เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7641
ชื่อ
การพัฒนาเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดชนิด NK cells ที่มีโมเลกุลตัวรับจำเพาะและแนวทางการใช้งานร่วมกับการรักษาหลักเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ชม 186 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ.ดร.อุษรา ปัญญา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมล์
sapaya116@gmail.com
รายละเอียด

โรคมะเร็งเต้านม (breast cancer) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกรวมถึงประเทศไทยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบันที่ให้ผลดีที่สุด ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมีบำบัดและ/หรือการให้ฮอร์โมน อย่างไรก็ตามการให้เคมีบำบัดและ/หรือการให้ฮอร์โมน พบว่า มีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย

และอาจจะมีผลกระทบต่อผู้ป่วยในระยะยาว ดังนั้นการพัฒนาการรักษาทางเลือกเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยระยะเริ่มแรกหรือใช้เพื่อร่วมกับการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยระยะที่มีการแพร่กระจาย

จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีและลดอัตราการเสียชีวิตจากการโรคมะเร็งเต้านม การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดหรือ cellular immunotherapy เป็นการรักษาทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในการรักษาและชะลอการพัฒนาการของโรคมะเร็ง เนื่องจากมีผลการวิจัยว่า เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถทำลายเซลล์มะเร็ง ชะลอการเกิดซ้ำ

โครงการวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนา cellular immunotherapy ชนิด natural killing (NK) cell สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเต้านม โดยพัฒนาเซลล์ NK cells ที่มีการแสดงออกของโมเลกุลตัวรับจำเพาะบนผิวเซลล์ หรือที่เรียกว่า chimeric antigen receptor (CAR)-NK cell โดยมีโปรตีนเป้าหมายคือ โปรตีน cMET โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการค้นหาโปรตีนแอติบอดีขนาดเล็ก (ScFv)จากคลังแอนติบอดี และทำการทดสอบการจับกับโปรตีน cMET บนผิวเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของเซลล์ NK เมื่อใช้งานร่วมกับยาเคมีบำบัด doxorubicin รวมทั้งสารสกัดธรรมชาติ cordycepin

จากการศึกษา พบว่า ยาเคมีบำบัดและสารสกัดธรรมชาติสามารถเพิ่มความไวของเซลล์มะเร็ง และเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ NK ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยผลการศึกษาทั้งหมดนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่จัดอยู่ในอันดับ ควอไทด์ที่ 1 คณะผู้วิจัยคาดหวังว่า ผลจากการศึกษานี้จะช่วยสร้างแนวทางในการใช้เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดร่วมกับยาเคมีบำบัดและสารธรรมชาติ ให้เกิดแนวทางในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแนวทางใหม่ซึ่งมีความเป็นได้ในการพัฒนาองค์ความรู้นี้เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการดูแลรักษาโรคมะเร็งเต้านมในอนาคต

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th