เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7651
ชื่อ
การพัฒนาวิธีการตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชแอลเอและมิคเอที่มีความสำคัญต่อการปลูกถ่ายไตด้วยเทคโนโลยี Ion Sensitive Field Effect Transistor ชม 157 ครั้ง
เจ้าของ
ศ.ดร.ชาญวิทย์ ลีลายุวัฒน์
เมล์
chanvit@kku.ac.th
รายละเอียด
การตรวจหาแอนติบอดีต่อโมเลกุลเอชแอลเอ (HLA) และแอนติบอดีอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีต่อโมเลกุลมิคเอ (MICA) จากตัวอย่างซีรั่มของผู้ป่วยเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิเสธไตจากกลไกของแอนติบอดี (antibody-mediated rejection) เนื่องจากโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ถูกสร้างมาจากยีนที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงและมีการแสดงออกอยู่บนผิวเซลล์ของมนุษย์ โดยหากโมเลกุลเหล่านี้ที่แสดงออกบนผิวเซลล์ของผู้บริจาคและผู้รับไม่ตรงกัน จะส่งผลให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้รับ และอาจนำไปสู่การปฏิเสธไตที่ปลูกถ่ายในที่สุด
วิธีการที่ใช้ในการตรวจหาแอนติบอดีมีหลากหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ วิธี Luminex และ Flow cytometry ซึ่งเป็นวิธีที่มีความไวสูง แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญของวิธีเหล่านี้คือ ราคาที่ค่อนข้างสูง ขั้นตอนการทดสอบค่อนข้างซับซ้อน ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์และแปลผล รวมทั้งแอนติบอดีที่ตรวจได้ไม่ครอบคลุมแอนติบอดีบางตัวที่มีความสำคัญในกลุ่มประชากรไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชแอลเอและมิคเอด้วยหลักการ Ion Sensitive Field Effect Transistor (ISFET) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความไวสูง ราคาต้นทุนต่ำ และในอนาคตสามารถพัฒนาต่อยอดให้ตรวจหาแอนติบอดีที่สำคัญได้อย่างครอบคลุมมากขึ้นกว่าวิธีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 
หลักการทำงานของ ISFET จะอาศัยการตรวจวัดค่าศักย์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปบน sensing membrane จากการเข้าจับของสารชีวโมเลกุล (แอนติบอดี) ที่สนใจกับตัวรับ (แอนติเจน) ที่มีการตรึงไว้ โดยวิธี ISFET
คณะผู้วิจัยจะทำการจัดตั้งการทดสอบ ISFET โดยใช้รีคอมบิแนนท์โปรตีนเอชแอลเอและมิคเอตรึงไว้บนผิว sensing membrane ของอุปกรณ์ ISFET เพื่อใช้ตรวจหาแอนติบอดีต่อทั้งเอชแอลเอและมิคเอ ยิ่งไปกว่านั้นผู้วิจัยได้วางแผนในการออกแบบเปปไทด์เอชแอลเอและมิคเอ เพื่อจะนำมาตรึงและใช้เป็นแอนติเจนแทนการใช้โปรตีนโดยตรงซึ่งจะช่วยเพิ่มความไวในการทดสอบ และช่วยให้สามารถตรวจหาแอนติบอดีได้ในระดับ epitope แทนการตรวจหาในระดับอัลลีล ซึ่งจะมีความครอบคลุมแอติบอดีที่มีความสำคัญได้มากขึ้น 
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th