เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
5365
ชื่อ
น้ำกระตุ้นด้วยพลาสมา (Plasma Activated Water; PAW) ชม 603 ครั้ง
เจ้าของ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมล์
abplas@step.cmu.ac.th
รายละเอียด

น้ำกระตุ้นด้วยพลาสมา (Plasma Activated Water; PAW)

 

- พลาสมาคืออะไร

พลาสมาประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุทั้งประจุบวกและลบ ในสัดส่วนที่ทำให้ประจุสุทธิเป็นศูนย์ พลาสมาสามารถเกิดได้โดยการให้สนามไฟฟ้าปริมาณมากแก่ก๊าซที่เป็นกลาง เมื่อพลังงานส่งผ่านไปยังอิเล็กตรอนอิสระมากพอ จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระชนกับอะตอม และทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

- เทคนิคน้ำกระตุ้นด้วยพลาสมา

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่สามารถกำจัดจุลินทรีย์ ช่วยยืดอายุ และเพิ่มความปลอดภัยทางอาหารและเครื่องดื่ม 

 

- ประโยชน์การประยุกต์ใช้เทคนิคน้ำกระตุ้นด้วยพลาสมา

เป็นเทคโนโลยีสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง มีความยืดหยุ่น เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์, การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช, การควบคุมโรคและแมลงในพืช 


คลิกชม Link : https://fb.watch/cwxnmGZVo0/

ศึกษาเพิ่มเติม : https://www.step.cmu.ac.th/ABPlas/assets/upload/files/29-10-2021-01.pdf 


สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ : 

ศูนย์วิจัยเชิงธุรกิจด้านเทคโนโลยีพลาสมาสำหรับเกษตรและชีวภาพ ABPlas

อุทยานวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

(ให้บริการเครื่องมือพลาสมาสำหรับกลุ่มธุรกิจด้านเกษตรและชีวภาพ)

053 948678

คำสำคัญ
พลาสมา  พืช  ไอออน  เทคโนโลยีสะอาด  เกษตร  
บันทึกโดย
นายวันโชค   มณีเดช  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th