เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับบริหารจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิต
และกิจกรรมทางการเกษตรของชุมชนเป้าหมาย จะสามารถลดการใช้พลังงานฟุ่มเฟือยจากกิจกรรมทางการเกษตร ลดค่าใช้จ่ายทางด้าน พลังงานของชุมชนสามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยี ทางด้านพลังงานทดแทนของชุมชนทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค
ความเหมาะสม ทางด้านเศรษฐศาสตร์ความเหมาะสมทางด้านนโยบายและความสอดคล้องกับชุมชนเกษตรกรรมและความ เหมาะสมทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับชุมชนเกษตรกรรมจะต้อง สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานของชุมชนลงได้โดยเทคโนโลยีที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกที่เหมาะสมกับ ชุมชน การประยุกต์งานเซลล์แสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานของระบบน้ำต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรได้ตามความเหมาะสม (ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทน) มีดังนี้
1. ระบบให้น้ำแบบสปริงเกอร์
2. ระบบให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์
3. ระบบให้น้ำแบบหยด
4. ระบบให้น้ำแบบพ่นหมอก
5. ระบบให้น้ำแบบพ่นหมอกในโรงเรือน
โดยระบบนน้ำเหล่านี้จะมีต้องมีแหล่งน้ำผิวดินหรือใต้ดินอยู่ใกล้บริเวณ และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
https://drive.google.com/open?id=1wpqCyB7hbwmj3GS7AOjwgaIipTmHqofM
