกาสในการพัฒนามาตรการตอบโต้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กาลังดาเนินอยู่ หรือโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

  

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th