เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปลดปล่อยฟอสฟอรัสและการตกผลึกสตูไวท์จากตะกอนชีวภาพโดยใช้ระบบ AnA2/O2 SBR และ Anaerobic Sludge Digester ในการบำบัดน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์
ชม 137 ครั้ง
66
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต วโรดมรังสิมันตุ์
เมล์
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล preeyapatha.bo
รายละเอียด
งานวิจัยชุดนี้มีเป้าหมายในการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสารอาหารทางชีวภาพและ การนำกลับฟอสฟอรัสจากน้ำเสียโรงงานฆ่าสัตว์โดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AnA2/O2 SBR และระบบย่อยกากตะกอนแบบไร้อากาศ การศึกษานี้เป็นการศึกษาระดับห้องปฎิบัติการโดยแบ่งการทดลองออกเป็น สองชุด การศึกษาชุดแรกจะเป็นการศึกษาถึงผลของอายุสลัดจ์ (SRT) และรูปแบบการเติมน้ำเสียที่มีต่อประสิทธิภาพการกำจัด COD, TKN TP และการสะสมฟอสฟอรัสในสลัดจ์ การศึกษาชุดที่สอง จะเป็นการศึกษาถึงผลการปรับเสถียรของสลัดจ์จากระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AnA2/O2 SBR และการนำกลับฟอสฟอรัสจากตะกอนในรูปสตรูไวท์
ผลการศึกษาชุดที่ 1 พบว่า การควบคุมระบบ AnA2/O2 SBR ที่มีอายุสลัดจ์ 25 วัน มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัด COD (97.14%), TKN (97.75%), และ TP (96.10%) ในขณะที่ SRT 60 วัน มีประสิทธิภาพในการกำจัด TP น้อยกว่า SRT ที่ 20 และ 25 วัน (p<0.05) ที่SRT 25 วันพบว่าปริมาณฟอสฟอรัสในสลัดจ์ (P-content) สูงสุดที่ 16.18% ซึ่งสูงกว่า SRT ที่ 60 วัน อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
ผลการศึกษาชุดที่ 2 พบว่า อัตราส่วน VSS:TSS ของระบบย่อยสลัดจ์แบบไร้อากาศ (Anaerobic Sludge Digester) ที่มีเวลากักตะกอน 10, 20, และ 30 วัน มีค่า 0.87, 0.66 และ 0.64 ตามลำดับ โดยระบบที่มีเวลากักตะกอน 30 วัน มี Fixed Solid ร้อยละ 37.05 และมีค่าเฉลี่ยของการกำจัดฟอสฟอรัสจากตะกอนร้อยละ 55.32 และลดปริมาณของแข็งแขวนลอยลงได้ร้อยละ 23.29 ที่เวลากักตะกอน 30 วันพบฟอสฟอรัสในชั้นน้ำใส (supernatant) สูงสุด 118.9 mg-P/L ในการศึกษาการตกผลึกสตรูไวท์ใช้อัตราส่วนจำนวนโมเลกุลของ magnesium, ammonium, และ phosphate เท่ากับ 1:1:1

บันทึกโดย
