เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
529
ชื่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรด ชม 1,908 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดวงสุดา เตโชติรส และคณะ
เมล์
chuta@rmutp.ac.th
รายละเอียด

กระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรดและสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งมีผลต่อคุณภาพทางกายภาพและคุรภาพทางเคมี โดยทำการศึกษาผลของน้ำเชื่อมที่มีระดับความเข้มข้นเริ่มต้นต่างกัน (20, 30 และ 40%) และเพื่มความเข้มข้นของน้ำเชื่อมทุกๆวันๆละ 10% จนมีความเข้มข้นสุดท้าย 60% พบว่าความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูงขึ้นส่งผลให้ปริมาณการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น การแช่สับปะรดในน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้นสูงส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นลดลง (P < 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งที่แช่ในน้ำเชื่อมเริ่มต้น 30% มากที่สุด (P < 0.05) และทำการศึกษาระดับความเข้มข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (65, 70 และ 75 Brix) ในกระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรด พบว่า น้ำเชื่อมความข้นหนืดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (P < 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบน้ำเชื่อมสับปะรดที่มีความเข้มข้นสุดท้ายที่ 70 Brix ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 12 สัปดาห์ จากนั้นถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มขนม ชุมชนสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด จำนวน 40 คน ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมีความพึงพอใจในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน

คำสำคัญ
สับปะรด  สหกรณ์  หุบกะพง  
บันทึกโดย
ดวงฤทัย  แก้วคำ  สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th