เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7652
ชื่อ
เครื่องวัดฮีโมโกลบินเอวันซีในเลือดแบบพกพาโดยอาศัยเทคโนโลยี ทรานสดิวเซอร์เชิงแสงและระบบสเปกโตรสโคปีแบบหลายช่องรับสัญญาณ ชม 76 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ. ดร. จำรัส พร้อมมาศ
เมล์
chamras.pro@mahidol.ac.th
รายละเอียด
เบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของโลก ประมาณว่าจะมีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2583 โดยประเทศไทยอาจมีค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาผู้ป่วยเบาหวานถึง 3.5-8.4 หมื่นล้านบาทต่อปี การวินิจฉัยเบาหวานจะใช้การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดแต่ให้ความแม่นยำในการติดตามการรักษาในระยะยาวไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีข้อแนะนำให้ติดตามผลการรักษาโดยการตรวจวัดระดับของฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) การวัดนี้จึงใช้เป็นประวัติระดับกลูโคสในกระแสเลือดในช่วง 2-3 เดือนย้อนหลัง การขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยที่ดีขึ้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือแบบพกพาและพร้อมใช้งานในลักษณะ Point of Care Testing (POCT) ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือโดยเทคโนโลยีด้านไบโอเซนเซอร์ (biosensor) ที่อาศัยคุณสมบัติการจับกับโมเลกุลแบบจำเพาะร่วมกับทรานดิวเซอร์แปลงสัญญาณทางแสง ในการพัฒนาไบโอเซนเซอร์สำหรับวัด HbA1c นี้พัฒนาขึ้นจากเครื่องวัดแสงชนิด guided mode resonance (GMR) ที่มีอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ปรับปรุงผิวด้วยสารโบโรเนทที่สามารถจับอย่างจำเพาะกับกลูโคสที่ติดอยู่บนฮีโมโกลบิน (glycated hemoglobin) 
แนวทางในการศึกษา หลักการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนา
การพัฒนาเครื่องมือตรวจวัด HbA1c ประกอบด้วยขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1. ออกแบบและพัฒนาระบบวัด GMR: ศึกษากระบวนการผลิต GMR ที่ใช้ฟิล์ม Spin on Glass ด้วยเทคนิค nanoimprint และทำ thin film deposition ของชั้น Tantalum Pentoxide ด้วย sputtering technique
2. ออกแบบและพัฒนาผิวเซนเซอร์ที่สามารถในการจับจำเพาะกับ HbA1c: โดยศึกษาวิธีการปรับปรุงผิวเซนเซอร์ให้มีสาร 3-APBA บนผิว  และติดตามความสามารถในการจับฮีโมโกลบินเอวันซีของสารโบโรเนทที่ตรึงอยู่บนผิว
3. การออกแบบและพัฒนาระบบตรวจวัด HbA1c: ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของ optical and mechanical mounting การเลือกใช้อุปกรณ์กล้องบันทึกภาพเพื่อให้ได้สัญญาณที่เหมาะสมกับการใช้งาน 
4. ทดสอบผลการตรวจวัด HbA1c ด้วยเครื่องต้นแบบ: โดยใช้ตัวอย่างควบคุมคุณภาพที่ทราบปริมาณ HbA1c เป็นมาตรฐานในการประเมินความเชื่อถือได้ของเครื่องต้นแบบและเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐานในภาคสนาม
 
 
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th